Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23849
Title: | การออกแบบดัดแปลงตู้คอนเทนเนอร์ใช้แล้วขนาด 20 ฟุต เพื่อใช้เป็นโรงแรมขนาดเล็ก : กรณีศึกษา โรงแรมเลอบล็อก |
Other Titles: | Modification design of a used 20-foot freight container to serve as a small hotel case study : Le Blocs Hotel |
Authors: | ธิติ พละพึง |
Advisors: | ปรีชญา สิทธิพันธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | preechaya.s@chula.ac.th |
Subjects: | คอนเทนเนอร์ -- การดัดแปลงการใช้งาน โรงแรม -- การออกแบบและการสร้าง Containers -- Remodeling for other use Hotels -- Design and construction |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การขนส่งสินค้าเป็นธุรกิจที่สำคัญและเติบโตสูง การขนส่งสินค้าต้องใช้ตู้คอนเทนเนอร์เพื่อบรรจุสินค้า การใช้ตู้คอนเทนเนอร์เมื่อถูกใช้งานระยะเวลาหนึ่ง ตัวตู้ย่อมเกิดการชำรุดเสียหายตามการใช้งานและระยะเวลา ตู้ที่ถูกปลดระวางถูกเรียกว่า “ตู้คอนเทนเนอร์ใช้แล้ว” ในอดีตจะนำตัวตู้นั้นไปกองไว้โดยไม่เกิดประโยชน์ ดังนั้น ตู้คอนเทนเนอร์ใช้แล้วควรถูกนำกลับมาใช้ใหม่โดยการปรับปรุงหรือดัดแปลง เพื่อใช้ประโยชน์เป็นอาคาร เกิดพื้นที่ใช้สอยที่มีลักษณะเฉพาะขึ้นได้ การวิจัยนี้ใช้การสำรวจโครงการอาคารกรณีศึกษาและสัมภาษณ์เจ้าของโครงการ สถาปนิก และบริษัทดัดแปลงตู้คอนเทนเนอร์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคือ 1) เพื่อศึกษาการใช้ตู้คอนเทนเนอร์ใช้แล้วสำหรับงานสถาปัตยกรรม 2) เพื่อศึกษากรณีศึกษาการออกแบบ ดัดแปลง และก่อสร้างตู้คอนเทนเนอร์ใช้แล้วเป็นโรงแรมขนาดเล็ก และการใช้อาคารโครงการโรงแรมเลอบล็อก และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการออกแบบดัดแปลงตู้คอนเทนเนอร์ใช้แล้วขนาด 20 ฟุต เพื่อใช้เป็น โรงแรมขนาดเล็ก ผลการวิจัยพบว่า ตู้คอนเทนเนอร์ใช้แล้วขนาด 20 ฟุต ที่จะนำมาใช้เป็นอาคารต้องมีสภาพเหมาะสมกับอาคารที่ออกแบบไว้แต่ละหลัง ซึ่งการออกแบบอาคารที่ถูกดัดแปลงมาจากตู้คอนเทนเนอร์ ต้องมีการวางแผนการทำการก่อสร้างที่ดี โดยแบ่งออกเป็นการดัดแปลงและการก่อสร้าง และต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเกี่ยวกับการดัดแปลงและก่อสร้างตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งต้องทำการก่อสร้างต้องอาศัยช่างผู้มีความชำนาญ ข้อเสนอแนะแนวทางการออกแบบดัดแปลงตู้คอนเทนเนอร์ใช้แล้วเพื่อใช้เป็นโรงแรมขนาดเล็กคือ จำเป็นต้องใช้ฉนวนกรุทั้งหลังคาและผนังเพื่อกันความร้อนเข้าสู่ภายในตัวอาคาร หรืออาจต้องทำหลังคา หรือระแนงบังแดดเพื่อลดความร้อนจากแสงแดดโดนผนังอาคารโดยตรง เนื่องจากความร้อนเป็นปัญหาหลักสำหรับอาคารที่ดัดแปลงและก่อสร้างมาจากตู้คอนเทนเนอร์ นอกจากนี้อาคารที่ดัดแปลงจากตู้คอนเทนเนอร์อาจเกิดปัญหาการรั่วซึมของน้ำฝน หากมีการเจาะช่องเปิดของตู้คอนเทนเนอร์เพื่อทำประตูและหน้าต่าง จึงจำเป็นต้องอาศัยช่างที่มีความชำนาญและมีความละเอียดรอบคอบ อาคารจากตู้คอนเทนเนอร์อาจเกิดสนิมได้ ซึ่งต้องมีการบำรุงดูแลรักษา เช่น การทาสีใหม่ทุกๆ ระยะ 2-3 ปี นอกจากนี้ราคาค่าก่อสร้างโดยเฉลี่ยจะสูงกว่า การสร้างอาคารแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กและผนังก่ออิฐถือปูน แต่ตัวอาคารที่ทำจากตู้คอนเทนเนอร์ใช้แล้ว เมื่อต้องการเลิกกิจการก็สามารถขายได้ หรือต้องการย้ายสถานที่ไปยังที่อื่นก็สามารถทำได้ และการนำตู้คอนเทนเนอร์ใช้แล้วมาออกแบบ ดัดแปลง และก่อสร้างเป็นอาคาร เป็นการนำวัสดุใช้แล้วมาใช้ใหม่ จึงเป็นโครงการที่ช่วยส่งเสริมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม |
Other Abstract: | The international shipping industry is currently growing at a fast rate, requiring freight containers to package a vast quantity of merchandise across the world’s oceans. After the containers have been used for a period of time and have been damaged, they are often discarded wastefully. The researcher believes that once modified into particular structures, these containers could serve as buildings. This study is based on an observation and interviews with the project owner, project architect and the modified containers company. The purposes of this study were 1) to study the history and structure of the containers 2) to study how the containers are being used for architecture 3) to study a specific example of design, modification and construction of a container turned into a small hotel: Le Bloc Hotel, and 4) to raise suggestions on design modifications for 20-foot container as a small hotel. The results showed that containers converted into buildings must be designed individually for each specific structure. The design must be planned carefully according to the modification and construction requirements. The construction requires specialists in container modification and construction, as well as skilled constructors. Specifically, we found that precise guidelines in terms of roof coverage and wall insulation were crucial in order to reduce the effect of sun heat, the most challenging problem in the conversion process. Furthermore, buildings which had been converted from freight containers may experience water leakages, particularly in times of rain, since windows and doors are not initially designed to be waterproof. In addition, the metallic nature of freight containers induces rust which requires paint maintenance every 2 to 3 years. It should be noted, however, the average construction cost will be higher than concrete building structures and brick walls, the buildings made of used containers can be sold or moved easily. Finally and most importantly, the use of recycled materials, this project is environmental friendly. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23849 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1877 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1877 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
titi_pa.pdf | 9.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.