Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23653
Title: | การประเมินอาคารสำนักงานราชการ : การศึกษากรณีตัวอย่างอาคารสำนักงบประมาณ เฉพาะส่วนพื้นที่ใช้สอยหลัก |
Other Titles: | Government office building assessment : a case study of main office spaces of budget bureau building |
Authors: | มนสิการ ปานิสวัสดิ์ |
Advisors: | วิมลสิทธิ์ หรยางกูร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | สำนักงบประมาณ -- อาคาร อาคารสำนักงาน อาคารราชการ การออกแบบสถาปัตยกรรม Bureau of the Budget -- Buildings Office buildings Architectural design |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ประเมินสภาพแวดล้อมกายภาพอาคารสำนักงบประมาณ โดยใช้ความคิดเห็นของผู้ใช้สอย ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำอยู่ในอาคาร ทั้งยังศึกษา ความคิดเห็นของผู้ใช้สอยที่แตกต่างกันทางด้านสังคมและกายภาพในเรื่องตำแหน่งหน้าที่การงาน ลักษณะการจัดโต๊ะทำงาน ตำแหน่งที่นั่งในพื้นที่ทำงาน ตำแหน่งในระดับชั้นของอาคาร และความหนาแน่นในการใช้พื้นที่ สำหรับสภาพแวดล้อมกายภาพอาคารสำนักงบประมาณ แบ่งศึกษาเป็น 3 พื้นที่คือ พื้นที่ทำงาน พื้นที่แกนสัญจรและบริการทางตั้ง และพื้นที่จอดรถภายนอกอาคาร แต่ละพื้นที่มีสภาพแวดล้อมดังนี้ พื้นที่ทำงานเป็นพื้นที่แบบแปลน เปิดโล่งกั้นห้องเฉพาะผู้บริหารในพื้นที่ ความหนาแน่นในการใช้พื้นที่ มีทั้งที่ตรงตามมาตรฐานและหนาแน่นมาก ลักษณะการจัดโต๊ะทำงานส่วนมากจัดโต๊ะเป็นคู่ๆ นอกนั้นเป็นกลุ่มหันหน้าชนกันและโต๊ะเดี่ยว ๆ ตำแหน่งที่นั่งกระจายอยู่ในพื้นที่ทำงาน เช่น บริเวณใกล้ประตูทางเข้า-ออก ใกล้หน้าต่างและใกล้ทางเดินภายใน พื้นที่ทำงานที่ศึกษาอยู่ระดับชั้นที่ 3,4 และ 5 แม้อาคารมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่แกนสัญจรและบริการทางตั้งมีเพียงด้านเดียว เชื่อมพื้นที่บันได ลิฟท์ ห้องน้ำ-ส้วม กับพื้นที่ทำงาน ทุกพื้นที่คับแคบและมีการใช้สอยหนาแน่น ส่วนพื้นที่จอดรถภายนอกอาคารเป็นการจอดรถริมถนนทั้งภายในและภายนอก มิได้มีการจัดพื้นที่ไว้โดยเฉพาะ การศึกษานี้ได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้สอยทั้งหมด ปรากฏผลดังนี้ 1. การจัดพื้นที่ทำงานแบบแปลนเปิดโล่งกั้นห้องเฉพาะผู้บริหาร และระดับชั้นพื้นที่ทำงานในอาคาร เหมาะสมกับการใช้สอย ส่วนการจัดโต๊ะทำงานเป็นโต๊ะคู่เป็นกลุ่มๆ และโต๊ะเดี่ยว และตำแหน่งที่นั่งในพื้นที่ทำงาน ทั้งใกล้ประตู ทางเข้า-ออก ใกล้หน้าต่าง และใกล้ทางเดินภายใน ไม่เหมาะสมในการใช้สอย 2. พื้นที่แกนสัญจรและบริการทางตั้ง บันได และลิฟต์ เหมาะสมกับการใช้สอย แต่โถงและห้องน้ำ-ส้วม ไม่เหมาะสมในการใช้สอย 3. พื้นที่จอดรถภายนอกอาคารไม่เหมาะสมในการใช้สอยมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ความคิดเห็นดังกล่าวของผู้ใช้สอยยังอาจแตกต่างกันไปตามความแตกต่างด้านสังคมและกายภาพดังนี้ 1.เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมกายภาพพื้นที่ทำงาน การจัดพื้นที่ทำงานแบบแปลนเปิดโล่งกั้นห้องเฉพาะผู้บริหาร ผู้บริหารแสดงความคิดเห็นว่าเหมาะสมในการใช้สอยมาก แตกต่างจากนักวิชาการและพนักงานธุรการ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ การจัดโต๊ะทำงานแบบเป็นคู่ เป็นกลุ่มและเดี่ยวๆ ผู้ใช้สอยทุกประเภทแสดงความคิดเห็นว่าไม่เหมาะสมในการใช้สอย แต่ผู้ใช้สอยโต๊ะเป็นคู่มีแนวโน้มความคิดเห็นในเรื่องนี้ดีกว่า ผู้ใช้สอยโต๊ะเป็นกลุ่มหันหน้าชนกันและโต๊ะเดี่ยวๆอย่างชัดเจน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนเรื่องตำแหน่งที่นั่งในพื้นที่ทำงาน ผู้ใช้สอยซึ่งนั่งใกล้ประตูทางเข้า-ออก ใกล้หน้าต่างและใกล้ทางเดิน ต่างก็เห็นว่า ไม่เหมาะสมในการใช้สอย แต่ผู้ใช้สอยซึ่งนั่งใกล้หน้าต่างริมพื้นที่ทำงาน ไกลจากความพลุกพล่านของการสัญจร มีแนวโน้มความคิดเห็นนี้ดีกว่า ส่วนในเรื่องตำแหน่งพื้นที่ทำงาน คือระดับชั้นที่ 3, 4 และ 5 ของอาคาร ผู้ใช้สอยทุกระดับชั้นแสดงความคิดเห็นว่า เหมาะสมในการใช้สอย แต่ผู้ใช้สอยในระดับชั้นที่ 5 มีแนวโน้มความคิดเห็นว่าไม่เหมาะสมในการใช้สอย มากกว่าผู้ใช้สอยในระดับชั้นที่ 3 และ 4 2.เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมกายภาพพื้นที่แกนสัญจรและบริการทางตั้ง ซึ่งมีอยู่แกนเดียว โดยศึกษาความแตกต่างของความหนาแน่น ผู้ใช้สอยซึ่งมีความหนาแน่นสูงกว่าในระดับชั้นที่ 3 และ 4 แสดงความคิดเห็นว่าลิฟท์และบันไดเหมาะสมในการใช้สอย แต่ผู้ใช้สอยซึ่งมีความหนาแน่นต่ำกว่าในระดับชั้นที่ 5 มีความคิดเห็นว่าไม่เหมาะสมในการใช้สอย ทั้งนี้เพราะผู้ใช้สอยในระดับชั้นที่ 3 และ 4 ติดต่อขึ้น-ลงโดยลิฟท์และบันได้ได้โดยไม่เหน็ดเหนื่อยนัก จึงกล่าวได้ว่า ความคิดเห็นของผู้ใช้สอยที่มีต่อลิฟท์และบันไดขึ้นอยู่กับระดับชั้นที่ผู้ใช้สอยทำงานอยู่ มิใช่ความหนาแน่นในการใช้พื้นที่ สำหรับพื้นที่โถงและห้องน้ำ-ส้วม ผู้ใช้สอยต่างแสดงความคิดเห็นว่าไม่เหมาะสมในการใช้สอย โดยผู้ใช้สอยซึ่งมีความหนาแน่นต่ำในระดับชั้น ที่ 5 มีแนวโน้มความคิดเห็นที่ดีกว่าผู้ใช้สอยซึ่งมีความหนาแน่นสูงกว่าในระดับชั้นที่ 3 และ 4 ของอาคาร การปรับปรุงอาคารสำนักงบประมาณ ใช้ข้อมูลจากความคิดเห็นของผู้ใช้สอยเรื่องปัญหาในการใช้สอย และข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขสภาพแวดล้อมกายภาพอาคาร พื้นที่ทำงานแบบแปลนเปิดโล่งกั้นห้องเฉพาะผู้บริหาร แม้เหมาะสมแต่มีปัญหาเรื่องความไม่เป็นส่วนตัวและคับแคบ จึงสมควรกั้นแบ่งพื้นที่เปิดโล่งด้วยผนังหรือบอร์ด เพื่อความเป็นส่วนตัวในการทำงานของนักวิชาการและพนักงานธุรการ การเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ควรคำนึงถึงความหนาแน่นในพื้นที่ทำงานด้วย การจัดเครื่องเรือนในพื้นที่ทำงาน ควรจัดโต๊ะทำงานเป็นคู่ๆพร้อมตู้เก็บเอกสารและเก้าอี้รับรองแขกให้เพียงพอกับจำนวนเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ เพราะปัจจุบันมีปัญหาการขาดแคลนตู้เก็บเอกสารมาก ในเรื่องตำแหน่งที่นั่งที่เหมาะสมในพื้นที่ทำงาน ผู้ใช้สอยส่วนมากเลือกบริเวณใกล้หน้าต่างริมพื้นที่ทำงาน เพราะให้ความเป็นส่วนตัวมากกว่าตำแหน่งที่นั่งอื่นๆ การกั้นแบ่งพื้นที่ทำงานเปิดโล่งด้วยผนังหรือบอร์ด ให้ความเป็นส่วนตัวในพื้นที่ทำงานมากขึ้น อาจช่วยให้ผู้ใช้สอยพอใจตำแหน่งที่นั่งทุกบริเวณในพื้นที่ทำงานได้ ส่วนในเรื่องตำแหน่งในระดับชั้นที่เหมาะสม พื้นที่ทำงานในระดับชั้นทั้งหกของอาคารนั้น ควรจัดพื้นที่ชั้นล่างเป็นพื้นที่ติดต่อสอบถาม พื้นที่ชั้นที่ 2-5 เป็นพื้นที่ทำงาน และพื้นที่ชั้นที่ 6 เป็นพื้นที่ห้องประชุม อบรมและสัมมนาถูกต้องอยู่แล้ว แต่ควรจะเพิ่มพื้นที่แกนสัญจรและบริการทางตั้งอำนวยความสะดวกในการติดต่อ ขึ้น – ลง และการใช้สอยอื่นๆ จึงเสนอแนะให้เพิ่มแกนสัญจร และบริการทางตั้งอีกด้านหนึ่งของอาคาร โดยมีบันไดกว้าง 2 เมตร ทางทิศตะวันออก ลิฟท์จุ 10 -12 คน 1 ตัว พื้นที่โถงจัดวางชุดรับแขก ตู้น้ำเย็น ฯลฯ ส่วนพื้นที่ห้องน้ำ-ส้วม จัดเครื่องสุขภัณฑ์ให้พอเพียงและเหมาะสมกับการใช้สอย สำหรับพื้นที่จอดรถเพิ่มพื้นที่จอดรถในบริเวณด้วยการรื้ออาคารห้องแถวริมถนน ซึ่งใช้ประโยชน์ได้น้อยมาก การศึกษาวิจัยนี้ แสดงให้เห็นว่าสภาพแวดล้อมทางกายภาพอาคารมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้ใช้สอย สามารถประเมินสภาพแวดล้อมกายภาพอาคารได้ ผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยนี้สามารถนำไปแก้ไขปรับปรุงพื้นที่ทำงานอาคารสำนักงบประมาณปัจจุบัน หรือเป็นข้อมูลประกอบ การจัดทำรายละเอียดโครงการออกแบบอาคารใหม่ในอนาคต เพื่อให้ได้อาคารที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับพฤติกรรมของผู้ใช้สอย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการใช้สอยอาคารสำนักงานราชการ เพื่อลดปัญหาและความไม่สะดวกในการใช้สอย |
