Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23622
Title: ระบบเศรษฐกิจอยุธยา
Other Titles: The Ayutthaya-Economic system
Authors: ประสิทธิ์ รุ่งเรืองรัตนกุล
Advisors: ฉัตรทิพย์ นาถสุภา
บุษกร กาญจนจารี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นงานวิเคราะห์ “ระบบเศรษฐกิจอยุธยา” ในแง่กำเนิดลักษณะและพัฒนาการ ตั้งแต่ พ.ศ. 1893-2369 คือเมื่อแรกเริ่มสถาปนากรุงศรีอยุธยาในสมัยพระเจ้าอู่ทองถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เมื่อทำสนธิสัญญาเบอร์นี่ ในปี พ.ศ. 2369 ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่ “ระบบเศรษฐกิจอยุธยา” ดำรงอยู่โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้าง สิ่งมุ่งหมายที่นำมาอธิบายในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ คือ ต้นกำเนิดลักษณะและพัฒนาการของ “ระบบเศรษฐกิจอยุธยา” โดยเน้นพระราชภารกิจขององค์พระมหากษัตริย์ (รัฐ) ในด้านเศรษฐกิจ (เช่น การส่วน การภาษีอากรต่าง ๆ การค้าภายใน การค้าภายนอก) บทบาทและฐานะทางเศรษฐกิจของชนชั้นขุนนาง พระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ ชนชั้นกึ่ง เช่น ชาวจีนชาวต่างชาติอื่น ๆ และชาวตะวันตก ในฐานะเป็น “กลไก” ของ “ระบบเศรษฐกิจอยุธยา” ซึ่งเป็นการถ่ายเทผลิตผล ทรัพยากร แรงงาน (มวลรวมของความมั่งคั่ง และอำนาจทางการเมือง) สู่สถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดจนลักษณะของหมู่บ้านใน “ระบบเศรษฐกิจอยุธยา” ว่ามีพื้นฐานทางการผลิต มีโครงสร้างทางวัฒนธรรมอย่างไร ลักษณะดังกล่าวเป็น “เหตุผล” ของการดำรงอยู่ของหมู่บ้านที่ไม่เปลี่ยนแปลงและเป็นที่รากฐานอันมั่นคงของ “ระบบเศรษฐกิจอยุธยา” ผลของการศึกษาพบว่า “ระบบเศรษฐกิจอยุธยา” (synthesis) เกิดจากการเกษตรแบบลุ่มน้ำและเศรษฐกิจแบบส่งส่วยซึ่งเป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมพื้นบ้าน (Indigenous culture) อุดมการณ์พราหมณ์และพุทธ (thesis) ปฏิสัมพันธ์กับการขยายตัวของการค้าต่างประเทศกับเอกชนชาวจีนในพุทธศตวรรษที่ 17-19 (anti-thesis) ในระบบนี้ พระมหากษัตริย์ (รัฐ) เรียกเก็บ เรียกเกณฑ์ ผลผลิตทรัพยากรแรงงาน และเงินตราจากราษฎร์ ในรูปของการส่วย การภาษีอากรต่าง ๆ การฤชาธรรมเนียม การควบคุมการค้าภายใน การผูกขาดการค้ากับต่างประเทศ โดยผ่านกลไกหรือกลุ่มร่วมผลประโยชน์คือสถาบันขุนนาง สถาบันพระบรมวงศานุวงศ์ สถาบันพระสงฆ์ชาวต่างประเทศ เช่น จีน ชาวตะวันตก ส่วนประชาชนซึ่งผูกพันธนากับ “ระบบไพร่” ไม่ได้รับโอกาสให้เข้าไปมีบทบาทในกิจกรรมดังกล่าว โดยเฉพาะการค้าต่างประเทศ ทำให้ไม่ก่อเกิด “ชนชั้นกลาง” ที่มาจากชาวพื้นเมืองในระบบไพร่ การถ่ายเทผลิตผล ทรัพยากรแรงงานและเงินตราจากชนบทสู่ศูนย์กลางของราชอาณาจักรเป็นไปอย่างรุนแรง โดยที่รัฐไม่ได้นำผลประโยชน์จากการส่วย การภาษีอากรต่าง ๆ มาใช้จ่ายในการชลประทาน หรือกิจการที่เป็นสาธารณประโยชน์ อย่างไรก็ตามปฏิกิริยาต่อระบบของไพร่ถูกลดทอนความรุนแรงลง โดยคติพุทธศาสนาทั้งในแง่คำสอน ความสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์กับชาวบ้านและวัดกับหมู่บ้าน ใน “ระบบเศรษฐกิจอยุธยา” ชุมชนหมู่บ้านดำรงลักษณะพอเพียงเลี้ยงตัวเองอยู่ได้ไม่เกิดการสะสมทุนในเชิงเปลี่ยนแปลงพัฒนาเครื่องมือทำการผลิต การผลิตเพื่อขาย (market economy) การขยายบทบาททางการค้า และยังมีสถาบันวัดรองรับมูลค่าส่วนเกิน (surplus) และเงินตราสะสมของชาวบ้านอีก[ส่วน]หนึ่งด้วย
