Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24114
Title: | การเปรียบเทียบความคงทนในการจำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนจากบทเรียนแบบโปรแกรมชนิดร้อยกรองและร้อยแก้ว |
Other Titles: | comparison of retention of pratom suska five students learning from verse and prose programmed lessons |
Authors: | วารยา ขุนทอง |
Advisors: | สุนันท์ ปัทมาคม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | การรู้จำ (จิตวิทยา) แบบเรียนสำเร็จรูป ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) การสอนด้วยสื่อ |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อเปรียบเทียบผลของความคงทนในการจำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนจากบทเรียนแบบโปรแกรมชนิดร้อยกรองและร้อยแก้ว กลุ่มตัวอย่าง 60 คน ที่ใช้ในการวิจัยมาจากนักเรียนชั้นประถมปีที่ 5 โรงเรียนสายน้ำทิพย์ ปีการศึกษา 2528 โดยการสุ่มแบบง่ายจากประชากรทั้งหมด 300 คน จากนั้นนำกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มมาได้มาสุ่มแบ่งเป็นกลุ่มจำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน ให้กลุ่มหนึ่ง เป็นกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยบทเรียนแบบโปรแกรมชนิดร้อยกรอง อีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยบทเรียนแบบโปรแกรมชนิดร้อยแก้ว แล้วทดสอบผลของการเรียนรู้ทันที หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ 2 สัปดาห์ และ 1 เดือน ทดสอบความคงทนในการจำ จากนั้นนำคะแนนมาวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และ เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีนิวแมน-คิวส์ ผลของการวิจัยปรากฏว่า ผู้เรียนจากบทเรียนแบบโปรแกรมชนิดร้อยกรอง และร้อยแก้วมีความคงทนในการจำต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purpose of this research was to compare the retention of Prathom Suksa Five students learning from verse and prose programmed lessons. Sixty Prathom Suksa Five students were randomly selected from 300 students of Sainamtip school in Academic Year of 1985, then were randomly assigned into two groups. There were 30 subjects in each group. The instruments were verse and prose programmed lessons. Each group was presented verse and prose programmed lessons and then did the post-test immediately, after a week, after two weeks and a month. The data was analyzed by mean of one way analysis of variance, then compared by the Newman-Keuls method. The finding indicated that the retention of students who studied from verse and prose programmed lessons were statistically significantly different at .05. |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | โสตทัศนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24114 |
ISBN: | 9745668192 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
varaya_ko_front.pdf | 367.33 kB | Adobe PDF | View/Open | |
varaya_ko_ch1.pdf | 437.63 kB | Adobe PDF | View/Open | |
varaya_ko_ch2.pdf | 1.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
varaya_ko_ch3.pdf | 308.63 kB | Adobe PDF | View/Open | |
varaya_ko_ch4.pdf | 323.7 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Varaya_Ko_ch5.pdf | 328.77 kB | Adobe PDF | View/Open | |
varaya_ko_back.pdf | 1.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.