Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23645
Title: การศึกษาพัฒนาการของแบบเรียนประกอบภาพของไทย
Other Titles: A study of the development of Thai illustrative textbooks
Authors: เยาวนันท์ เชฏฐรัตน์
Advisors: ศุภร สุวรรณาศรัย
อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาและวิเคราะห์ประวัติและพัฒนาการของแบบเรียนประกอบภาพของไทย วิธีดำเนินการวิจัย: รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแบบเรียนประกอบภาพของไทย ตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบัน และวิธีการจัดหน้าหนังสือประกอบภาพที่ถูกต้องโดยใช้วิธีการศึกษา 3 วิธีด้วยกันคือ 1. ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากแหล่งต่างๆ 2. สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชานี้ 3. ออกแบบสำรวจความต้องการ และความคิดเห็นของผู้ใช้แบบเรียน ผลการวิจัย 1. จากการศึกษาและสัมภาษณ์ได้พบว่า พัฒนาการของแบบเรียนประกอบภาพ ของไทย สามารถแบ่งออกตามระยะเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยได้เป็น 4 สมัย คือ 1.1 สมัยก่อนมีการพิมพ์ ถึงเริ่มมีการพิมพ์ในรัชกาลที่ 3 เริ่มตั้งแต่ สมัยอยุธยามาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ แบบเรียนประกอบภาพของไทยคือ ตำราที่จัดทำเป็นสมุดข่อย มีภาพเขียนประกอบภาพประกอบแบบเรียนสมัยนี้ เป็นภาพสองมิติคือ มีเส้น และสีไม่มีแสงเงา การจัดภาพเป็นแบบดั้งเดิมคือ ให้ภาพต่างๆ ซ้อนกันอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม 1.2 สมัยเริ่มระบบโรงเรียนในยุคสมบูรณาญาสิทธิราช ถึงสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช 2475 สมัยนี้มีการพิมพ์แล้ว แบบเรียนประกอบภาพรุ่นแรกๆ มีการพิมพ์ปกในซึ่งมีลวดลาย เป็นกรอบสำหรับภาพประกอบในเล่ม ส่วนใหญ่เป็นภาพเขียนลายเส้นขาวดำ มีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่เป็นภาพตกแต่งมากกว่าที่จะใช้อธิบายเนื้อหา หรือใช้ประกอบเนื้อหา เมื่อมีประกาศตั้งกระทรวงธรรมการแล้ว ภาพประกอบหนังสือแบบเรียนจึงได้พัฒนาขึ้น เป็นประเภทภาพอธิบายเนื้อเรื่องแทบทั้งสิ้น ที่เป็นภาพตกแต่งยังคงมีบ้าง ลักษณะภาพประกอบสมัยนี้ยังคงเป็นภาพเขียนลายเส้นขาวดำ ส่วนใหญ่มีขนาดตั้งแต่ ¼ - ½ หน้า และเริ่มใช้ภาพเขียน สามมิติตามแบบอย่างภาพของตะวันตก ปลายสมัยนี้ภาพประกอบแบบเรียนที่เป็นภาพถ่ายเริ่มมี ปรากฏในหนังสือบางเล่ม แต่มักเป็นหนังสือแบบเรียนระดับมัธยม 1.3 สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธดักราช 2475 จนถึงหลักสูตรการศึกษา พุทธศักราช 2503 ภาพประกอบในระยะต้นของสมัยนี้ส่วนใหญ่ยังคงเป็นภาพเขียนขาวดำ ใช้อธิบายเนื้อหาโดยเฉพาะบ้าง และใช้เป็นภาพประกอบเรื่องโดยทั่วไปบ้าง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 เป็นต้นมา มีการพิมพ์ภาพสีประกอบแบบเรียนอย่างสวยงาม ขนาดของภาพประกอบก็ใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะแบบเรียนระดับประถม มักมีภาพประกอบตั้งแต่ ¾ หน้า จนถึงเต็มหน้า ในปี พ.ศ. 2486 มีการเปลี่ยนแปลงรูปเล่มใหม่ในการพิมพ์แบบเรียนชุดบันใดก้าวหน้า โดยรูปเล่มเปลี่ยน จากลักษณะแนวตั้งมาเป็นแนวนอน ตัวหนังสือมีขนาดใหญ่กว่าเดิม ภาพประกอบมีอยู่ทุกหน้า และมีหลายสีเป็นภาพประกอบเรื่อง และอธิบายเนื้อหาสำหรับแบบ เรียนตามหลักสูตรการศึกษา พุทธศักราช 2503 ปรากฏว่าสำนักพิมพ์เอกชนได้นำเอาวิธีการจัดหน้า และภาพประกอบของ หนังสือแบบเรียนชุดบันใดก้าวหน้าไปใช้ ทางกรมวิชาการพยายามใช้เทคนิคใหม่คือ ถ่ายภาพชุดมาประกอบแบบเรียนทั้งเล่ม แต่คุณภาพการพิมพ์ไม่คมชัด หลังจากปี พ.ศ. 2509 เป็นต้นมา การพิมพ์แบบเรียนทั้งของรัฐและเอกชนได้พัฒนาขึ้น โดยเปลี่ยนมาใช้เครื่องพิมพ์ระบบออฟเซ็ท และใช้เทคนิคถ่ายสกรีนซ้อนลงบนภาพลายเส้น ทำให้ได้ภาพที่ชัดเจน 1.4 สมัยเริ่มใช้หลักสูตรการศึกษาใหม่พุทธศักราช 2521 แบบเรียนมีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะ เนื้อหา ส่วนรูปแบบยังคงเดิม 2. จากแบบสำรวจความคิดเห็นและความต้องการของครูและนักเขียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าแบบเรียนของกรมวิชาการจำเป็นต้องปรับปรุงด้านรูปแบบ โดยเพิ่มจำนวนของภาพประกอบ สร้างความน่าสนใจของภาพประกอบ และเลือกใช้ภาพประกอบที่ทันสมัย นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะว่ากรมวิชาการควรจัดเย็บเล่มหนังสือแบบเรียนให้แข็งแรงกว่าที่เป็นอยู่ และบริษัทเอกชนควรลดราคาหนังสือให้ต่ำลง
