Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23953
Title: ผลการลดระดับฟอสเฟตในซีรัมที่มีต่อระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์ในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและมีภาวะฮอร์โมนส์พาราไทรอยด์ในเลือดสูง
Other Titles: Effect of serum phosphate reduction on serum parathyroid hormone in hemodialysis patients with hyperparathyroidism
Authors: จารุณี วงศ์วัฒนาเสถียร
Advisors: สมฤทัย วัชราวิวัฒน์
สุขฤทัย เลขยานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์ในเลือดสูง เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยระดับฟอสเฟตในซีรัมที่สูงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระตุ้นการสร้างและหลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์จากต่อมพาราไทรอยด์ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการลดลงของระดับฟอสเฟตในซีรัมและการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์ชนิดไปข้างหน้าในกลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่หน่วยไตเทียม มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย ณ ตึกกัลยาณิวัฒนา โรงพยาบาลสงฆ์ การศึกษาครั้งนี้ดำเนินงานระหว่างเดือนกันยายน 2545 ถึงมีนาคม 2546 ผู้ป่วยฟอกเลือดที่มีระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูงกว่า 200 pg/ml และระดับฟอสเฟตในซีรัมสูงกว่า 5.5 mg/dl จะได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษา ซึ่งผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษามีจำนวนทั้งสิ้น 19 รายมีอายุระหว่าง 22-53 ปี ผู้ป่วยที่เข้าร่วมการวิจัยจะได้รับการแก้ไขภาวะเลือดมีฟอสเฟตเกินตามแนวทางที่กำหนด ค่าเฉลี่ยระดับฟอสเฟตในซีรัมของผู้ป่วยมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จาก 7.05 ± 1.56 mg/dl เป็น 4.19 ± 1.50 mg/dl (p < 0.05) ในเดือนที่ 3 และลดลงเป็น 4.22 ± 1.42 mg/dl (p < 0.05) ในเดือนที่ 6 หลังการใช้แนวทางการแก้ไขภาวะเลือดมีฟอสเฟตเกิน แต่ค่าเฉลี่ยระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 40 จากระดับพื้นฐาน) หลังการใช้แนวทางการแก้ไขภาวะเลือดมีฟอสเฟตเกินเป็นเวลา 6 เดือน โดยลดลงจาก 549.85 ± 219.91 pg/ml เป็น 313.93 ± 166.16 pg/ml (p < 0.05) การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงเส้นพบว่า ค่าร้อยละของการลดลงของระดับฟอสเฟตในซีรัมมีความสัมพันธ์กับค่าร้อยละของการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์ โดย r = 0.478, R2 = 0.228 (p < 0.05) ที่เวลา 3 เดือน r = 0.473, R2 = 0.224 (p < 0.05) ที่เวลา 6 เดือนหลังใช้แนวทางการแก้ไขภาวะเลือดมีฟอสเฟตเกินที่กำหนด และสมการความถดถอยคือร้อยละการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์ = 0.796 x (ร้อยละการลดลงของระดับฟอสเฟตในซีรัม) -24.02 และร้อยละการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์ = 0.658 x (ร้อยละการลดลงของระดับฟอสเฟตในซีรัม) + 16.35 ตามลำดับ
Other Abstract: Secondary hyperparathyroidism is a common complication found in patients with end-stage renal disease. High serum phosphate (PO4) content markedly influences synthesis and secretion of parathyroid hormone from parathyroid gland. To evaluate the relationships between serum phosphate reduction and changing of parathyroid hormone in hemodialysis patients, a perspective correlation study was conducted. Patients who undergoing hemodialysis at hemodialysis unit, the kidney foundation of Thailand at galayanivadhana building the Priests hospital participated in this study. The study was carried out from September 2002 to March 2003. Hemodialysis patients with parathyroid hormone (iPTH) level > 200 pg/ml and PO4 levels > 5.5 mg/dl were included in this study. There were 19 patients, aged 22-53 years old. The guidelines for hyperphosphatemia management were developed and used in these patients. The mean PO4 level decreased significantly from 7.05 ± 1.56 mg/dl to 4.19 ± 1.50 mg/dl (p < 0.05) at 3 months and decrease to 4.22 ± 1.42 mg/dl at 6 months after guideline implementation. However, significant reduction (40% from baseline) of mean iPTH from 549.85 ± 219.91 pg/ml to313.93 ± 166.16 pg/ml was seen after 6 months of guideline application. Using linear regression analysis, percent reduction of PO4 from baseline correlated with percent change of iPTH from baseline, r = 0.478, R2 = 0.228 (p < 0.05) at 3 months and r = 0.473, R2 = 0.224 (p < 0.05) at 6 months after guideline implementation. The linear equations are %changing of iPTH = 0.796 x (%reducing of PO4) -24.02 and %changing of iPTH = 0.658 x (%reducing of PO4) + 16.35, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23953
ISBN: 9741729363
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Charunee_wo_front.pdf4.11 MBAdobe PDFView/Open
Charunee_wo_ch1.pdf2.57 MBAdobe PDFView/Open
Charunee_wo_ch2.pdf11.12 MBAdobe PDFView/Open
Charunee_wo_ch3.pdf4.24 MBAdobe PDFView/Open
Charunee_wo_ch4.pdf9.93 MBAdobe PDFView/Open
Charunee_wo_ch5.pdf4.37 MBAdobe PDFView/Open
Charunee_wo_back.pdf14.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.