Other Abstract: | To make an investigation from the result of the assessment of the physical environments of Budget Bureau Building by it’s users (i.e. government official working in the building). This study also assessed the preference differences of users according to their official ranks, table arrangements, locations in working space, floor levels, and density. The investigated space includes working space, vertical circulation and service core, and parking spaces. The major characteristics of these spaces are as follows: For the open-planned working space with separate rooms for the executives, the densities appeared to be both in according to and higher than the acceptable general design criteria. Most of the working tables, are set in pairs the rest are arranged in groups facing each other and also arranged in a single formation. Working personals are generally located either near the entrance door, the windows or the circulation area. The working areas are situated on the 3rd, 4th and 5th floors. Although the building is rectangular in shape, there is only DOU single vertical circulation and service core attached to one end of the building. The lobby in the center of area provides access to the staircase and lift, toilets and working space. These spaces are small and crowded. Parking facilities are provided by off-street parking spaces inside and outside the building site. There is no specifically planned parking space available. The results of this study which have been accomplished through the use of questionnaires provided the researcher with the following conclusions : 1.The open-planned working space with separate rooms for the executives and floor levels of the office space are suitable, but the table arrangements which are set in pairs, groups and the single formation, as well as the locations in working areas which are near the entrance door, the window and near main circulation space create many functional problems and are unsuitable. 2. The vertical circulation and service core areas, the staircase and lift are suitable, but the lobby and the toilet are not suitable.3. The parking facilities are most inadequately provided. However, users' assessments differ according to social status and physical setting as follows. 1. Office Space : The open-planned working space with separate rooms for the executives are strongly preferred by the occupants, where as other personals expressed significant differences of opinions. Concerning table arrangements, there are very low preferences for all arrangement: combinations, in pairs, face-to-face grouping; and single units. The arrangement in pairs is, however, least disliked by users, where as the face-to-face grouping and the single formation arrangements are greatly disliked by the users. There are significant differences in the assessment between the former and the latter. All the users who sir near the entrance doors, near the windows and the circulation areas indicated that the location of their working spaces were not suitable. But those who are near the windows and are far from the crowded circulation areas, showed stronger preferences. The users on the 5th floor tended to show the lowest preferences of floor level. 