Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23781
Title: การตีความความคิดเกี่ยวกับระบบจิต-กายของเดส์การ์ตส์
Other Titles: Interpretation of descartes' view on the mind-body system
Authors: ประสิทธิ์ ฤกษ์พิศุทธิ์
Advisors: ริชาร์ด อี. ไดค์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดประสงค์ของวิจัยนี้เพื่อจะตีความความคิดเกี่ยวกับระบบจิต-กายของเดส์การ์ตส์เอกสารที่ใช้ในการวิจัยส่วนใหญ่ จะได้จากงานเขียนของเดส์การ์ตส์ แปลเป็นภาษาอังกฤษ โดย อลิซาเบท เอส. ฮาล์เดน และ จี. อาร์. ที. รอสส์ เอกสารอื่นได้แก่หนังสือของนักปรัชญาร่วมสมัยที่มีชื่อเสียงมาก ได้แก่ แอนโทนี่ เคนนี, เบอร์นาร์ด วิลเลียมส์, อี. เอ็ม. เคอร์เลย์ และมาร์กาเร็ท ดี. วิลสัน ขั้นตอนในการทำวิจัยนี้ เริ่มโดยประการแรกศึกษางานของเดส์การ์ตส์ ประการที่สอง ศึกษาจากหนังสือการตีความของนักปรัชญาที่ได้เอ่ยนามมาแล้วข้างต้น หลังจากนั้นจึงนำข้อมูลที่ประมวลได้มาวิเคราะห์ และวิจารณ์ ในประเด็นเกี่ยวกับจิต ดูเหมือนว่าเดส์การ์ตส์จะกล่าวว่า จิตมีอยู่อย่างแน่นอนเป็นความจริงที่มาจากจิตโดยตรง (สหัชญาณ) แต่ในบางที่เดส์การ์ตส์พูดว่าเป็นปรัตถานุมาน แต่ในบางแห่งกลับบอกว่าเป็นการอนุมาน แต่ไม่ใช่ปรัตถานุมาน และในบางแห่งจะมีลักษณะของการพิสูจน์เป็นแบบการแสดงของจิต ผู้วิจัยเห็นด้วยกับเคนนีในประเด็นที่ว่า เราต้องแยกระหว่างความรู้กับการพิสูจน์ คือ ความรู้ความแน่นอนของจิตได้จากจิตโดยตรง แต่ที่เห็นแตกต่างกับเคนนีอยู่ที่ว่า ผู้วิจัยเห็นว่าความแน่นอนของจิตพิสูจน์ได้โดยการอนุมานแบบสูตรยืนหน้าชนิดพิเศษ ในตอนสุดท้ายของส่วนนี้ได้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า จิตมีสารัตถะ คือ การคิดและจิตที่ไม่ถูกกระทบกระเทือนจากกาย เป็นความเข้าใจบริสุทธิ์ หรือการใช้เหตุผลล้วน ๆ ในส่วนต่อมา เป็นการอภิปรายประเด็นเกี่ยวกับ “กาย” โดยประสาทสัมผัส และจินตนาการ เรามีความรู้ที่แน่นอนถึงความมีอยู่ของกายได้ แต่โดยการใช้เหตุผลเพียงอย่างเดียว ความมีอยู่ของกายเป็นเรื่องที่ไม่ชัดเจน[คลุมเครือ] และสงสัยได้ตลอดเวลาว่ากายอาจไม่มีอยู่ ด้วยเหตุนี้เดส์การ์ตส์จึงพบกับทางสองแพร่ง เขาเพียงสามารถบอกได้ว่า กายอาจมีอยู่ และเมื่อเขาพิจารณาก้อนขี้ผึ้ง พบว่าคุณสมบัติของขี้ผึ้งหรือกายที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง คือ การกินที่ และผู้วิจัยมีข้อถกเถียงว่า ลำพังการกินที่ไม่สามารถทำให้เราแยกวัตถุชิ้นหนึ่งแตกต่างจากวัตถุอีกชิ้นหนึ่งได้ ในส่วนของการแยกกันได้ของจิต-กาย การอภิปรายข้างต้นเป็นปัญหาความมีอยู่ของกายที่ยังไม่ชัดเจนและสงสัยได้ อาจเป็นไปได้ที่กายอาจไม่มีอยู่ แต่เดส์การ์ตส์ได้อ้างว่าเขามีมโนทัศน์ที่ชัดเจนแจ่มแจ้งของการแยกกันได้ของจิต-กาย สมมติว่าสิ่งที่เดส์การ์ตส์อ้างเป็นความจริง ผู้วิจัยยังยืนยันความคิดที่ว่า การแยกจากกันได้ของจิต-กายจะจริงต่อเมื่อกายมีอยู่จริงเท่านั้น หรือจะกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า กายอาจไม่มีอยู่ แต่ถ้ากายมีอยู่ จำเป็นที่จิต-กายแยกกันได้ คือ จิตมีอยู่แตกต่างจากกาย สุดท้ายผู้วิจัยได้อภิปรายต่อไปถึงปัญหาการเชื่อมโยงกันของจิต-กาย ดูเหมือนเดส์การ์ตส์ยอมรับว่า จิตทำงานที่สมองมากที่สุด หรือทฤษฎีสถาบันทางธรรมชาติ ในขณะเดียวกันเดส์การ์ต์ยอมให้จิตทำงานร่วมกับการกินที่ของกาย แต่อย่างไรก็ดีทัศนะที่แตกต่างกันของสองทฤษฎี มีปัญหาร่วมกันอันหนึ่ง คือ สิ่งที่มีสารัตถะแตกต่างกันจะมีความเชื่อมโยงกันได้อย่างไร ผู้วิจัยได้เถียงว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ และได้แสดงเหตุผลยอมรับทัศนะที่ว่า จิตทำงานที่สมองมากที่สุด เป็นทัศนะที่น่ายอมรับมากกว่า คำสรุปโดยทั่วไปของวิจัยนี้ คือ เดส์การ์ตส์มีความสับสนอยู่ในบางประเด็น และผู้วิจัยเห็นว่าสิ่งนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้นักปรัชญาตีความแตกต่างกัน
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปรัชญา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23781
ISBN: 9745633569
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prasit_Roe_front.pdf427.38 kBAdobe PDFView/Open
Prasit_Roe_ch1.pdf343.14 kBAdobe PDFView/Open
Prasit_Roe_ch2.pdf988.35 kBAdobe PDFView/Open
Prasit_Roe_ch3.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Prasit_Roe_ch4.pdf737.69 kBAdobe PDFView/Open
Prasit_Roe_ch5.pdf318.32 kBAdobe PDFView/Open
Prasit_Roe_back.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.