Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2369
Title: | ศักยภาพของพื้นที่ในจังหวัดลพบุรีในการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมไก่เนื้อ |
Other Titles: | The spatial potential of Lop Buri Province as a broiler industry center |
Authors: | สุคนธา ยิ้มพงษ์, 2523- |
Advisors: | ดารณี ถวิลพิพัฒน์กุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Daranee.T@Chula.ac.th |
Subjects: | อุตสาหกรรมไก่เนื้อ การใช้ที่ดิน--ไทย--ลพบุรี การพัฒนาอุตสาหกรรม--ไทย--ลพบุรี เมือง--การเจริญเติบโต อุตสาหกรรม--สถานที่ตั้ง |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของพื้นที่ในจังหวัดลพบุรีในการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมไก่เนื้อ (ก่อนสถานการณ์การระบาดของไข้หวัดนกในประเทศไทย) ซึ่งแบ่งเป็น 5 อุตสาหกรรมตามลักษณะและโครงสร้างของอุตสาหกรรมไก่เนื้อ ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ อุตสาหกรรมผลิตลูกไก่เนื้อ อุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่เนื้อ (ฟาร์มเลี้ยง) อุตสาหกรรมฆ่าและชำแหละเนื้อไก่ และอุตสาหกรรมแปรรูปเนื้อไก่ หลังจากการศึกษาทฤษฎี แนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้กำหนดเป็นปัจจัยที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ปัจจัยทางด้านกายภาพ ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศการใช้ประโยชน์ที่ดิน การบริการสาธารณูปโภค และการคมนาคมขนส่ง ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจได้แก่ แหล่งวัตถุดิบแหล่งรองรับผลผลิต และสถาบันการเงินการธนาคารและปัจจัยทางด้านสังคม ได้แก่ แรงงานภาคเกษตร แรงงานภาคอุตสาหกรรม และการบริการการศึกษา การศึกษาใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามปลายเปิดกับกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่มได้แก่ ผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไก่เนื้อ และผู้เชี่ยวชาญ สำหรับการวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ในจังหวัดลพบุรีในการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมไก่เนื้อ เป็นการวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่สำหรับแต่ละอุตสาหกรรมย่อยซึ่งมีชุดของปัจจัยและลำดับความสำคัญของปัจจัยแตกต่างกันไปตามลักษณะและโครงสร้างของอุตสาหกรรมย่อย โดยใช้เทคนิค คือ เทคนิคการซ้อนทับข้อมูลแบบให้ค่าถ่วงน้ำหนัก ผลการศึกษาศึกษาสรุปได้ว่าจังหวัดลพบุรีมีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมไก่เนื้อ โดยสามารถแบ่งกลุ่มพื้นที่ได้เป็น 5 พื้นที่ตามระดับศักยภาพสำหรับแต่ละอุตสาหกรรมย่อย คือ 1. พื้นที่บริเวณตำบลช่องสาริกา ตำบลพัฒนานิคม ตำบลหนองบัว ตำบลโคกสลุง ตำบลชอนน้อย ในอำเภอพัฒนานิคม และตำบลโคกตูม ในอำเภอเมืองเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพมากที่สุดในทุกอุตสาหกรรมไก่เนื้อ 2. พื้นที่บริเวณตำบลนิคมลำนารายณ์ ตำบลบัวชุม ตำบลเกาะรัง ตำบลศิลาทิพย์ ตำบลห้วยหิน ในอำเออชัยบาดาล ตำบลหนองผักแว่น ในอำเภอท่าหลวง เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพมากในทุกอุตสาหกรรมในอุตสาหกรรมไก่เนื้อ 3. พื้นที่บริเวณอำเภอหนองม่วง อำเภอโคกเจริญ บางส่วนของอำเภอโคกสำโรง อำเภอสระโบสถ์ ตำบลนาโสม ตำบลหนองยายโต๊ะ ในอำเภอชัยบาดาล และอำเภอลำสนธิ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพมากสำหรับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ แต่เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพปานกลางสำหรับบอุตสาหกรรรมไก่เนื้อ 4. พื้นที่บริเวณอำเภอเมือง อำเภอท่าวุ้ง อำเภอบ้านหมี่ และบางส่วนของอำเภอโคกสำโรง เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพปานกลางจนถึงน้อยในทุกอุตสาหกรรมในอุตสาหกรรมไก่เนื้อ และ 5. พื้นที่บริเวณ ตำบลทะเลวังวัด ตำบลซับจำปา ตำบลหัวลำ ตำบลแก่งผักกูด ในอำเภอท่าหลวง ตำบลน้ำสุด ตำบลห้วยขุนราม บางส่วนของตำบลมะนาวหวาน ในอำเภอพัฒนานิคม เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพปานกลาง ในเกือบทุกอุตสาหกรรมในอุตสาหกรรมไก่เนื้อ The objective of this research is to study the spatial potential of Lopburi province as a broiler industry center (before avian influenza epidemic situation). The broiler industry can be classified into 5 sub-industries according to their characteristics and structures : the animal feed industry, the parent stock farm and hatchery industry, the broiler farm industry, the broiler slaughter industry and the chicken frozen food industry. After reviewing the literature, three sets of preliminary selected factors for analyzing the spatial potential of Lopburi province as a broiler industry center are determined : (1) the physical factors, i.e., topographical characteristics, land use characteristics, public utility system and transportation infrastructure; (2) the economic factors, i.e., raw material sources, output sources and financial institutions; and (3) the social factors, i.e., labors in agriculture sector, labors in manufacturing sector and educational services. Primary data are collected via interview surveys with open-end questionires administered on key informants from 3 target groups : broiler farmers, the group of boiler exporters, and a group of specialists and government officials. The Weighted Overlay technique is utilized for analyzing the spatial potential of Lopburi province through individual set and factor importance ratio of each sub-industry. Research results reveal 5 potential areas in Lopburi province : (1) the highest potential areas for every sub-industries in broiler industry are western part of Phattana Nikom District and Tambon Kok Tum in Mueng District; (2) the high potential areas for every sub-industries in broiler industry are Tumbon Nikom Lamnarai, Tumbon Bou Chum, Tumbon Kho Rang, Tumbon Si Latip, Tumbon Huihin in Chai Badan District and the area around eastern Tha Luang District; (3) the high potential areas for the animal feed industry and the moderate potential areas for the others sub-industries in broiler industry are Nong Muang District, Kok Charoen District, the parts of Kok Samrong District, Sra Bot District and Tumbon Na Som, Tumbon Nong Yaitho in Chi Badan District; (4) the low to moderate potential areas for every sub-industries in broiler industry are Mueng District, Tha Wong District and some parts of Kok Samrong District and; 5) the moderate potential areas for some subindustries in broiler industry are part of eastern Tha Luang District and Eastern Phattana Nikom District. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวางแผนภาค |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2369 |
ISBN: | 9741765231 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sukontha.pdf | 4.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.