Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23521
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุจินดา มาลัยวิจิตรนนท์ | |
dc.contributor.advisor | วิชัย เชิดชีวศาสตร์ | |
dc.contributor.author | ปัทมา เกียรติไทยพิพัฒน์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2012-11-09T04:01:35Z | |
dc.date.available | 2012-11-09T04:01:35Z | |
dc.date.issued | 2544 | |
dc.identifier.isbn | 9741707444 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23521 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. )--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 | en |
dc.description.abstract | กษาผลของการให้กวาวเครือขาวปริมาณ 25 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว/วัน ต่อน้ำหนักตัวอาหารที่กิน สมอง ตับ ไต และน้ำหนักและขนาดมดลูกของรังไข่ ค่าทางโลหิตวิทยา ค่าทางชีวเคมีคลินิกในซีรั่ม รอบวงสืบพันธุ์ และฮอร์โมน LH FSH และ E₂ ในหนูแรทโตเต็มวัยและหนูแรทแก่เพศเมีย ทำการทดลองโดยแบ่งหนูออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 10 ตัว คือ กลุ่มที่ได้รับน้ำกลั่น 0.5 มิลลิลิตร/วัน และกลุ่มที่ได้รับกวาวเครือขาวปริมาณ 25 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว/วัน นาน 200 วัน ผลการทดลองเมื่อเปรียบเทียบค่าต่าง ๆ ระหว่างหนูทั้ง 2 กลุ่ม ทั้งในหนูโตเต็มวัยและหนูแก่ พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ของน้ำหนักตัว อาหารที่กิน สมอง ตับ ไต และน้ำหนักและขนาดมดลูกและรังไข่ ความรอบวงสืบพันธุ์ ค่าทางโลหิตวิทยา และค่าทางชีวเคมีคลินิกในซีรั่ม ยกเว้นในหนูโตเต็มวัยที่ค่า uric acid ในกลุ่มที่ไดรับกวาวเครือขาวต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับน้ำกลั่น (p<0.05) ในหนูโตเต็มวัยพบว่าปริมาณฮอร์โมน FSH และ E₂ ในกลุ่มที่ได้รับกวาวเครือขาวมีค่าสูงขึ้นในทุกระยะของรอบวงสืบพันธุ์อย่างสอดคล้องกันกับจำนวน growing follicle ที่มากขึ้น ในขณะที่หนูแก่พบการเพิ่มสูงขึ้นของฮอร์โมน FSH เฉพาะในระยะโปรอีสตรัสเท่านั้น และไม่พบการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน LH ในทุกระยะของรอบวงสืบพันธุ์ทั้งในหนูโตเต็มวัยและหนูแก่ ผลทางเนื้อเยื่อพบว่า ตับของหนูกลุ่มที่ได้รับกวาวเครือขาวเกิดความเสียหายบางส่วนในหนูทั้ง 2 วัย และกวาวเครือขาวสามารถยืดระยะการเข้าสู่สภาวะ perimenopause ในหนูโตเต็มวัยและสภาวะ postmenopause ในหนูแก่ได้ การศึกษาผลของกวาวเครือขาวต่อการเกิดมะเร็งเต้านมในหนูแรทโตเต็มวัยเพศเมียที่ชักนำให้เป็นมะเร็งเต้านมโดยสาร DMBA ขนาด 170 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว ทำการทดลองโดยแบ่งหนูออกเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 25 ตัว คือ กลุ่มที่ได้รับ DMBA ในวันที่ 1 ของการทดลอง หลังจากนั้นได้รับน้ำกลั่น 0.5 มิลลิลิตร/วัน หรือกวาวเครือขาวปริมาณ 25 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว/วัน นาน 150 วัน และกลุ่มที่ได้รับ DMBA ในวันที่ 91 ของการทดลอง ในช่วงเวลาที่หนูได้รับน้ำกลั่น 0.5 มิลลิลิตร/วัน หรือ กวาวเครือขาว 25 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว/วัน นาน 240 วัน ผลการทดลองพบว่าหนูที่ได้รับกวาวเครือขาวนาน 150 วัน ภายหลังจากได้รับ DMBA มีแนวโน้มของอุบัติการณ์การเกิดของมะเร็งเต้านม จำนวนก้อนและขนาดของก้อนมะเร็งสูงกว่า (p>0.05) หนูที่ได้รับน้ำกลั่น ในขณะที่หนูที่ได้รับกวาวเครือขาวนาน 240 วัน และได้รับ DMBA ในวันที่ 91 ของการทดลองมีแนวโน้มลดอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งเต้านม จำนวนก้อนและขนาดของก้อนมะเร็ง (p>0.05) จากการทดลองนี้สรุปได้ว่า กวาวเครือขาวมีสาร phytoestrogens ที่สามารถออกฤทธิ์ต่อระบบสืบพันธุ์และฮอร์โมนเพศได้เช่นเดียวกับกับฮอร์โมนอีสโตรเจนทั้งในหนูโตเต็มวัยและหนูแก่ และกวาวเครือขาวสามารถแสดงผลเป็นตัวเสริมให้ก้อนมะเร็งเต้านมที่เป็นอยู่ก่อนแล้วมีการเติบโตได้รวดเร็วขึ้น ในขณะที่ถ้าหากได้รับกวาวเครือขาวก่อนและหลังการได้รับสารก่อมะเร็ง DMBA สามารถลดอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งเต้านมได้ | |
