Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24067
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธีรชัย กำภู ณ อยุธยา | |
dc.contributor.author | ปราณี นันทเสนามาตร์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-14T06:55:24Z | |
dc.date.available | 2012-11-14T06:55:24Z | |
dc.date.issued | 2523 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24067 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523 | en |
dc.description.abstract | จุดมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษานี้ คือ การศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงของอำเภอเมืองสมุทรปราการ ว่าเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างไร และเป็นเพราะเหตุใด ทั้งนี้เพื่อเสนอแนะแนวทางการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมให้กับอำเภอ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ได้ดำเนินการศึกษา ดังนี้ คือ 1. ศึกษาสภาพของอำเภอเมืองสมุทรปราการทั้งในอดีต และปัจจุบัน 2. ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของอำเภอ ในด้านการใช้ที่ดิน ประชากร และโครงสร้างทางเศรษฐกิจ 3. หาปัจจัยแห่งการเปลี่ยนแปลง เพื่อทราบว่ามีปัจจัยอะไรที่ส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 4. สรุปปัญหาที่เกิดขึ้น และแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลง เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขที่เหมาะสม จากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของอำเภอเมืองสมุทรปราการ พบว่าอำเภอเมืองสมุทรปราการได้มีการเปลี่ยนแปลงจากชุมชนเกษตรเป็นชุมชนอุตสาหกรรม ทำให้พื้นที่ทางการเกษตรกรรมลดลง และพื้นที่ชุมชนเมืองขยายตัวขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไปในด้านที่ดินเพื่อพักอาศัย และอุตสาหกรรม ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากรนั้น เป็นผลจากการอพยพข้าวของประชากรมากที่สุด และการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ ก็เป็นผลจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมการผลิตมากที่สุด เพราะมีผลตอบแทนสูง และใช้แรงงานมาก ทำให้แรงงานส่วนใหญ่มีงานทำ ส่วนปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นผลจากการที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมในอำเภอเมืองสมุทรปราการ และระบายความแออัดของกรุงเทพมหานคร ทำให้ต้องจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกให้พร้อมเพรียง ทั้งในด้านการขนส่งและไฟฟ้า ประปา เพื่อดึงดูดให้อุตสาหกรรมมาตั้งในอำเภอเมืองนั่นเอง จึงเห็นได้ว่าเบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง คือ การนำเอาอุตสาหกรรมเข้ามาในอำเภอเมืองสมุทรปราการ โดยมีปัจจัยด้านสภาพที่ตั้ง และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เป็นเครื่องสนับสนุน ผลจากการเปลี่ยนแปลงนี้ ทำให้อำเภอเมืองสมุทรปราการมีรายได้ดีขึ้น มีแหล่งงาน และมีประชากรเพิ่มขึ้น เมืองขยายตัวอย่างรวดเร็ว เกิดศูนย์กลางความเจริญขึ้นใหม่ที่สุขาภิบาลสำโรงเหนือ จากเดิมที่มีศูนย์กลางที่ปากน้ำเพียงแห่งเดียว และขณะเดียวกันก็ทำให้มีการบุกรุกพื้นที่ทางเกษตรกรรมมากขึ้น มีการใช้ที่ดินปะปนกัน และเกิดปัญหาสภาพแวดล้อมขึ้น นอกจากนี้ การขยายตัวของประชากรที่อพยพเข้ามาจากท้องถิ่นอื่น ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงานในชนบท และในเมืองเองก็เกิดปัญหาคนว่างงาน เพราะมีคนงานมากกว่าแหล่งงาน อันก่อให้เกิดปัญหาสังคมนานาประการ จากการค้นพบดังกล่าว เห็นสมควรปรับปรุงสภาพแวดล้อมโดยการกำหนดเขตการใช้ที่ดินให้เป็นสัดส่วน เพื่อป้องกันการขยายตัวของอุตสาหกรรม ปะปนกับย่านชุมชน และเกษตรกรรม อันจะก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ และเพื่อป้องกันความแออัดของประชากรเสียแต่ต้นมือ จึงควรได้มีการลดอัตราการเพิ่มของประชากร โดยวิธีธรรมชาติ และลดการอพยพเข้าของประชากรให้น้อยลงด้วย โดยรัฐบาลต้องส่งเสริมให้เกิดความเจริญในภูมิภาคอื่นด้วย อนึ่ง เพื่อให้ประชากรมีการกินดีอยู่ดี และมีงานทำ กิจกรรมที่ควรส่งเสริมให้มีการขยายตัวสูงก็คือ การอุตสาหกรรม โดยส่งเสริมการผลิตที่ใช้วัตถุดิบจากการเกษตรกรรมเป็นปลัก และจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรม ทั้งในด้านวัตถุดิบ การขนส่ง และสาธารณูปโภค | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this thesis is to study about the change of Amphoe Muang Samut Prakan from the past, and to find out the main factors of changing in order to suggest a proper future development. To achieve the objective, the following steps have been undertaken : a. To study the past and present condition of Amphoe Muang Samut Prakan. b. To study the change of Amphoe Muang Samut Prakan in the area of land use, population and economic structure. c. To find out the factors supporting these changes. d. To conclude the problems and suggest the proper solution to solve them. After analyzing the change of Amphoe Muang Samut Prakan we found that agricultural land use has slowly given way to urban land use particularly for residential and industrial purpose. For the population growth, the immigration of people has played the most important role. And the change of economic structure is resulting from the manufacturing growth which increase income and employment. The important factor of these changes is due to the government policy of promoting industries in Amphoe Muang Samut Prakan in order to lessen the population density in Bangkok. To accommodate and attract the new investor to Amphoe Muang Samut Prakan, the government has provided proper transportation, electricity and water works. Thus, it does not only bring in the new investors but also people and various activities which make grow to the Amphoe. The result of the change has formed a new central business district at Samrong Nua, the second business center next to Paknam Center. On the other hand this change has created many problems as well. The growth of urban area has made the agricultural land use gradually give way to them. At the same time the mixing use of land has also polluted the environment. Not only has the immigration to Amphoe Muang Samut Prakan caused unemployment problem to Amphoe Muang itself, but on the contrary has created lack of labor force in the emigrated area. To avoid the mixing use of land, the land use planning has to be used and strictly followed. Population growth has to be controlled by controlling the rate of birth and migration. To level up the living standard, the government should improve economic structure by promoting industries [together with] agriculture. The policy of industries is to use local raw material. At the same time the government should provide all facilities necessary for the promotion of industries both raw material, public utilities and transportation. | |
dc.format.extent | 635828 bytes | |
dc.format.extent | 486156 bytes | |
dc.format.extent | 381770 bytes | |
dc.format.extent | 483252 bytes | |
dc.format.extent | 5225304 bytes | |
dc.format.extent | 2441389 bytes | |
dc.format.extent | 1517821 bytes | |
dc.format.extent | 352051 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของอำเภอเมืองสมุทรปราการ | en |
dc.title.alternative | A study of urban change in amphoe muang Samut Prakan | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การวางผังเมือง | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pranee_Na_front.pdf | 620.93 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pranee_Na_ch1.pdf | 474.76 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pranee_Na_ch2.pdf | 372.82 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pranee_Na_ch3.pdf | 471.93 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pranee_Na_ch4.pdf | 5.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pranee_Na_ch5.pdf | 2.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pranee_Na_ch6.pdf | 1.48 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pranee_Na_back.pdf | 343.8 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.