Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2356
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชวลิต นิตยะ | - |
dc.contributor.advisor | ปรีดิ์ บุรณศิริ | - |
dc.contributor.author | พิสิฐ สีหราช, 2509- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ลาว | - |
dc.date.accessioned | 2006-09-06 | - |
dc.date.available | 2006-09-06 | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.isbn | 9741770286 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2356 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการศึกษาในงานวิจัยนี้ ประกอบด้วยสองส่วนคือ 1) การศึกษารูปแบบที่อยู่อาศัยของชาวกำแพงนครเวียงจันทน์ แห่ง ส.ป.ป. ลาว และ 2) การศึกษาสถานการณ์ด้านการเงินเคหการระดับครัวเรือนของผู้อยู่อาศัยในกำแพงนครเวียงจันทน์ (ในช่วง พ.ศ. 2546-2547) งานวิจัยนี้ได้ศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 397 ครัวเรือน จากประชากรทั้งสิ้น 52,722 ครัวเรือน ในพื้นที่สี่เมืองในเขตเทศบาลนครหลวงเวียงจันทน์ ข้อมูลเพื่อการวิจัย ได้มาด้วยการใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง การสัมภาษณ์ผู้อยู่อาศัยในครัวเรือน และการสำรวจเพื่อบนทึก ถ่ายภาพ และสังเกตในพื้นที่ศึกษา ผลของการวิจัยสามารถจำแนกรูปแบบที่อยู่อาศัยของชาวกำแพงนครเวียงจันทน์ได้เป็น 4 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 บ้านไม้และบ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ กลุ่มที่ 2 บ้านตึก กลุ่มที่ 3 บ้านแถวตึก และกลุ่มที่ 4 บ้านแถวไม้และบ้านแถวครึ่งตึกครึ่งไม้ ซึ่งการศึกษาในรายละเอียดพบว่า รูปแบบที่อยู่อาศัยในกำแพงนครเวียงจันทน์ มีตัวแปรที่สำคัญอยู่ สามตัวแปร ที่ทำให้รูปแบบที่อยู่อาศัยมีความแตกต่างกัน คือ 1) วัสดุที่ใช้ทำตัวบ้าน 2) วัสดุมุงหลังคา และ 3) พื้นที่ใช้สอยของบ้าน ซึ่งตัวแปรทั้งสามนี้เป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญถึงความสามารถในการจ่ายเพื่อที่อยู่อาศัยของครัวเรือน ผลของการศึกษาพบว่าเมื่อพิจารณาจากวัสดุที่ใช้ทำตัวบ้าน ที่อยู่อาศัยรูปแบบตึก มีราคาสูงที่สุดในขณะที่รองลงมาคือ รูปแบบครึ่งตึกครึ่งไม้ และไม้ และเมื่อพิจารณาจากตัวแปรที่สองคือวัสดุมุงหลังคาก็พบว่า ที่อยู่อาศัยที่มุงด้วยกระเบื้องซีแพ็คโมเนีย มีราคาสูงที่สุดรองลงมาคือ กระเบื้องลอนคู่ และสังกะสี ส่วนพื้นที่ใช้สอยเป็นตัวแปรที่ทำให้ราคาของที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนพื้นที่ ซึ่งราคาของบ้านต่อตารางเมตรมีตั้งแต่ขั้นต่ำสุดในรูแบบบ้านไม้ หลังคามุงสังกะสี มีราคาตารางเมตรละประมาณ 952 บาท และราคาสูงสุดที่ตารางเมตรละ 9,856 บาท สำหรับรูปแบบบ้านตึกสองชั้นหลังคามุงด้วยกระเบื้องซีแพ็คโมเนีย ผลการศึกษาด้านการเงินในครัวเรือนพบว่ารายได้ส่วนใหญ่ของครัวเรือนได้มาจาก 1) อาชีพหลักของสมาชิก 2) อาชีพเสริมในครัวเรือน และ 3) รายได้จากญาติในต่างประเทศ ครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเฉลี่ยต่อเดือนคิดเป็นร้อยละ 69.6 ของรายได้ครัวเรือนต่อเดือน และมีค่าใช้จ่ายเพื่อการอยู่อาศัยคิดเป็นร้อยละ 8.8 ของรายได้ครัวเรือนต่อเดือน การวิจัยยังพบว่า การใช้จ่ายเพื่อที่อยู่อาศัยของครัวเรือนในกำแพงนครเวียงจันทน์ได้เงินมาจาก 1) การเก็บเงินสะสมในครัวเรือน 2) การออมในรูปของการซื้อสิงหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ และ 3) เงินที่ญาติพี่น้องในต่างประเทศส่งกลับมาให้ใช้หรือให้ยืม จากผลการศึกษาสถานการ์การเงินในระดับครัวเรือนของผู้อยู่อาศัยในกำแพงนครเวียงจันทน์ ซึ่งปรากฏว่า ภายในครัวเรือนจะมีรายได้ส่วนหนึ่งที่เหลือจากการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และรายจ่ายเพื่อการอยู่อาศัย ซึ่งเป็นส่วนของการออกของครัวเรือนและสามารถในมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อที่อยู่อาศัยได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอในงานวิจัยคือ 1) ใช้ประโยชน์จากเงินส่วนที่เหลือนี้เพื่อเป็นเงินออมเพื่อที่อยู่อาศัย