Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23742
Title: การศึกษาบทบาทของสื่อที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับฝ้ายพันธุ์ใหม่ ของสมาชิกนิคมสร้างตนเองลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา
Other Titles: The study of the role of on adopting the new cotton vegetation among the settlers in lumthakong land Settlement Nakhon Ratchasima province
Authors: ยุพดี ชัยภักดิ์
Advisors: วิเชียร เกตุสิงห์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษา 1. สื่อบุคคล สื่อการทำแปลงสาธิต สื่อการประชุมอบรม และสื่อมวลชน มีบทบาททำให้สมาชิกยอมรับการปลูกฝ้ายพันธุ์ใหม่มากน้อยต่างกันเพียงใด 2. ความแตกต่างของคุณสมบัติของสมาชิกนิคมที่ยอมรับการปลูกฝ้ายเร็วและยอมรับการปลูกฝ้ายช้า 3. ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกนิคมที่ยอมรับการปลูกฝ้ายเร็วและยอมรับการปลูกฝ้ายช้ากับการเปิดรับสื่อประเภทต่างๆ สมมติฐานของการวิจัย 1. สื่อบุคคล สื่อการประชุมอบรม สื่อการจัดไร่สาธิตและสื่อมวลชน มีบทบาทต่อการยอมรับนวกรรมการเกษตรต่างกัน โดยสื่อบุคคลมีบทบาทมากที่สุด สื่อการประชุมอบรม สื่อการจัดไร่สาธิตและสื่อมวลชนมีบทบาทต่อการยอมรับรองลงมาตามลำดับ 2. กลุ่มผู้รับนวกรรรมเร็วมีความถี่ในการเปิดรับสื่อมวลชนมากกว่าสื่อบุคคล ส่วนกลุ่มผู้รับนวกรรมช้ามีความถี่ในการเปิดรับสื่อบุคคลมากกว่าสื่อมวลชน 3. สื่อมวลชนที่เปิดรับไค้ทั่วประเทศ และสื่อมวลชนที่เปิดรับเฉพาะในท้องถิ่นมีบทบาทในการยอมรับนวกรรมการเกษตรต่างกันคือ สื่อมวลชนที่เปิดรับได้ทั่วประเทศ จะมีบทบาทในการยอมรับ นวกรรมการเกษตรน้อยกว่าสื่อที่รับเฉพาะในท้องถิ่น 4. การยอมรับนวกรรมเร็วและช้าจะมีความสัมพันธ์กับคุณสมบัติของสมาชิกนิคมสร้างตนเองคือ ผู้รับนวกรรมเร็วจะมีความสัมพันธ์กับคุณสมบัติของสมาชิกนิคมสร้างตนเองคือ ผู้รับนวกรรมเร็วจะมีคุณสมบัติทางด้านการศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจ การเป็นผู้นำ การเป็นคนทันสมัย การติดต่อสื่อสารสูงกว่าผู้รับนวกรรมช้า วิธีการศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจ (Survey research) โคยสุ่มตัวอย่างจากสมาชิกนิคมสร้างตนเองลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา 300 ตัวอย่าง แล้วคัดเลือกให้เหลือ 250 ตัวอย่าง โดยวิธีการสุมตัวอย่างอย่างง่าย (Simple random sampling) โคยสุ่มตัวอย่างจากประชากร 22 เขตในนิคมสร้างตนเองลำตะคอง เขตละ 13 คน ซึ่งจะได้ประชากรทั้งสิ้น 286 ตัวอย่าง ส่วนอีก 14 ตัวอย่างสัมภาษณ์เพิ่มขึ้นอีกเขตละ 1 ตัวอย่าง ซึ่งจะทำให้ได้ประชากรที่ศึกษาครบ 300 ตัวอย่าง แล้วคัดเลือกแบบสอบถามที่ไม่สมบูรณ์ออก 50 แบบสอบถาม เพื่อให้เหลือแบบสอบถามที่สมบูรณ์เพียง 250 แบบสอบถาม จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพื้นฐาน เช่น ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และค่าร้อยละ (Percentage) ส่วนการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative method) วิเคราะห์โดยหลักการคำนวณทางสถิติด้วย Chi-square และ t-test
ผลการศึกษา ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ในระหว่างสื่อ 4 สื่อ คือสื่อบุคคล สื่อการประชุมอบรม การทำไร่สาธิต และสื่อมวลชนนั้น สื่อบุคคลมีบทบาทในการยอมรับนวกรรมการเกษตรของสมาชิกนิคมมากที่สุด โดยมีสื่อการประชุมอบรม สื่อมวลชน สื่อการทำไร่สาธิต มีบทบาทต่อ การยอมรับนวกรรมการเกษตรของสมาชิกนิคมรองลงมาตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบบทบาทของสื่อแต่ละคู่จะได้ดังนี้คือ 1.1 สื่อบุคคลมีบทบาทต่อการยอมรับนวกรรมการเกษตรของสมาชิกนิคม มากกว่าสื่อการประชุมอบรม สื่อมวลชน สื่อการทำไร่สาธิต 1.2 สื่อการประชุมอบรมมีบทบาทต่อการยอมรับนวกรรมการเกษตรของสมาชิกมากกว่าสื่อมวลชนและการทำไร่สาธิต 1.3 สื่อการทำไร่สาธิตมีบทบาทต่อการยอมรับนวกรรมการเกษตรของสมาชิกนิคมน้อยกว่าสื่อมวลชน 2. ทั้งผู้รับนวกรรมเร็วและผู้รับนวกรรมช้าจะมีความถี่ในการเปิดรับสื่อมวลชนมากกว่าสื่อบุคคล 3. สื่อมวลชนที่เปิดรับได้ทั่วประเทศมีบทบาทในการยอมรับนวกรรมการเกษตรของสมาชิกนิคมมากว่าสื่อมวลชนที่เปิดรับในท้องถิ่น 4. การรับนวกรรมเร็วหรือช้าไม่มีความสัมพันธ์กับคุณสมบัติทางด้านการศึกษา ความเป็นผู้นำ ความเป็นคนทันสมัย และการติดต่อสื่อสาร แต่มีความสัมพันธ์อยู่บ้างกับคุณสมบัติทางด้านเศรษฐกิจ คือกลุ่มผู้รับนวกรรมเร็วจะมีฐานะทางเศรษฐกิจสูงกว่ากลุ่มผู้รับนวกรรมช้า
