Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2375
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสันติ ฉันทวิลาสวงศ์-
dc.contributor.authorชนาธิป พันทวี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-09-06T08:49:04Z-
dc.date.available2006-09-06T08:49:04Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745314951-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2375-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทาลัย, 2547en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ เป็นการศึกษา "คำ" ที่ช่างในอดีตใช้อธิบายลักษณะสถาปัตยกรรมไทย โดยเน้นเฉพาะคำที่เกี่ยวเนื่องกับ "พื้นที่" ในพุทธสถาน เพื่อทำความเข้าใจ แนวคิด และ ลักษณะพื้นที่ในงานสถาปัตยกรรม ที่เกี่ยวเนื่องกับคำเหล่านั้น วิธีดำเนินงานวิจัย ใช้การศึกษาข้อมูลเชิงเอกสาร โดยเอกสารสำคัญที่ใช้ในการศึกษาสืบค้นคำ จะพิจารณาจากพระนิพนธ์ในสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรนุวัดติวงศ์ เป็นหลัก เมื่อได้คำสำคัญที่ใช้ในงานวิจัย จะทำการศึกษาพจนานุกรม ครอบคลุมตั้งแต่ฉบับบุกเบิกจนถึงปัจจุบัน เพื่อเปรียบเทียบความหมายของคำในบริบทต่างๆ จากนั้นจะนำคำเหล่านี้ไปใช้เป็น "กรอบ" ในการศึกษาลักษณะสถาปัตยกรรมในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับคำ และทำการวิเคราะห์ อภิปราย เรื่องลักษณะไทย ต่อไป ขอบเขตงานวิจัยนี้ ไม่ได้เน้นจำนวนคำ แต่จะใช้ คำสำคัญบางคำ เป็นกรอบในการพิเคราะห์ลักษณะสำคัญของพื้นที่ในพุทธสถาน เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจ "ลักษณะไทยในอดีต" เป็นหลัก โดยคำที่ใช้ในการศึกษา ประกอบไปด้วยคำว่า ระเบียง เฉลียง พะไล ชาน ชาลา ลาน คด สีมา ฝา ผนัง กำแพงแก้ว ห้อง จากการศึกษา พบว่าคำบางคำ สะท้อนลักษณะพื้นที่ในทำนองเดียวกัน และบางคำก็สื่อลักษณะเฉพาะของพื้นที่ แตกต่างไปจากคำอื่นๆ ซึ่งในที่นี้สามารถจำแนกกลุ่มคำได้เป็น 6 กลุ่ม คือ 1. ระเบียง เฉลียง พะไล เป็นพื้นที่ส่วนที่ต่อจากอาคาร มีหลังคาคลุม 2. ชาน ชาลา ลาน เป็นพื้นที่ภายนอกอาคารหรือพ้นออกไปจากแนวเขต ไม่มีหลังคาคลุม 3. ระเบียง คด เป็นพื้นที่ล้อมรอบประธานสำคัญในพุทธสถาน 4. สีมา เป็นพื้นที่สมมติเพื่อใช้ในการสังฆกรรม ตามพระวินัย 5. ฝา ผนัง กำแพงแก้ว ไม่ได้แสดงพื้นที่ แต่ใช้เป็นเครื่องกั้นกำหนดพื้นที่ 6. ห้อง เป็น "ส่วน" ของพื้นที่ในลักษณะต่างๆ ซึ่งมีขอบเขตและเส้นแบ่งพื้นที่ชัดเจน นอกจากนี้ จากการศึกษา พบข้อสังเกตว่า คำ ที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นที่เฉพาะสำคัญในพุทธสถาน แต่ละคำจะใช้อธิบาลักษณะพื้นที่ในแต่ละส่วนที่มี "ขอบเขต" และ "เส้นแบ่ง" ที่ชัดเจน ซึ่งพื้นที่ในแต่ละส่วนนั้น ก็จะสะท้อน "ความหมาย" และ ลักษณะ "การใช้พื้นที่" แตกต่างกัน อาทิ 1. ระเบียงคด แสดงขอบเขตและเส้นแบ่งชัดเจน ในลักษณะปิดล้อมรอบประธานสำคัญในพุทธสถาน เพื่อสื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์ พื้นที่ในคติจักรวาล 2. สีมา มีขอบเขตและ เส้นแบ่งที่เกิดจากการกำหนด เครื่องหมายเขต โดยสีมาเป็นพื้นที่ซึ่งต้องปฏิบัติตามกฎข้อบัญญัติในพระวินัย เป็นเขตแดนศักดิ์สิทธิ์ที่สะท้อน ความหมาย และการใช้พื้นที่ แตกต่างไปจากภายนอกอย่างชัดเจน 3. กำแพงแก้ว ทำหน้าที่เป็นเส้นแบ่ง กั้นลัอมพื้นที่ เพื่อสื่อความหมายว่าภายในขอบเขตกำแพงนั้น เป็นพื้นที่สำคัญในพุทธสถาน 4. ฝา ผนัง เป็นเส้นแบ่งกั้นล้อมพื้นที่สำคัญ ซึ่งทำให้เกิด ห้อง ที่มีขอบเขตชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับ ห้อง ที่เป็นพื้นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปฏิมาประธาน จะสื่อความหมายว่าห้องนั้น คือ "พระคันธกุฎี" ที่ประทับแห่งพระพุทธองค์ ผู้ทรงเป็นประธาน ณ ที่แห่งนั้น เมื่อนำข้อสังเกตเรื่องคำที่ได้จากการวิจัย ไปทำการวิเคราะห์ ประกอบกับการศึกษา แนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ ว่าด้วยเรื่อง "พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์" ซึ่งเป็นมุมมองที่สะท้อนให้เห็น ลักษณะร่วมของพื้นที่ทางศาสนา ตามโลกทัศน์เดิมในอดีตของมนุษย์ และศึกษามุมมอง "พื้นที่ในคติไทย" เพื่อเข้าใจโลกทัศน์เรื่องพื้นที่ของไทยในอดีต ที่แตกต่างไปจากพื้นที่ในคติปัจจุบัน ซึ่งจากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล ในที่นี้สามารถสรุปลักษณะสำคัญของพื้นที่ในพุทธสถานได้เป็นสามประการ คือ 1) พื้นที่ในพุทธสถาน มี "ขอบเขต" และ "เส้นแบ่ง" ที่ชัดเจน 2) พื้นที่ในพุทธสถาน มีการให้ "ความหมาย" ที่แตกต่างกัน 3) พื้นที่ในพุทธสถาน มี"ลำดับความสำคัญ" ในการใช้พื้นที่ และมี "กฎ" ในการปฏิบัติต่างกัน ลักษณะสำคัญทั้งสามประการ สะท้อนให้เห็นว่า พื้นที่ในคติไทยหรือพื้นที่ในพุทธสถาน (ตามกรอบโลกทัศน์เดิม) แต่ละพื้นที่จะต้องมีการนิยาม และ คำเป็นสัญลักษณะเพื่อสื่อลักษณะของพื้นที่นั้น ในบทสุดท้ายของงานวิจัย เป็นการนำข้อสรุปลักษณะสำคัญของพื้นที่ มาใช้เป็นกรอบในการพิเคราะห์ อภิปราย ในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นที่ในคติปัจจุบัน ตามกรอบโลกทัศน์แบบสมัยใหม่ ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะพื้นที่ในพุทธสถาน จนทำให้ลักษณะไทยบางประการหายไป และเสนอแนะแนวทางสำหรับการวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้องต่อไปen