โดยเริ่มต้นด้วยรูปแบบของสหกรณ์เคหสถานในเบื้องต้น แลัวจึงขยายผลต่อไป 2) จัดตั้งตัวกลางทางการเงินเพื่อระดมทุนเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยการให้สินเชื่อระยะยาวและมีสินทรัพย์ค้ำประกัน 3) ทำความร่วมมือกับสถาบันการเงินต่างประเทศที่มีประสบการณ์ด้านการเงินเคหการเพื่อพัฒนาระบบการเงินเคหการในประเทศให้เข้มแข็ง | en |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this study are to explore the residential types and to investigate housing finance of households in Vientiane, Lao People's Democratic Republic between 2003 and 2004. There were 397 samples from the population of 52,722 households in four municipalities of Vientiane. The research instruments were survey questionnaires, interviews, and field visits for data recording, photographing and observations. From the study, the residential types of households in Vientiane can be categorized into wooden houses/half-brickwork-half-wooden houses, brickwork houses, brickwork townhouses, and wooden townhouses/half-brickwork-half-wooden townhouses. Such residential types are determined by three factors: construction materials, roofing materials, and usage areas. These factor also affect costs of housing and thus the ability to finance housing. It has been found that brickwork houses are the most costly, while half-brickwork-half-wooden houses and wooden houses are the second and the third most costly, respectively. The most costly roofing is CPAC Monier tiles, roman tiles, and galvanized iron tiles, respectively. Wooden houses with galvanized iron tiles are the least costly at 952 baht/square meter, whereas two-story brickwork houses with CPAC Monier roofing are the most costly at 9}856 baht/square meter. Sources of household income are family members' main jobs, family members' sidelines, and money sent home from relatives living abroad. Of such income, 69.6% is spent on daily living expenses, whereas 8.8% is spent on housing. Sources of housing finance include household savings in the form of movable and immovable properties, and money given by or loans from relatives living abroad. Some recommendations have been made in this study. As savings after spending on daily expenses are used to finance housing, they should be invested in housing cooperatives, from which yields can be further used for other kinds of investment. Besides, an agent to mobilize resources for housing development and providing long-termmortgage loans should be established. Moreover, the government should cooperate with experienced foreign financial institutions to strengthen the country's housing finance system. | en |
dc.format.extent | 3641220 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.599 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การเงินเคหการ | en |
dc.subject | ที่อยู่อาศัย--ลาว--เวียงจันทน์ | en |
dc.subject | สินเชื่อที่อยู่อาศัย | en |
dc.title | รูปแบบที่อยู่อาศัยและการเงินเคหการระดับครัวเรือนของผู้อยู่อาศัย ในกำแพงนครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | en |
dc.title.alternative | Residential types and household's housing finance in Vientiane, Lao People's Democratic Republic | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | เคหการ | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | cnitaya@hotmail.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2004.599 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
phisith.pdf | 3.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.