Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23672
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรชัย สิทธิศรัณย์กุล
dc.contributor.advisorวิโรจน์ เจียมจรัสรังษี
dc.contributor.authorวัลภา ศรีสุภาพ
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned2012-11-10T05:59:17Z
dc.date.available2012-11-10T05:59:17Z
dc.date.issued2544
dc.identifier.isbn9740316131
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23672
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en
dc.description.abstractการศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริการอาชีวอนามัยของโรงพยาบาลรัฐและเอกชนในพื้นที่สาธารณสุขเขต 3 เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2544 ถึง มกราคม 2545 โดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ถึงผู้อำนวยการโรงพยาบาล/ผู้รับผิดชอบบริการอาชีวอนามัยของโรงพยาบาลทุกแห่งในพื้นที่สาธารณสุขเขต 3 จำนวน 95 แห่ง อัตราตอบกลับ 82.1% และสัมภาษณ์เจาะลึกผู้บริหารโรงพยาบาล 9 แห่ง เปรียบเทียบความแตกต่างโดย Mann-Whitney U test และ Kruskal- Wallis H test ส่วนข้อมูลการสัมภาษณ์ใช้ข้อความเชิงพรรณนา ผลจากแบบสอบถามพบว่า โรงพยาบาลที่มีบริการอาชีวอนามัย 63 แห่ง (81.8%) ส่วนใหญ่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข อยู่ในจังหวัดชลบุรี เป็นโรงพยาบาลขนาดต่ำกว่า 60 เตียง มีผู้รับผิดชอบงานเพศชาย อายุเฉลี่ย 37 ปี ตำแหน่งนักวิชาการ ระดับปริญญาตรี ระยะเวลาที่รับผิดชอบงานเฉลี่ย 5.1 ปี ไม่เคยจบการศึกษาในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องด้านอาชีวอนามัยและไม่เคยเข้ารับการอบรมด้านอาชีวอนามัย หน่วยงานอาชีวอนามัยมีระยะเวลาการจัดบริการอยู่ระหว่าง 1-5 ปี จำนวนสถานประกอบการที่ให้บริการในรอบปีที่ผ่านมาระหว่าง 1-10 แห่ง ไม่มีการให้บริการคลินิกอาชีวเวชศาสตร์และไม่มีการแยกหน่วยงานด้านอาชีวอนามัยออกเป็นอิสระ ระยะทางที่โรงพยาบาลออกไปให้บริการอาชีวอนามัย มีระยะทางใกล้สุดเฉลี่ย 4 กิโลเมตร ระยะทางไกลสุดเฉลี่ย 24.3 กิโลเมตร ทีมงานส่วนใหญ่ประกอบด้วยพยาบาล โดยมากกว่าร้อยละ 50 ของโรงพยาบาลที่ให้บริการไม่มีแพทย์ พยาบาล หรือนักวิชาการที่มีความรู้ด้านอาชีวอนามัยเลย ในภาพรวมการจัดบริการอาชีวอนามัยด้านบริหาร บริการ และวิชาการโรงพยาบาลส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 60 มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำ โดยด้านบริการมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด (2.18) และด้านวิชาการมีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด (1.78) เมื่อเปรียบเทียบบริการอาชีวอนามัยระหว่างโรงพยาบาลรัฐและเอกชนในภาพรวมพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต (p<0.05) ปัจจัยด้านหน่วยงานที่มีผลต่อบริการอาชีวอนามัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ประเภทหน่วยงาน จำนวนสถานประกอบการที่ให้บริการในรอบปีที่ผ่านมา การมีบริการคลินิกอาชีวเวชศาสตร์ และการแยกหน่วยงานด้านอาชีวอนามัยออกเป็นอิสระ ปัจจัยด้านผู้รับผิดชอบงานที่มีผลต่อบริการอาชีวอนามัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องด้านอาชีวอนามัย ผลการสัมภาษณ์เจาะลึกพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริการอาชีวอนามัยประสบความสำเร็จ คือ ผู้บริหารมีนโยบายสนับสนุน และทีมงานมีประสิทธิภาพ ปัญหาสำคัญที่พบคือ ขาดแคลนแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ นอกจากนี้พบว่า โรงพยาบาลส่วนใหญ่มีการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อหาลูกค้าและคิดว่ามีความคุ้มในการลงทุนด้านนี้ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการบริการอาชีวอนามัยของโรงพยาบาลในพื้นที่สาธารณสุขเขต 3 ยังอยู่ในระดับต่ำ ยังต้องการพัฒนาอีกมากโดยเฉพาะด้านวิชาการและสารสนเทศ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญและมีการพัฒนางานบริการอาชีวอนามัยนี้อย่างจริงจัง
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this cross-sectional descriptive study was to explore the occupational health services (OHSs) in government and private hospitals in Health Region 3. The study was conducted during November 2001 to January 2002 by mailing questionnaires to all 95 hospital directors or OHSs’ heads. The response rate was 82.1% Indepth interviews were conducted on 9 directors. Mann-Whitney U test and Kruskal – Wallis test were used for statistical analyses. Indepth interviews were presented in texts. The study revealed that 81.8% (63) hospitals has OHSs. The majority of them were under the Ministry of Public Health, located in Chonburi province, and had less than 60 beds. The majority of OHSs’ heads were male, had mean age of 37 years, held and academic position, got a bachelor degree, and had been working in the current position for 5.1 year average. Most of them did not study in occupational health (OH) and had not been trained in OH. Most of the OHSs had an experience in service during 1-5 year and most of them served 1-10 companies. Most of them did not offer OH clinic and OHS unit was not separated from other units. The average of the nearest out-of-hospital service was 4 km. and the farthest was 24.3 km. The majority of OHS team consisted of nurses. More than half of the Hospitals provided the service without any personnel qualified in OH. In general, OHS in 3 aspects – management, services, academic – were scored as low in more than 60%, with the highest average score in services (2.18) and lowest in academic (1.78). Comparing OHS between government and private hospitals revealed that OHS services differed significantly. Factors related to OHS were type of hospital, number of companies served, having an OH clinic, and having OHS unit separated. Factors related to OHSs’ head affecting OHS significantly were whether they were trained in OH. Indepth interview revealed that key success factors for OHSs were manager’s commitment and support, and effective teams. The major obstacle was lack of occupational medicine physician. In addition, most hospitals used marketing techniques to obtain more customers and considered that it was worth investing in this kind of service. This study revealed that OHSs in Health Region 3 were still in low level and needed development especially in academic and information technology. The Ministry of Public Health and concerned bodies should give high priority and work to improve OHSs seriously.
dc.format.extent4724603 bytes
dc.format.extent3848336 bytes
dc.format.extent16276377 bytes
dc.format.extent2457144 bytes
dc.format.extent20432761 bytes
dc.format.extent16394992 bytes
dc.format.extent11394708 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการบริการอาชีวอนามัยของโรงพยาบาลรัฐและเอกชนในพื้นที่สาธารณสุขเขต 3en
dc.title.alternativeOccupational health service in government and privatehosptals health region 3en
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineอาชีวเวชศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wullapa_sr_front.pdf4.61 MBAdobe PDFView/Open
Wullapa_sr_ch1.pdf3.76 MBAdobe PDFView/Open
Wullapa_sr_ch2.pdf15.89 MBAdobe PDFView/Open
Wullapa_sr_ch3.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open
Wullapa_sr_ch4.pdf19.95 MBAdobe PDFView/Open
Wullapa_sr_ch5.pdf16.01 MBAdobe PDFView/Open
Wullapa_sr_back.pdf11.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.