Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2373
Title: | การใช้องค์ประกอบชุมชนของชุมชนแออัด เขตเมืองชั้นใน กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Space utilization and components of slum community in inner Bangkok Metropolitan Districts |
Authors: | สุพินดา ตั้งรุ่งเรืองอยู่, 2521- |
Advisors: | กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์ ปรีดิ์ บุรณศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Kundoldibya@hotmail.com, Kundoldibya.P@Chula.ac.th |
Subjects: | เมือง ชุมชนแออัด ที่อยู่อาศัย การใช้ที่ดินในเมือง |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบชุมชนและพฤติกรรมการใช้องค์ประกอบชุมชนของชุมชนแออัด เขตเมืองชั้นใน กรุงเทพมหานคร เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและความเหมาะสมขององค์ประกอบทางกายภาพของชุมชนแออัด และนำไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐานที่เพียงพอขององค์ประกอบชุมชนในเขตเมืองชั้นใน กรุงเทพมหานคร โดยทำการศึกษาชุมชนแออัดขนาดกลาง ในที่ดินที่อยู่ภายใต้สิทธิการครอบครองเอกชนและเช่า จำนวน 5 ชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสำรวจทางกายภาพ, การบันทึกด้วยภาพถ่าย และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงร่าง จากกลุ่มตัวอย่าง 126 หลังคาเรือน ที่ได้จากการสุ่มสี่ขั้นตอน จากการวิจัยพบว่า องค์ประกอบชุมชนที่ผู้อยู่อาศัยใช้มี 11 หมวดหลัก ซึ่งแบ่งองค์ประกอบชุมชนได้ 2 ประเภทคือ องค์ประกอบที่ตั้งอยู่ภายในและภายนอกชุมชน โดยองค์ประกอบที่ตั้งอยู่ภายในชุมชนประกอบด้วย 10 หมวดหลัก เมื่อเรียงตามลำดับความสำคัญได้ดังนี้ หมวดสาธารณูปโภค, หมวดพาณิชยกรรม, หมวดการบริการชุมชน, หมวดการรักษาความปลอดภัย, หมวดการพักผ่อนหย่อนใจ, หมวดศูนย์ชุมชน, หมวดการสื่อสาร, หมวดการบริการขนส่งมวลชน, หมวดการศึกษา, และหมวดศาสนา ส่วนองค์ประกอบที่ตั้งอยู่ภายนอกชุมชนประกอบด้วย 9 หมวดหลัก เมื่อเรียงตามลำดับความสำคัญได้ดังนี้ หมวดพาณิชยกรรม, หมวดการบริการขนส่งมวลชน, หมวดการรักษาพยาบาล, หมวดการศึกษา, หมวดการพักผ่อนหย่อนใจ, หมวดการสื่อสาร, หมวดศาสนา, หมวดการรักษาความปลอดภัย และหมวดสาธารณูปโภค เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานของการเคหะแห่งชาติปีพ.ศ.2529พบว่า พฤติกรรมการใช้องค์ประกอบชุมชนของผู้ที่อยู่อาศัยมีความแตกต่างกัน ทั้งในเรื่องจำนวนองค์ประกอบชุมชน, พื้นที่ใช้สอย, การเดินทาง และระยะทาง ข้อเสนอแนะในการวิจัยคือ ในชุมชนที่ตั้งอยู่ในเขตเมือง ขนาดประมาณ 100 500 หลังคาเรือน มีความหนาแน่นประมาณ 7.5 19.3 หลังคาเรือนต่อไร่ และระดับรายได้ 13,282 24,584 บาทต่อเดือนต่อครอบครัว ควรมีองค์ประกอบชุมชน 3 ส่วนคือ 1. องค์ประกอบที่ตั้งอยู่ภายในชุมชน มีจำนวน 8 หมวดหลัก ประกอบด้วย 23 หมวดย่อย เมื่อเรียงตามลำดับความสำคัญในแต่ละหมวดคือ ถนน, ตลาดนัดเป็นช่วงเวลา, การจัดเก็บขยะ, หัวจ่ายดับเพลิง, ลานชุมชนศูนย์ฝึกอาชีพ, สถานเลี้ยงเด็กอ่อน และโทรศัพท์สาธารณะ 2. องค์ประกอบที่ตั้งอยู่ภายนอกชุมชน มีจำนวน 8 หมวดหลัก ประกอบด้วย 20 หมวดย่อย เมื่อเรียงตามลำดับความสำคัญในแต่ละหมวดคือ ตลาดสด, รถประจำทาง, ร้านขายยา, โรงเรียนอนุบาล, สวนสาธารณะ, ตู้ไปรษณีย์, หน่วยงานราชการ และวัด โดยมีระยะทางเฉลี่ยประมาณ 1.240 กิโลเมตร 3. องค์ประกอบที่ตั้งอยู่ภายในและภายนอกชุมชน มีจำนวน 2 หมวดหลัก ประกอบดัวย 2 หมวดย่อย เมื่อเรียงตามลำดับความสำคัญในแต่ละหมวด คือ ร้านค้าย่อย และที่จอดรถ |
Other Abstract: | The objectives of this research are to study the components and space utilization behavior of a slum community in inner Bangkok Metropolitan Districts, analyse the problems and suitability of the physical components, and define the suitable standard components for medium sized slum communities. This study uses a four-stage sampling of 126 units in 5 medium-sized communities that are occupied by private owners and rental tenants. The methods of research are a physical survey, the taking of photographs and outline interview. From this research, the components of community are divided into 11 major categories that are separated into 2 types(internal and external components). The internal component consists of 10 major categories as follows; public utitlities category, commerce category, service category, security category, recreation category, community center category, communication category, transportation category, education category and religion category. The external component consists of the major categories as follows: commerce category, transportation category, medical treatment category, education category, recreation category, communication category, religion category, security category and public utitlity category. From the standards of the National Housing Authority in 1986, the difference of component utilization behavior of slum communities are the quantity of component communities, space utilization, travel and distance of travel. The suggestion of this research, for the slum community size of 100-500 units, density 7.5-19.3 units per 1,600 m [superscript 2] and 13,282 - 24,584 baht income per months per household is that it should consist of 3 parts as follows: 1. Internal Components of slum community have 8 major categories that consist of 23 minor categories as follows: road, week-end markets, dustbins, extinguisher, recreation areas, occupation training center, nursery and public telephone. 2. External Components of slum community have 8 major categories that consist of 20 minor categories as follows: markets, bus, drugstore, kindergarten, public park, postbox, government service and temple. The average distance is 1.240 kilometres. 3. Internal and External Components of slum community have 2 major catrgories that consist of 2 minor categories as follows: retail shop and parking lot. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เคหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2373 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.592 |
ISBN: | 9741769822 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2004.592 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supinda.pdf | 14.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.