Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23984
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กับองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง : การสังเคราะห์งานวิจัยเชิงปริมาณ
Other Titles: The relationship between learning achievement and its related factor : a research quntitative synthesis
Authors: ยุวดี บุณยศรีสวัสดิ์
Advisors: อุทุมพร จามรมาน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
สมรรถภาพทางสมอง
ทัศนคติ
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การสังเคราะห์งานวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาไทย ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษากับองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง 7 ด้าน คือ สมรรถภาพทางสมอง ความถนัดทางการเรียน ความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการแก้ปัญหา ทัศนคติต่อวิชา ขนาดของโรงเรียน และการศึกษาของบิดามารดา โดยศึกษาจากงานวิจัยของหน่วยราชการและวิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิตขึ้นไปในประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2526 ผู้วิจัยได้ใช้แบบสรุปลักษณะรายละเอียดงานวิจัยซึ่งสร้างขึ้นเองช่วยในการจดบันทึกลักษณะของงานวิจัย ตลอดจนรายละเอียดต่างๆ ที่จำเป็นในการสังเคราะห์งานวิจัย และใช้แบบประเมินงานวิจัยของศาสตราจารย์ ดร.อุทุมพร จามรมาน ซึ่งดัดแปลงมากจาก Isacc, S. and Michael โดยผู้วิจัยได้นำการพัฒนาเพิ่มเติมและหาความเชื่อถือได้ก่อนนำไปใช้จริง แบบประเมินงานวิจัยด้วยตนเองนี้ช่วยในการคัดเลือกงานวิจัยและวิทยานิพนธ์จำนวน 118 เล่ม ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยเลือกเอาเฉพาะเรื่องที่มีคุณภาพและเชื่อถือได้ในทางสถิติมาศึกษาเพียง 87 เล่ม ซึ่งเมื่อนับจำนวนค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พบว่ามีจำนวน 559 ตัว ทั้งนี้เพราะงานวิจัยบางเล่มมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์หลายค่า และได้ทำการตรวจสอบความเชื่อถือได้ของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 559 ตัว ก่อนนำไปสังเคราะห์ โดยตรวจสอบความคลาดเคลื่อนจากการวัด และความคลาดเคลื่อนจากการสุ่ม ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 559 ตัว เป็นสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่เชื่อถือได้ และนำมาสังเคราะห์ได้ทั้งหมด โดยใช้การสังเคราะห์งานวิจัยเชิงปริมาณแบบการวิเคราะห์เมตต้าตามแนวคิดของสมิดท์–ฮันเตอร์ (Schmidt-Hunter) ซึ่งผู้วิจัยทำการสังเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ความแปรปรวนของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ค่าเฉลี่ยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง 7 ด้าน ต่างมีความสัมพันธ์ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01ทุกค่า 1.1) ความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3 วิชา กับองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง 7 ด้าน ในระดับประถมศึกษากับมัธยมศึกษา จากจำนวนสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 559 ตัว มีค่าเฉลี่ย .5043 มีความแปรปรวน .0137 และมีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และยังพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีความสัมพันธ์สูงสุดกับความสามารถในการแก้ปัญหา (r = .6771) และต่ำสุดกับความคิดสร้างสรรค์ (r = .2706) ในขณะที่องค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง 7 ด้าน มีความสัมพันธ์สูงสุดกับผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาไทย (r = .5102) รองลงมาคณิตศาสตร์ (r = .4846) และต่ำสุดคือวิทยาศาสตร์ (r = .4361) 1.2) เมื่อแยกพิจารณาแต่ละระดับพบว่า ค่าเฉลี่ยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ต่างมีความสัมพันธ์ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และในระดับประถมศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีความสัมพันธ์สูงสุดกับความถนัดทางการเรียน ในขณะที่ระดับมัธยมศึกษามีความสัมพันธ์สูงสุดกับการแก้ปัญหา ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีความสัมพันธ์ต่ำสุดกับความคิดสร้างสรรค์ทั้ง 2 ระดับ (ประถมศึกษากับมัธยมศึกษา) 2) เปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง 7 ด้านพบว่า ระดับการศึกษา 2 ระดับ คือ ประถมศึกษากับมัธยมศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 แต่ภายในวิชา 3 วิชา และภายในองค์ประกอบ 7 ด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: To synthesize quantitatively the relationship between learning achievement in mathematics, science and Thai at primary and secondary educational levels and its seven related factors The seven related factors were mental abilities, scholastic aptitude, creative thinking, problem solving ability, attitude toward subject, school size and parental education The synthesis was conducted by gathering papers from both government offices and university libraries in Thailand from 1964 to 1983. The available research works were examined with respect to their validity and reliability. The 118 researches and theses were finally used for synthesis. Among them were 559 correlation coefficients being presented. The reliability and validity of these correlation coefficients were again examined and synthesized by computing the mean and variance of correlation coefficients. The results were as follows: 1.The average relationship among all correlation coefficient was .5043 and its variance was .0137. This figure was significant at the .01 level. 2. The average relationship between learning achievement and each of seven factors was 2.1 mental abilities (r = .5764) 2.2 scholastic aptitude (r = .5297 ) 2.3 creative thinking (r = .2706) 2.4 problem solving ability (r = .6771) 2.5 attitude toward subject (r = .3213) 2.6 school size (r = .2907) 2.7 parental education (r = .2811). The relationship between learning achievement and each of seven factors was significant at .01 level and that learning achievement related most to problem solving ability (r = .6771) and least to creative thinking (r = .2 706) 3. The average relationship between learning achievement and all seven factors was 3.1 at primary (r = .579 7) 3.2 at secondary (r = .412 7). At each level the mean of correlation coefficient between learning achievement and its related factors both at primary and secondary levels related in the positively statistical significance at .01 levels. At the primary level learning achievement related most to scholastic aptitude, but at the secondary level it related most to problem solving; learning achievement related least to creative thinking at both the primary and secondary levels. 4. The average relationship between all seven factors and learning achievement was 4.1 mathematics (r = .4846) 4.2 science (r = .4361) 4.3 Thai (r = .5102). The seven related factors related most to learning achievement in Thai (r = .5102), second to most to mathematics (r = .4846), and least to science (r = .4361). 5. The comparison of correlation coefficient between learning achievement and that of the seven factors, at the primary and secondary levels there was a statistically significant difference at .05 levels, but within the three subjects and the related factors it was not a statistically significant difference at .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23984
ISBN: 9745663794
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yuwadee_Bu_front.pdf526.73 kBAdobe PDFView/Open
Yuwadee_Bu_ch1.pdf718.57 kBAdobe PDFView/Open
Yuwadee_Bu_ch2.pdf664.9 kBAdobe PDFView/Open
Yuwadee_Bu_ch3.pdf920.5 kBAdobe PDFView/Open
Yuwadee_Bu_ch4.pdf464.26 kBAdobe PDFView/Open
Yuwadee_Bu_ch5.pdf673.66 kBAdobe PDFView/Open
Yuwadee_Bu_back.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.