Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24028
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมบูรณ์ อินทร์ถมยา | - |
dc.contributor.author | สุรศักดิ์ เขตชัยภูมิ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-11-14 | - |
dc.date.available | 2012-11-14 | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24028 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้โปรแกรมการออกกำลังกายแบบฟูลบอดี้เอ๊กเซอร์ไซส์ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีระดับสมรรถภาพที่สัมพันธ์กับสุขภาพต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และเพื่อเปรียบเทียบระดับสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีสมรรถภาพที่สัมพันธ์กับสุขภาพต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้โปรแกรมการออกกำลังกายแบบฟูลบอดี้เอ๊กเซอร์ไซส์ กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 - 3 ในสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขต 1 อายุระหว่าง 12-15 ปี จำนวน 40 คน โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 20 คน เป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ทำการวัดสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพกับกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโครงการ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆ ละ 60 นาที (ช่วงอบอุ่นร่างกาย 5 นาที การออกกำลังกาย 45 นาที ช่วงผ่อนคลายกล้ามเนื้อ 5 นาที และช่วงสรุปผล 5 นาที) แล้วนำผลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า “ที” (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีค่าสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพหลังการทดลองในทุกรายการทดสอบดีกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพดีกว่ากลุ่มควบคุมหลังการทดลอง ในเรื่องของดัชนีมวลกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า กิจกรรมการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้โปรแกรมการออกกำลังกายแบบฟูลบอดี้เอ๊กเซอร์ไซส์ ทำให้ระดับสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพต่ำกว่าเกณฑ์ดีขึ้น | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to study and to compare the effect of physical education learning management by using a full-body exercise on health-related physical fitness of the lower secondary school students, the subjects were 40 students; aged between 12 – 15 years old. They were divided equally into two groups: control group were 20 students and the experimental group were 20 students. Health-related physical fitness was measured before and after the experiment. The experimental group exercised for 60 minutes a day (warmed up 5 minutes; worked out 45 minutes; cooled down 5 minutes; summary 5 minutes), and 3 days a week. The obtained data were statistically analyzed in term of the means and standard deviations. The t-test was employed to determine the significant differences at .05 levels. The results were as follows: 1. After experimental in 8 weeks, health-related physical fitness in the experimental group were developed better than before experiment all the test items at the significant difference at the .05 level. 2. After experimental in 8 weeks, health-related physical fitness of the experimental group was developed better than the control group in the test item of body mass index at the significant difference at .05 level. Conclusion: Physical education learning management by using a full-body exercise program could be improved health-related physical fitness of the lower secondary school students lower standard criteria. | en |
dc.format.extent | 4844318 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1829 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | พลศึกษา -- การศึกษาและการสอน | en |
dc.subject | การออกกำลังกาย | en |
dc.subject | นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น -- สุขภาพ | en |
dc.subject | สมรรถภาพทางกาย | en |
dc.title | ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้โปรแกรมการออกกำลังกายแบบฟูลบอดี้เอ๊กเซอร์ไซส์ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น | en |
dc.title.alternative | The effects of physical education learning management using a full body exercise program on health-related physical fitness of lower secondary school students | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สุขศึกษาและพลศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Somboon.I@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.1829 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
surasak_kh.pdf | 4.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.