Other Abstract: Purpose : To study and analyze the history and development of Thai Illustrative Textbooks. Prcedures: The method used in the collection of the data of The Development of Thai Textbooks from the beginning to the present on the layout method and the illustration were 3 steps: 1. Independent study from resources. 2. Interview some experts in this field. 3. Hand out questionnaires to survey opinions and objectives of the students and teachers Findings: 1. Finding from the studying and interviewing was that the development of Thai Illustrative Textbooks could divided into four periods according to social changes in Thailand. 1.1 Pre-printing Age. This period was from the beginning of the Ayutthaya foundation to early days of the Rattanakosin era. Thai illustrative textbooks made into the so-called Samut Koi. Appeared in these books were two-dimensioned pictures with lines and colours without light and shades. The picture arrangement during this period was old style with pictures piled up in the same square frame. 1.2 Schooling Under Absolute Monarchy Age. It was the period prior to the revolution in 1932. During this period, printing had already been introduced with pictures mostly in black and white sketching. But the illustrations were for decoration rather than explanation. In later days, when the Ministry of Education was established, pictures in textbooks mostly served as explanations device. The pictures however still appeared in forms of black and white sketching with the size of a quarter up to half of a page. At the end of the absolute monarchy, dimensions of pictures in textbooks were copied from the Western country. Some of the pictures in secondary level textbooks were photo graphic works. 1.3 Revolutionary Age - The 1960 Curriculum At the most pictures were beginning of this period, still in forms of black and white sketching which served as explanation of the lessons. Since 1937, there were color pictures printing which expansion of picture size, especially for elementary level, most illustrations were three quarters of the size of a page, or even in full page. In the year 1943, the Progressive Steps (Bandai Kao Nah) textbooks were first published. The format drastically changed from the vertical to horizontal with bigger size of letters and illustrations in every page. The pictures were colorful, narrative and explanatory. Textbooks of the 1960 Curriculum, many private publishers had apparently copied style from the "Progressive Steps". The ministry of Education's Technical Department used new technique that was introducing photo graphic works in most textbooks but the printing quality was not good enough. Since 1966, with advanced printing techniques, most of public and private publishers have used offset printing system and introduced other printing techniques to improve printings. 1.4 The new era of the 1978 curriculum - The new textbooks have been changed in content, while formats and designs of the books remained undeveloped. 2. The readers suggested that the textbooks of the Ministry of Education’s Technical Department needed improvement in all aspects particular emphasis on the number of pictures, their attraction and modernity. Besides, the Technical Department of the Ministry of Education should to improve the binding of textbooks and the price of the private textbooks should be reduced.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23645
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yaowanan_Ch_front.pdf491.46 kBAdobe PDFView/Open
Yaowanan_Ch_ch1.pdf449.35 kBAdobe PDFView/Open
Yaowanan_Ch_ch2.pdf3.12 MBAdobe PDFView/Open
Yaowanan_Ch_ch3.pdf463.85 kBAdobe PDFView/Open
Yaowanan_Ch_back.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.