Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2384
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | แน่งน้อย ศักดิ์ศรี | - |
dc.contributor.advisor | เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี | - |
dc.contributor.author | ธีรชัย ลี้สุรพลานนท์, 2521- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-09-06T09:42:53Z | - |
dc.date.available | 2006-09-06T09:42:53Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.isbn | 9741767099 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2384 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en |
dc.description.abstract | การศึกษาวัดในจังหวัดนครราชสีมาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งวัดกับชุมชน การวางผังบริเวณภายในวัด และลักษณะร่วมทางสถาปัตยกรรมของอาคารแต่ละประเภท อันได้แก่ พระอุโบสถ, พระเจดีย์, ศาลาโรงธรรม และกุฏิ โดยเลือกศึกษาวัดจำนวน 36 วัด ในเขตพื้นที่ 7 อำเภอ ด้วยวิธีการเก็บข้อมูลจากภาคเอกสารในเรื่องภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ของเมืองนครราชสีมา ร่วมกับการเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของวัดและชุมชน รวมถึงคติความเชื่อต่างๆ และการสำรวจรังวัดสถาปัตยกรรมที่เลือกศึกษา จากนั้นจึงวิเคราะห์ลักษณะร่วมทางสถาปัตยกรรมเพื่อนำผลที่ได้มาเป็นข้อมูลในการออกแบบและเขียนแบบผังบริเวณ, พระอุโบสถ, อนุสาวรีย์ และพระเจดีย์ ณ วัดทุ่งสัมฤทธิ์ อ. พิมาย ให้มีเอกลักษณ์ของท้องถิ่น สอดคล้องกับวิถีชีวิตและเทคโนโลยีการก่อสร้างที่เหมาะสม จากการวิเคราะห์ลักษณะร่วมทางสถาปัตยกรรมของวัดที่ทำการศึกษาพบว่า วัดส่วนใหญ่ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง ได้แก่ พระอุโบสถ, ศาลาโรงธรรม และกุฏิ อันเปรียบเสมือนตัวแทนแห่งพระพุทธพระธรรม และพระสงฆ์ ส่วนพระเจดีย์จะพบเพียงวัดที่มีความสำคัญเท่านั้น โดยตำแหน่งที่ตั้งอาคารทั้ง 3 หลัง มักอยู่ในลักษณะ "สามก้อนเส้า" ตามคติความเชื่อของท้องถิ่นที่มักจะไม่สร้างอาคารใดๆ ล้ำแนวพระประธานในพระอุโบสถและไม่ให้เงาพระอุโบสถทาบทับอาคารอื่นๆ ส่วนลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพระอุโบสถและพระเจดีย์เป็นสิ่งสำคัญที่บ่งบอกรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยพระอุโบสถที่สร้างในยุคแรกได้นำรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลายจากเมืองหลวงมาสร้างในตัวเมือง แต่ด้วยคติความเชื่อของคนพื้นถิ่นดั้งเดิมและฝีมือช่างของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานโดยเฉพาะชาวไทยอีสาน ทำให้สัดส่วนและลักษณะทางสถาปัตยกรรมบางอย่างถูกลดทอน คลี่คลายและเปลี่ยนแปลงไปจากต้นฉบับจนกลายเป็นรูปแบบที่ผสมผสานกันระหว่างสถาปัตยกรรมภาคกลางกับอีสาน ส่วนพระเจดีย์ที่พบมี 3 รูปแบบ คือ พระเจดีย์ทรงระฆัง พระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองซึ่งเป็นแบบภาคกลางและพระเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยมแบบอีสาน ส่วนศาลาโรงธรรมและกุฏิเป็นอาคารที่ตอบสนองการใช้งานซึ่งเกิดจากวัฒนธรรมการเข้าวัดและความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับคนในชุมชนซึ่งแต่ละพื้นที่มีความใกล้เคียงกัน ดังนั้นลักษณะทางสถาปัตยกรรมจึงมีความคล้ายคลึงกันโดยไม่แยกรูปแบบตามกลุ่มชาติพันธุ์แต่จะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมและเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา ส่วนสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัยที่ออกแบบโดยสถาปนิกเป็นการนำรูปแบบสถาปัตยกรรมท้องถิ่นที่สั่งสมมาตั้งแต่ในอดีตมาผสมผสานกับหลักการการออกแบบและเทคโนโลยีการก่อสร้างในปัจจุบัน อันจะเป็นแนวทางในการพัฒนาสถาปัตยกรรมไทยในจังหวัดนครราชสีมาต่อไปในอนาคต | en |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this study are to collect data about the relationship between the location of temples and communities, their layout planning and the architectural characteristics of each building type, including Ubosot, Stupa, Sala-rongtham and Gudi at 36 temples in 7 districts in Nakhon Ratchasima, or Korat. The method of study is divided into 3 phases. Firstly, data is collected from documents about geology and the history of Korat, from interviews about history of each temple and local beliefs, from field surveys and measures of the selected buildings. The data is then analysed based on architectural characteristics. Finally, this information is used to design Wat Thungsumrit, Phimai District. According to building characteristic analysis, most of the temples consist of three main buildings; Ubosot, Sala-rongtham and Gudi. A Stupa is only found at the important temples. The location of the three main buildings is arranged in a triangle, following the local belief that no building can overstep the Ubosot or fall under its shadow. Architecturally the Ubosot and Stupa are important structures that represent the national architectural style. The Ubosot in ancient Korat city was built in the late Ayutthaya architectural style that were brought from the ancient capital. However, local beliefs and different craftsmanship of the many different groups that migrated to Korat, especially from the northeast, have affected proportions and architectural elements. These were eliminated, deviated or changed from the original and evolued into a new style that combined the Central and Isan, or northeast styles. The Stupas are divided into 3 types, the bell shape, Rattanakosin style and Isan style. But the architectural characteristics of the Sala-rongtham and Gudi are not follow national influences like the Ubosot and Stupa. Because these are built to serve functions from local culture, activities and the relationship between the temple and the community, they are all very similar. These will change somewhat according to economic and social conditions. In conclusion, the study implies that contemporary Thai architecture is the application of local architectural style, combined with the modern design concepts and new technologies, which can be a guide line for developing the local architecture in Nakhon Ratchasima in the future. | en |
dc.format.extent | 97783894 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.484 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | สถาปัตยกรรมพุทธศาสนา | en |
dc.subject | วัด | en |
dc.title | การศึกษาวัดในจังหวัดนครราชสีมาเพื่อการออกแบบวัดทุ่งสัมฤทธิ์ อำเภอพิมาย | en |
dc.title.alternative | A study of Buddhist temples in Nakhon Ratchasima Province to design Wat Thungsamrit, Phimai District | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | สถาปัตยกรรม | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | 2@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2004.484 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
teerachai.pdf | 47.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.