2. Vertical circulation and service core areas. Users in the higher density setting of the 3rd and 4th floor showed higher preferences for the staircase and lift than did users in the lower density -setting of the 5til floor. This is because users on the 3rd and 4th floor have a stouter and better accessibility to the ground floor. However, the users on the 4th floor showed stronger preferences for the lobby and toilet than users in the higher density setting of the 3rd and 4th floor. The inadequacies and suggestions of the users obtained may be used as important information for improving the physical environment of Budget Bureau building. The open-planned working areas are too crowded. Users preferred that the general working spaces for the staff should be partitioned and the future increase of govern¬ment officials should be considered in relation to the space available. The lack of filing space exacerbates problems relating to the office’s furniture arrangement. Every user should be supplied with a table, a filing cabinet and an extra chair. Concerning staff locations in working areas, users prefer to sit near the window in order to maintain more privacy. However, the partitions in the open- planned space should provide much more privacy for every location. Working areas from the 2nd to 5th floor, as well as the seminar and the conference rooms on the 6th floor, and the public relation department on the ground floor are thus planned, but the existing single vertical circulation and service core is inadequate. There should also be another one attached to the other end of the building. It should be provided with a 2 meter wide staircase, a 10-12 person capacity lift, a lobby area furnished with sofas and a drinking fountain for guests and a toilet with proper sanitation. Finally, off-street parking spaces should also be enlarged by tearing down the row-houses near the site which would obstruct the development. This research reveals that the physical environment of the building does influence users' behavior, and that the users could assess the physical setting. The results of this study also suggest that there is an urgent need to improve the working space of the Budget Bureau Building. The information compiled may contribute basic facts relevant for future architectural programming and design, suitable for user’s behavior, and also increasing working efficiency of personnel as a whole. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23653 |
ISBN: | 9745632805 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Manasikarn_Pa_front.pdf | 840.36 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Manasikarn_Pa_ch1.pdf | 576.69 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Manasikarn_Pa_ch2.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Manasikarn_Pa_ch3.pdf | 1.54 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Manasikarn_Pa_ch4.pdf | 1.99 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Manasikarn_Pa_ch5.pdf | 806.01 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Manasikarn_Pa_back.pdf | 536.5 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.