Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23708
Title: | การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีของนักเรียน ที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างกลุ่มที่เรียนซ่อมเสริมโดยเพื่อน และกลุ่มที่เรียนซ่อมเสริมด้วยตนเองโดยใช้สื่อประสม |
Other Titles: | A comparison of chemistry learning achievement of mathayom suksa five low achievers between peer tutoring group and multimedia auto-tutoring group |
Authors: | มัณฑนา บุญจันทร์ |
Advisors: | จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | การสอนซ่อมเสริม เคมี -- แบบเรียนสำเร็จรูป ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เคมี -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) Remedial teaching Chemistry -- Programmed instruction Academic achievement Chemistry -- Study and teaching (Secondary) |
Issue Date: | 2530 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างกลุ่มที่เรียนซ่อมเสริมโดยเพื่อนนักเรียนกับกลุ่มที่เรียนซ่อมเสริมด้วยตนเองโดยใช้สื่อประสม ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี แผนการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี (ว 033) ต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 30 จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นนักเรียนที่เรียนซ่อมเสริมโดยเพื่อนนักเรียนจำนวน 26 คน กลุ่มที่ 2 เป็นนักเรียนที่เรียนซ่อมเสริมด้วยตนเองโดยใช้สื่อประสม จำนวน 25 คน ค่ามัชฌิมเลขคณิตของคะแนนวิชาเคมี (ว 033) ของตัวอย่างประชากรทั้ง 2 กลุ่ม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้วิจัยไค้ดำเนินการทดลองให้นักเรียนเรียนซ่อมเสริมวิชาเคมี (ว 034) สัปดาห์ละ 1 คาบ รวมทั้งสิ้น 12 คาบ แล้วนำคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี (ว 034) มาวิเคราะห์ความแตกต่างของค่ามัชฌิมเลขคณิต โดยการทดสอบค่าที (t-test) ข้อค้นพบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี (ว 034) ของกลุ่มนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ำ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนซ่อมเสริมด้วยตนเองโดยใช้สื่อประสมไม่สูงกว่ากลุ่มนักเรียนที่เรียนซ่อมเสริมโดยเพื่อนนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
Other Abstract: | To compare chemistry learning achievement of mathayom suksa five low achievers between peer tutoring group and multimedia auto-tutoring group. The samples were two groups of mathayom suksa five science and mathematics program students who had achievement (c 033) scores lower than percentile 30 of Visutharangsi School. The first group was peer tutoring group which contained 26 students. The second group was multimedia auto-tutoring group which contained 25 students. The arithmetic mean of chemistry (c 033) learning achievement of both groups were not different at the 0.05 level of significance. Both groups were tutoring experimented in chemistry course (c 034) for 12 periods, one period a week . The difference of arithmetic mean of chemistry achievement scores of the two groups were analyzed by means of t-test. Finding: The chemistry learning achievement of mathayom suksa five low achievers of multimedia auto-tutoring group was not higher than peer tutoring group at the 0.05 level of significance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | มัธยมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23708 |
ISBN: | 9745676594 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Mantana_Bo_front.pdf | 473.14 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Mantana_Bo_ch1.pdf | 500.72 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Mantana_Bo_ch2.pdf | 1.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Mantana_Bo_ch3.pdf | 642.19 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Mantana_Bo_ch4.pdf | 235.59 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Mantana_Bo_ch5.pdf | 374.87 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Mantana_Bo_back.pdf | 2.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.