dc.description.abstractalternativeThis research studies 'architectural terms' used by Thai architects in the past to explain Thai architecture. To understand the concept and characteristics of architectural space, the research specifically focuses on the terms that relate to 'space' in Thai Buddhist Architecture. The writings of Prince Krom Phraya Narisranuwattiwong provided most of the corpus used in this study. After key terms were selected from this corpus, older older editions of currently used dictionaries were gathered for the comparative analyzes of the terms' meanings indifferent contexts. Later, these terms were used to build a framework for the study of the various dimensions of Thai architecture which was used as a basis for the analysis and discussion of various characteristics of Thai architecture. This study focuses on the key terms which have been used to identify the significant aspects of the space in Buddhist architecture and which can bring about an understanding of the characteristics of Thai style in the past. These keyterms include Rabiang, Chaliang, Phalai, Chan, Chala, Lan, Khot, Sima, Fa, Phanang, Kamphangkeow, and Hong. The study found that certain terms are used to refer to more general characteristics of space, while others more specific characteristics of space. These terms can be divided into six groups as follows: - Rabiang, Chaliang, and Phalai which refer to the covered-space that extends from a building. Chan, Chala, and Lan are used to refer to the outside space or the space beyond a boundary line with no roof. Rabiang, and Khot which are used to refer to the enclosed space surrounding the main building of Buddhist building clusters. Sima which is used to refer to the conceptual space needed in official Buddhist ceremonies as written in the Buddhist monk disciplinary rules. Fa, Phanang, and Kamphangkeow which are used to refer to a boundary of specific area, but not to indicate the area itself. Hong which is used to refer to a partition of a specific space with an obvious boundary. In addition, it is found that each term indicating specific and significant space in Buddhist temple grounds is uded to illustrate space with a clear specified boundary or line. Different space is also a matter of different definitions and different utilization: - Rabiang Khot is used to refer to the clear boundary that surrounds the main building of the Buddhist temple grounds to indicate the symbolic meaning of the space in Buddhist cosmology. Sima is uded to refer to a boundary line specified by a symbolic indication, and more specifically a restricted area where disciplinary rules are strictly enforce and which is considered as a sacred area that obviously reflects different meanings and utilization. Kamphangkeow is used to refer to a boundary that surrounds an area to distinguish the interior space as a distinctive area in the Buddhist temple grounds. Fa and Phanang are used to refer to a boundary of a distinctive area that forms a room or Hong with clear borders, or a room for the Buddha image in particular, to indicate "Khanthakudi" a room for the Lord Buddha as the master of the room. An analysis of the implication of the terms and the conceptual and theoretical study of "sacred space" in Thai Buddhism reveals some of the contemporary characteristics of Buddhist space according to the 'ancient worldviews' which differ from current ones. It can be concluded from the study that there are three important characteristics of space in Buddhist architecture as follows: 1. Space in Buddhist architecture has a clear "area" and "boundary" 2. Space in Buddhist architecture has different meanings. 3. Space in Buddhist architecture has a hierarchical order of usage. These three important characteristics show that space in Thai Buddhist architecture, following ancient worldviews, needs special definitions and terms to characterize particular types of space. The last chapter of the study presents how important characteristics of space were developed into a framework for the analysis and discussion of matters related to space in current worldviews. These modern worldviews have influenced changes in the characteristics of space in Buddhist architecture and caused the loss of some unique Thai characteristics. Recommendations for further study are also provided.en
dc.format.extent9340404 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทาลัย,en
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.262-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectภาษา--แง่ศาสนาen
dc.subjectสถาปัตยกรรมไทยen
dc.subjectภาษาไทย -- คำและวลีen
dc.titleลักษณะไทยในพุทธสถาน : การศึกษา คำen
dc.title.alternativeCharacteristics of Thai Buddhist architecture : a study of termsen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorchsanti@hotmail.com, Santi.C@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.262-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chanatip.pdf9.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.