dc.description.abstractalternative | The effects of 25 mg/kg. Bw./day of Pueraria mirifica on body weights, food consumption, brain, liver, kidney, uterus, ovary, blood cells, blood chemistry, estrous cycle and sex hormones (LH, FSH and E₂) in adult in comparison with aged female rats. The control group (n=10) was daily forced-fed with 0.5 ml distilled water whereas the treatment group (n=10) was daily forced-fed with 25 mg/kg.BW. P. mirifica for 200 days. There were no any differences (p>0.05) in body weights, food consumption, brain, liver, kidney, uterus, ovary, estrous cycle length, blood chemistry in both adult and aged rats, except for the uric acid levels were found to be significantly decreased (p<0.05) in the treated adult rats. FSH and E₂ levels were increased in all phases of the estrous cycle of the treated adult rats, in concordant with the increment of the number of growing follicle. FSH levels were increased only in proestrus phase in the treated aged rats. There were no any significant difference in LH levels in the treated adult rats as well as aged rats. The histopathological examination of liver was revealed some damage in both ages of rats. P. mirifica could prolong the transition period from premenopasual stage to perimenopausal stage in adult female rats, and from perimenopausal stage to postmenopausal stage in aged female rats. The effects of 25 mg/kg.BW. P. mirifica on DMBA 170 mg/kg BW induced breast cancer in adult female rats were analyzed. Rats were divided into 4 groups, 25 rats in each group. Group 1 and 2, DMBA was instilled in the stomach of the rats on the first day of the study period and 0.5 ml of distilled water or 25 mg/kg.BW. P. mirifica was daily forced-fed to the rats afterward for 150 days. DMBA was instilled in the stomach of the group 3 and 4 rats on the 91st day of the study period during the 240 days of daily forced-feeding of 0.5 ml of distilled water or 25 mg/kg.BW. P. mirifica. In comparison to distilled water treated group, the incidence, number and size of palpable mammary tumor tended to be increased in DMBA treated rats on the first day of the study period, and vice versa in rats treated with DMBA on the 91st day of the study period during P. mirifica treatment. From this study, it can conclude that P. mirifica phytoestrogens exhibited effects on reproductive organs and sex hormone administration in adult and aged female rats. For antitumor effect. P. mirifica consumption can potentiate the progress of mammary tumor after inducing by DMBA, but it can reduce the incidence of mammary tumor as continuous consuming while DMBA was intervening submitted. | |
dc.format.extent | 8146823 bytes | |
dc.format.extent | 2113293 bytes | |
dc.format.extent | 10190654 bytes | |
dc.format.extent | 13137832 bytes | |
dc.format.extent | 41422240 bytes | |
dc.format.extent | 7325177 bytes | |
dc.format.extent | 528587 bytes | |
dc.format.extent | 3020160 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | ผลเรื้อรังของกวาวเครือขาวที่มีต่ออวัยวะสืบพันธุ์ และฮอร์โมนเพศและผลต่อ DMBA ในการชักนำให้เกิดมะเร็งเต้านมในหนูแรทเพศเมีย | en |
dc.title.alternative | Chronic effect of Pueraria mirifica on the reproductive organs and sex hormones and DMBA induced breast cancer in female rats | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สัตววิทยา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pattama_ch_front.pdf | 7.96 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pattama_ch_ch1.pdf | 2.06 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pattama_ch_ch2.pdf | 9.95 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pattama_ch_ch3.pdf | 12.83 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pattama_ch_ch4.pdf | 40.45 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pattama_ch_ch5.pdf | 7.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pattama_ch_ch6.pdf | 516.2 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pattama_ch_back.pdf | 2.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.