Other Abstract: An analysis of “the Ayutthaya-Economic System”, the present thesis was intended to give a concise account of its origins, character as well as development from the year 1893 B.E. when Ayutthaya was established in the reign of KingU-thong to the year 2369 B.E., the year in which the Treaty of Burney was signed. This expanse of time merits the attention in that “the Ayutthaya-Economic System” subsisted without any change in its structure. In describing hereupon the origins, the character and the development of “the Ayutthaya-Economic System”, the emphasis is given to the duties performed by the King (state) in economic aspects i.e. the dues collection, the taxations, the internal and external trade; the economic role and status of the noblemen, the Royal Family, the monasteries and the ethnic groups – Chinese, Westerners, etc—all of whom form the “mechanism” in “the Ayutthaya-Economic System” which itself transfer the produce, the natural [resources] as well as labour to the Royal Institution. In addition, special attention was also given to the base of production and the cultural structure which constitute the raison d’etre of Mu Baan (village), the main, stable and fundamental society which contributes greatly to the firmness of the System. As a result of this analytical study, it is found that “Ayutthaya-Economic System” originated from the River Agriculture and Suai Economy which form the foundation of the local culture, and from the Brahman and Buddhist way of thinking, interacting with the increase in foreign trade and the commercial relation with the Chinese individuals in the 17-19th B.E. The King (state) call for the produce, the resources, labour and money in the forms of taxes, tolls, and fees. The internal trade and the monopoly of foreign trade was controlled by the mechanism comprising of the “co-interest group” – the noblemen, the Royal Family, the nonasteries and the foreigners, i.e. Chinese and Westerners, Civilians, binded the “Prai” social system, were not consequently permitted to play a role in the above-said activities especially in the foreign trade. For this reason, the birth of the “Middle Class” consisting of the local men in the Prai System, was doomed. So vehemently was transfer of the produce, the natural resources and the labour to the center of the empire without returning the profit to the public in the forms of irrigation and other public utilities. However, the reaction towards the Social System by prai was greatly reduced by the Buddhist way of thinking, by both the Buddhist teaching and the relations between the monasteries and the faithful commoners. In “the Ayutthaya-Economic System”, it can be said that the village community subsists in a self-sufficient way without accumulation of capital so as to develop the means of production. The Market Economy was unknown, the expansion of its trading role obstructed. [Moreover], the surplus and savings brought about by the villagers was absorbed by the monasteries.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23622
ISBN: 9745614521
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prasit_Ro_front.pdf701.26 kBAdobe PDFView/Open
Prasit_Ro_ch1.pdf2.1 MBAdobe PDFView/Open
Prasit_Ro_ch2.pdf4.32 MBAdobe PDFView/Open
Prasit_Ro_ch3.pdf3.54 MBAdobe PDFView/Open
Prasit_Ro_ch4.pdf730.58 kBAdobe PDFView/Open
Prasit_Ro_back.pdf672.2 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.