Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23711
Title: ภาษีศุลกากรกับการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทย
Other Titles: Customs duty and industrial development of Thailand
Authors: มนัส คำภักดี
Advisors: ประคอง ลีละวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ภาษีศุลกากร
การพัฒนาอุตสาหกรรม -- ไทย
การส่งเสริมการลงทุน -- ไทย
Tariff
Industrialization -- Thailand
Investments -- Thailand
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาถึงระเบียบและพิธีการทางศุลกากร ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมภายในประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อจะศึกษาถึงระเบียบและพิธีการทางศุลกากรในอันที่จะอำนวยประโยชน์ให้การพัฒนาทางอุตสาหกรรมได้ดำเนินไป โดยให้ประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และศึกษาถึงกลไกของศุลกากรในการที่จะอำนวยให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ประกอบการผลิตภายในประเทศ อีกทั้งเสนอแนะประเภทอุตสาหกรรมที่ควรได้รับการส่งเสริม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ อุตสาหกรรมแปรรูปจากสินค้าเกษตรกรรม ในการค้นคว้า วิจัย เรื่องนี้ได้จากการศึกษาจากพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา ประกาศและคำสั่งต่างๆของหน่วยราชการ บทความ วารสาร เอกสาร รวมทั้งการสัมภาษณ์ และสอบถามจากบุคคลหลายฝ่ายคือ พ่อค้าและข้าราชการ ในกรม กองต่างๆที่เกี่ยวข้อง บทที่ 1 และบทที่ 2 เป็นเรื่องการศึกษา ได้เริ่มจากการค้นคว้าถึงระเบียบงานของศุลกากร การพัฒนาทางศุลกากรมีความเป็นมาอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางให้ทราบว่างานศุลกากร มีบทบาทต่อการพัฒนาทางอุตสาหกรรมและประเทศชาติเพียงใด บทที่ 3 เป็นการศึกษาเกี่ยวข้องกับความเป็นมาของอุตสาหกรรมของประเทศไทย มีการแบ่งประเภทอุตสาหกรรมอย่างไร มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจเพียงใด บทที่ 4 เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาทางอุตสาหกรรม มีพื้นฐานมาอย่างไร ปัจจัยต่างๆ ที่จะทำให้การพัฒนาทางอุตสาหกรรมได้ผลตามเป้าหมาย บทที่ 5 เป็นการศึกษาถึงเรื่องราวของการส่งเสริมให้มีการลงทุน เพื่อสร้างอุตสาหกรรมภายในประเทศ ศึกษาถึงบทบาทของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment) สิทธิประโยชน์และความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 227 ซึ่งได้แก้ไขมาจากพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่ออุตสาหกรรม พ.ศ. 2505 อุตสาหกรรมที่อยู่ในข่ายที่จะได้รับการส่งเสริมการลงทุน กลยุทธ์ของการส่งเสริมการลงทุน บทที่ 6 เป็นการศึกษาถึงกลไกทางศุลกากรที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยผสมผสานกับการส่งเสริมตามประกาศคณะปฏิบัติ ฉบับที่ 227 การคืนอากร ชดเชยภาษีอากรแก่ของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออก การจัดให้มีคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้า การศึกษาถึงกลไกทางพิกัดอัตราศุลกากร การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ เพื่อช่วยอุตสาหกรรมภายในประเทศ การจ่ายเงินชดเชยค่าภาษีอากร สินค้าที่ส่งออก ศึกษาบริเวณผลิตเพื่อการส่งออกของเกาซุง และนิคมอุตสาหกรรมบางชัน บทที่ 7 สรุปและชี้ให้เห็นปัญหาต่างๆในการส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะ การแก้ปัญหาเหล่านั้น เพื่อก่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วและเป็นแนวทางให้การส่งเสริมอุตสาหกรรมในประเทศด้วยความเหมาะสม เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศ
Other Abstract: To study the custoos formalities concerning the pronotion of domestic industry with the objective to study rubs and regulations which encourage the industrial developraent so as to bring benefits to all sectors concerned. The exercise of customs regulations as a mechanism to boost the local producers is also under studiedo Suggestions are also given to industries which are considered as having priority.naaelyt the manufacture of goods by using local raw materials and the processing of agricultural products. The method used to carry on this study is to review the available publications from government agencies as veil as to interview businessman and government officials concerned. Thin study is divided into seven chapters. Chapter 1 and 2 are to study the development of customs formalities so as to emphasize how to Customs Department plays an important role to the industrial development as well as national development. Chapter 3 deals with the history of industrial development in Thailand. How the industry, is classified. The role of industry plays to the national economy. Chapter 4 is to study the industrial development. The essential factors for industrialization are also emphasized. Chapter 5 centers on the industrial promotion in order to create domestic industry. The role of Board of Investment plays to the industrial development in this country. Privileges given to local producers under the Industrial Promotion Act and related laws are discussed. Chapter 6 is to study the operation of customs regulations as a mechanism to promote local industry as well as to boost the export. Measures are taken to subside exportation such as draw back and refund. Facilities are also provided such as bonded manufacturing warehouse and Kaoshing Export Processing Zone. Chapter 7 gives conclusions. Obstacles relating to industrial development are pointed out. Solutions to the problems are recommended so as to pave the way for industrialization for the benefit of the nation's economy.
Description: วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พาณิชยศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23711
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Manus_Ku_front.pdf525.65 kBAdobe PDFView/Open
Manus_Ku_ch1.pdf389.47 kBAdobe PDFView/Open
Manus_Ku_ch2.pdf742.54 kBAdobe PDFView/Open
Manus_Ku_ch3.pdf824.95 kBAdobe PDFView/Open
Manus_Ku_ch4.pdf647.37 kBAdobe PDFView/Open
Manus_Ku_ch5.pdf900.52 kBAdobe PDFView/Open
Manus_Ku_ch6.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open
Manus_Ku_ch7.pdf645.35 kBAdobe PDFView/Open
Manus_Ku_back.pdf271.98 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.