Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23693
Title: ผู้นำกับการบริหารในวรรณคดีเรื่องสามก๊ก
Other Titles: Leadership and management as reflected in the romance of the Three Kingdoms
Authors: มานิต เสงี่ยมพรพาณิชย์
Advisors: สมบัติ จันทรวงศ์
ชัยอนันต์ สมุทวณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: สามก๊ก -- ประวัติและวิจารณ์
วรรณคดีจีน -- ประวัติและวิจารณ์
ผู้นำ
การบริหาร
ภาวะผู้นำในวรรณคดี
Chinese literature -- History and criticism
Leadership
Administration
Leadership in literature
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สามก๊กเป็นวรรณคดีที่มีชื่อเสียงของจีน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มาเป็นเวลานาน และไค้รับการยกย่องว่าเป็นตำราศึกษากลอุบายทางการเมือง การสงครามที่สำคัญ เพราะมีเนื้อหาสาระสำคัญส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับเรื่องของรัฐ ผู้ปกครอง การปกครองบริหาร และการใช้สติปัญญา หรือความรู้ความสามารถในการต่อสู้ ทำสงครามเพื่อแย่งชิงอาณาเขตและอำนาจของผู้ปกครอง เป็นต้น แต่ก็ยังไม่เคยมีผู้ทำการศึกษาอย่างเป็นระบบอย่างแท้จริงว่า วรรณคดีเรื่อง สามก๊ก นี้ได้ให้สาระ ความรู้ หรือคำสอนอะไรอย่างไร ตามที่ได้ยกย่องกันไว้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่พยายามจะศึกษาถึงลักษณะความรู้หรือคำสอนที่สำคัญ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่อง ผู้นำกับการบริหาร ที่ได้สะท้อนให้เห็นในสาระสำคัญของเนื้อความของเรื่องว่า หนังสือวรรณคดีเรื่องสามก๊ก ดังกล่าว ได้สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะความรู้หรือคำสอนสำหรับผู้นำที่ได้รับ ความสำเร็จ ในการบริหารของตนว่า ผู้นำจะต้องมีรูปแบบหรือแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ หรือการดำเนินการในกิจกรรมทางการบริหารของตนอย่างไร จึงสามารถบรรลุถึงเป้าหมายในการสร้างอำนาจ หรือองค์กรของตนและได้รับตำแหน่งเป็นผู้นำขององค์กร และสามารถบรรลุถึงเป้าหมายในการรักษาอำนาจหรือองค์กร หรือตำแหน่งผู้นำของตนไว้อย่างมั่นคงเป็นอิสระอยู่ได้ โดยนำเอาแนวทางความคิดทางปรัชญาการเมืองของ แมคเคียเวลลี มาเป็นกรอบแนวความคิดในการศึกษาวิเคราะห์ถึงรูปแบบหรือแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ หรือการดำเนินการในกิจกรรมทางการบริหารของผู้นำคนสำคัญของเรื่องอัน ได้แก่ เล่าปี่ โจโฉ และซุนกวน ซึ่งเป็นผู้นำคนสำคัญในช่วงระยะเวลาที่แผ่นดินจีนค่อยๆ แบ่งแยกออกจากกันเป็นสามก๊กในตอนกลางของเรื่องนี้ ผลจากการศึกษาวิเคราะห์นี้ พบว่า วรรณคดีเรื่องสามก๊กได้สะท้อนให้เห็นว่า รูปแบบหรือแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ หรือการดำเนินการในกิจกรรมทางการบริหารของผู้นำที่ได้รับ ความสำเร็จ นั้น ผู้นำจะต้องเป็นผู้ที่สามารถเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของตนเอง และเลือกใช้วิธีการในการบริหารของตนให้สอดคล้องกับ สถานการณ์และเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างเหมาะสม เป็นผู้ที่มีสติปัญญา ความรู้ความสามารถ และอำนาจที่สามารถพึ่งพาตนเองในการบริหารกิจกรรมของตนได้ เป็นผู้มีความตั้งใจ ทะเยอทะยานและมีจิตใจที่ไม่ยับยั้ง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการสร้างหรือรักษาความมั่นคงเป็นอิสระขององค์กร โดยไม่คำนึงว่าจะต้องใช้วิธีการพิเศษใดๆ และเป็นผู้นำที่ให้ความสนใจกับการสร้างความเข้มแข็งขององค์กร ให้สามารถมีกำลังคนและทรัพยากรที่เพียงพอ ในการป้องกันตนเองหรือกำจัดศัตรูคู่แข่งขัน ที่อาจเป็นอันตรายต่อความมั่นคง ปลอดภัยขององค์กรหรือตำแหน่งผู้นำของตนได้ นอกจากนี้ จากผลการศึกษาวิเคราะห์ดังกล่าว ยังได้พบว่า ลักษณะความรู้หรือคำสอนในส่วนที่เกี่ยวกับ ผู้นำกับการบริหารที่ได้สะท้อนให้เห็นในวรรณคดีเรื่องสามก๊ก ดังกล่าว มีลักษณะที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกับกรอบแนวคิดตามแนวความคิดทางปรัชญาการเมืองของแมคเคียเวลลี ที่ใช้เป็นกรอบแนวความคิดในการศึกษานี้เกือบทั้งหมด ซึ่งนอกจากจะเป็นการยืนยันถึงข้ออ้างที่ แมคเคียเวลลี ถือว่าความรู้หรือแนวความคิดของตนเป็น สิ่งที่เป็นจริงที่ใช้ได้กับรัฐหรือมนุษย์ทั้งโลกทุกยุคทุกสมัยแล้ว ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงลักษณะที่เป็นสากลของความรู้หรือแนวคิดทั้งของ แมคเคียเวลลี เองและจากที่ได้สะท้อนให้เห็นในวรรณคดีเรื่องสามก๊กนี้อีกด้วย
Other Abstract: The Romance of the Three Kingdoms is a famous Chinese classic which has been widely acclaimed as an important textbook on statecraft and war- However there is no systematic study of this book concerning the messages it has for rulers and administrators. This thesis attempts to study the knowledge and teachings regarding leadership and management in this book and to analyze the nature of knowledge considered essential for effective leadership and management. The analytical framework used to study the teachings of this book is taken from political ideas of Machiavelli. It was found that the norm of administrative behavior essential for successful leadership was based upon the ability of the leader to change his own character and to know how to select management methods to suit changing situations and environments. The leader had to be intelligent, capable, powerful, self-sufficient, highly determined and ambitious in order to achieve his goals in creating and maintaining the autonomy of his organization. The leader had to be interested in building up the strength of his organization so that sufficient manpower as well as other resources could be secured to protect himself or to eliminate his competitors and enemies who might threaten the security of his organization or his own position. In addition, it was found that the nature of the teachings in this book concerning leadership and management were quite similar to Machiavellian concepts on the same subject. This confirms Machiavelli’s assertion that his ideas were realistic and could be universally applied to states and men.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23693
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Manit_Sa_front.pdf446.85 kBAdobe PDFView/Open
Manit_Sa_ch1.pdf508.75 kBAdobe PDFView/Open
Manit_Sa_ch2.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Manit_Sa_ch3.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open
Manit_Sa_ch4.pdf7.59 MBAdobe PDFView/Open
Manit_Sa_ch5.pdf351.46 kBAdobe PDFView/Open
Manit_Sa_back.pdf249.83 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.