Other Abstract: To study 1. The roles of communication media, such as individual, pilot farming, group briefing and training, and mass media on the adoption of new cotton vegetation among the members of Lamthakong Land Settlement. 2 .The differential characteristics of the ones who early and the ones who lately adopt new cotton vegetation. 3. The relationship between the ones who early and the ones who lately adopt new cotton vegetation toward the exposure of various communication media. The hypotheses investigated in this study were : 1. Communication media; individual, group briefing and training, pilot farming and mass media had different effect on the adoption of agricultural innovations. Individual had the greatest role while group briefing and training, pilot farming, and mass media had less important role accordingly, 2. Early adopters had higher exposure to mass media than to individual. Meanwhile, the late adopters had higher exposure to individual than to mass media. 3. The communication media broadcasted nation-wide and the media broadcasted locally had different effect on the adoption of agricultural innovation that is, the former had less role compared to the latter. 4. Early adoption and lately adoption were related to the characteristics of the adopters that is, the early adopters’ were superior to the late adoptors’ regarding to their educational background, economic states, leadership, modernization, and commu¬nication abilities. Methodology of the study: The participants in this study were 300 members randomly selected from the population in 22 zones of the Lamthakong Land Settlement, Nar Khon Rachasima province. Thirteen subjects were selected from each zone. This gave 286 subjects on addition, 14 subject was selected to make the total number of 3ooo Interviewed questionnaire was used and 250 questionnaires were completed ,The data analysis consisted of descriptive statistics using tables and basic statistical values, such as means, standard deviations and percentages and the quantitative method using Chi-square and T-Test values. Results of the study: The results showed that : 1. Generally, among the four forms of communication media, communication through individual had shown the most effective roles on the adoption of agricultural innovation, whereas communication through pilot farming shown the least effect in details : 1.1 Communication through individual had more role on the adoption of agricultural innovations shown by members of the Land Settlement than group briefing and training, mass media and pilot farming respectively. 1.2 Communication through group briefing and training had shown more influences on the adoption of agricultural innova¬tion than the mass media and pilot farming respectively. 1.3 Communication through pilot farming had less effect on the adoption of agricultural innovations than the mass media. 2. Both early adopters and late adopters had higher exposures to the mass media than individual. 3. The nation-wide mass media had more roles on the adopt¬ion of agricultural innovations than the particular local mass media. Early adopters and late adopters had no difference on their educational background, leadership, modernization, and communication abilities. However the early adopters and the late adopters had shown some differences on their economic status. That is5 the early adopters had higher economic status than the late adopters.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23742
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yeuppadee_Ch_front.pdf634.11 kBAdobe PDFView/Open
Yeuppadee_Ch_ch1.pdf825.79 kBAdobe PDFView/Open
Yeuppadee_Ch_ch2.pdf562.32 kBAdobe PDFView/Open
Yeuppadee_Ch_ch3.pdf977.85 kBAdobe PDFView/Open
Yeuppadee_Ch_ch4.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Yeuppadee_Ch_ch5.pdf800.73 kBAdobe PDFView/Open
Yeuppadee_Ch_back.pdf806.03 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.