Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23932
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาที่เจ็บป่วย ความรุนแรงของอาการ ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย การสนับสนุนทางสังคม และการปรับตัวต่อความเจ็บป่วยในวัยรุ่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดที่ได้รับเคมีบำบัด
Other Titles: Relationships between duration of illness, symptom severity, uncertainty in illness, social support, and adaptation to illness in adolescents with hematologic malignancy treated by chemotherapy
Authors: งามทิพย์ ชนบดีเฉลิมรุ่ง
Advisors: วีณา จีระแพทย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: มะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็ง -- เคมีบำบัด
มะเร็ง -- ผู้ป่วย
Leukemia
Cancer -- Chemotherapy
Cancer -- Patients
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ระยะเวลาที่เจ็บป่วย ความรุนแรงของอาการ ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย การสนับสนุนทางสังคม และการปรับตัวต่อความเจ็บป่วยในวัยรุ่นโรคมะเร็งเม็ดเลือดที่ได้รับเคมีบำบัด จำนวน 100 ราย โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามการปรับตัวต่อความเจ็บป่วย ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ หาความเที่ยงโดยวิธีแอลฟาครอนบาค มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .74, .87 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. การปรับตัวต่อความเจ็บป่วยในวัยรุ่นโรคมะเร็งเม็ดเลือดที่ได้รับเคมีบำบัดอยู่ในระดับดี ( = 3.52, SD = 3.41) 2. ระยะเวลาที่เจ็บป่วยและการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปรับตัวต่อความเจ็บป่วยในวัยรุ่นโรคมะเร็งเม็ดเลือดที่ได้รับเคมีบำบัด (r = .256, .638, p < .05) ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยมีความสัมพันธ์ทางลบกับการปรับตัวต่อความเจ็บป่วยในวัยรุ่นโรคมะเร็งเม็ดเลือดที่ได้รับเคมีบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.325, p < .05) ความรุนแรงของอาการไม่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวต่อความเจ็บป่วยในวัยรุ่นโรคมะเร็งเม็ดเลือดที่ได้รับเคมีบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การสนับสนุนทางสังคมและระยะเวลาที่เจ็บป่วยสามารถร่วมกันพยากรณ์การปรับตัวต่อความเจ็บป่วยในวัยรุ่นโรคมะเร็งเม็ดเลือดที่ได้รับเคมีบำบัดอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ได้ร้อยละ 44.5 (R2 = .445) สร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานดังนี้ การปรับตัวต่อความเจ็บป่วยในวัยรุ่นโรคมะเร็งเม็ดเลือดที่ได้รับเคมีบำบัด = .619 Z1 การสนับสนุนทางสังคม + .914 Z2 ระยะเวลาที่เจ็บป่วย
Other Abstract: The purposes of this descriptive research were to study the relationships between duration of illness, symptom severity, uncertainty in illness, social support and adaptation to illness in adolescents with hematologic malignancy treated by chemotherapy. Subjects consisted of 100 adolescents with hematologic malignancy treated by chemotherapy and were multistage random sampling. Research instruments were personal factors, uncertainty in illness, social support, adaption to illness questionnaires which were tested for content validity and reliability which were .74, .87 and .88 respectively. Statistical methods used to analyse the data include mean, standard deviation, Pearson ‘ s correlation and multiple regression analysis. Major findings were as follows: 1. Adaptation of adolescents with hematologic malignancy treated by chemotherapy was at a high level. ( = 3.52, SD = 3.41) 2. Duration of illness and social support were significantly positive correlated with adaptation of adolescents with hematologic malignancy treated by chemotherapy. (r = .256, .638, p < .05). Uncertainty in illness was significantly negative correlated with adaptation of adolescents with hematologic malignancy treated by chemotherapy. (r = -.325, p < .05). Symptom severity was not correlated with adaptation of adolescents with hematologic malignancy treated by chemotherapy. 3. Social support and duration of illness were the variables that significantly predicted adaptation of adolescents with hematologic malignancy treated by chemotherapy at a level of .05. These predictive power was at 45.5(R2 = 0.445) of the variance. The standardized prediction equation is: Adaptation to illness in adolescents with hematologic malignancy treated by chemotherapy = .619 Z1 social support + .914 Z2 duration of illness
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23932
ISBN: 9741725272
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ngamtip_ch_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ3.34 MBAdobe PDFView/Open
Ngamtip_ch_ch1.pdfบทที่ 15.47 MBAdobe PDFView/Open
Ngamtip_ch_ch2.pdfบทที่ 226.82 MBAdobe PDFView/Open
Ngamtip_ch_ch3.pdfบทที่ 33.51 MBAdobe PDFView/Open
Ngamtip_ch_ch4.pdfบทที่ 43.87 MBAdobe PDFView/Open
Ngamtip_ch_ch5.pdfบทที่ 58.69 MBAdobe PDFView/Open
Ngamtip_ch_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก15.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.