Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24174
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | มีชัย วีระไวทยะ | |
dc.contributor.advisor | พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์ | |
dc.contributor.author | วราภรณ์ พันธุ์พวก | |
dc.coverage.spatial | ไทย (ภาคเหนือ) | |
dc.date.accessioned | 2012-11-15T10:01:55Z | |
dc.date.available | 2012-11-15T10:01:55Z | |
dc.date.issued | 2524 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24174 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524 | en |
dc.description.abstract | การเพิ่มขึ้นของประชากรในอัตราสูง ก่อให้เกิดปัญหาที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รัฐบาลได้ตระหนักถึงปัญหานี้ จึงได้กำหนดนโยบายด้านประชากรไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 3 (2515 - 2519) โดยได้สนับสนุนให้มีการวางแผนครอบครัวอย่างแพร่หลาย แต่ประชากรบางส่วนก็ยังมิได้รับบริการอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะประชากรที่อยู่ในชนบท จึงได้เกิดมีแนว ความคิดที่จะให้ชุมชนหรือหมู่บ้านได้มีส่วนรับผิดชอบต่อการวางแผนครอบครัวในชุมชนของตัวเอง โดยสำนักงานบริการวางแผนครอบครัวชุมชนซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ได้นำความคิดนี้มาใช้ โดยแต่งตั้งผู้ที่เหมาะสมให้เป็นอาสาสมัครวางแผนครอบครัวชุมชน ทำการให้บริการและแนะนำด้านการวางแผนครอบครัว การศึกษาการใช้ระบบอาสาสมัครในการบริการวางแผนครอบครัวชุมชนนี้ ทำการศึกษาถึงลักษณะโครงสร้างการจัดองค์การและประสิทธิภาพในการดำเนินงานการใช้ระบบอาสาสมัคร ในการให้บริการวางแผนครอบครัวชุมชนของสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ซึ่งลักษณะการออกแบบองค์การเป็นโครงร่างแบบผสม และการออกแบบองค์การตามหน้าที่สายงานหลักและสายงานประกอบ การดำเนินงานให้บริการในระดับหมู่บ้านเป็นหลัก โดยกำหนดท้องถิ่นที่ดำเนินงานขึ้นและทำการคัดเลือกผู้นำหรือผู้ที่เป็นที่รู้จักในท้องถิ่นนั้น มาอบรมให้ความรู้ในด้านการวางแผนครอบครัว ทำหน้าที่แนะนำ ชักจูง และให้บริการวางแผนครอบครัว โดยเฉพาะการขายยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรับประทานและถุงยางอนามัยแก่ประชากรในท้องถิ่นนั้น โดยมีเจ้าหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขเป็นที่ปรึกษา และมีผู้ประสานงานซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานบริการวางแผนครอบครัวชุมชนทำหน้าที่เป็นผู้ประสานการดำเนินงานในด้านธุรการต่างๆ ระหว่างสำนักงานบริการวางแผนครอบครัวชุมชน เจ้าหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข และอาสาสมัครวางแผนครอบครัวชุมชน ในการดำเนินงานนี้สำนักงานบริการวางแผนครอบครัวชุมชน ได้กำหนดแผนปฏิบัติงานเพื่อเป็นมาตรฐานในการควบคุมงาน และได้นำเทคนิคการควบคุมงานที่มีประสิทธิภาพมาใช้ เช่น การควบคุมงานโดยใช้งบประมาณ การควบคุมงานโดยใช้ข้อมูลย้อนกลับ และการใช้ไปรษณียบัตรเพื่อการควบคุม ส่วนการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน โดยการใช้การประเมินผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครวางแผนครอบครัวชุมชน พบว่าจำนวนผู้รับบริการยาเม็ดคุมกำเนิดจากอาสาสมัครวางแผนครอบครัวชุมชน ในปี 2523 เพิ่มขึ้นจากปี 2522 ร้อยละ 12.15 และรายได้จากการให้บริการยาเม็ดคุมกำเนิดในเขตภาคเหนือในปี 2523 เพิ่มขึ้นจากปี 2522 ร้อยละ 13.61 สำหรับการศึกษาเกี่ยวกับทัศนคติของอาสาสมัครวางแผนครอบครัวชุมชนที่มีต่อการทำงานพบว่าอาสาสมัครวางแผนครอบครัวชุมชนมีทัศนคติที่ดีต่ออาสาสมัคร คือมีขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน แต่ยังประสบปัญหาในด้านเกี่ยวกับตัวอาสาสมัครวางแผนครอบครัวชุมชนเองในเรื่องอายุและอาชีพ และปัญหาที่อาสาสมัครวางแผนครอบครัวชุมชนกล่าวว่าได้รับจากการปฏิบัติงาน ซึ่งได้แก่ ปัญหาของการอบรมที่ไม่เพียงพอกับความต้องการ อนามัยจ่ายยาเม็ดคุมกำเนิดฟรี สต็อกยาเม็ดคุมกำเนิดที่ขาดบ่อย อาการข้างเคียงของยาเม็ดคุมกำเนิด การขาดความรู้สึกที่ลึกซึ้งและเพียงพอเรื่องการวางแผนครอบครัว การทำแบบรายงานผู้รับบริการยาเม็ดคุมกำเนิดที่อาสาสมัครวางแผนครอบครัวชุมชนกล่าวว่ายุ่งยากจนเกินไป ความไม่เข้าใจของชาวบ้านเรื่องวิธีการทำงานของโครงการวางแผนครอบครัวชุมชน ปัญหายาเม็ดคุมกำเนิดมีราคาค่อนข้างสูง และปัญหาการแข่งขันจากร้านขายยาทั่วๆไป ปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนได้เสนอแนะวิธีการแก้ไข โดยให้มีการวางแผนสำหรับการคัดเลือกอาสาสมัครวางแผนครอบครัวใหม่ เพื่อมาทดแทนอาสาสมัครวางแผนครอบครัวชุมชนเก่าที่มีอยู่ค่อนข้างมากแล้ว นอกจากนั้น สำนักงานบริการวางแผนครอบครัวชุมชนควรจัดทำสถิติเกี่ยวกับผลงานของสำนักงานบริการวางแผนครอบครัวชุมชนแยกเป็นอาชีพและพิจารณาว่า อาสาสมัครวางแผนครอบครัวชุมชนแต่ละอาชีพควรมีผลงานอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางในการคัดเลือกอาสาสมัครวางแผนครอบครัวชุมชนในครั้งต่อๆไป ส่วนปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของ อาสาสมัครวางแผนครอบครัวชุมชนนั้น สำนักงานบริการวางแผนครอบครัวชุมชนควรดำเนินการดังนี้ 1) จัดการอบรมขึ้นอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อเป็นการให้ความรู้แก่อาสาสมัครวางแผนครอบครัวชุมชนเดิม ซึ่งการจัดให้มีการอบรมที่บ่อยขึ้นนี้ สามารถแก้ปัญหาต่างๆได้ โดยสามารถจะแนะนำวิธีความเข้าใจผิดต่างๆในเรื่องอนามัยจ่ายยาเม็ดคุมกำเนิดฟรี และการแนะนำให้ชาวบ้านเข้าใจวิธีการทำงานของโครงการวางแผนครอบครัวชุมชน 2 ) เพิ่มปริมาณยาเม็ดคุมกำเนิดที่ให้ไว้กับ อาสาสมัครวางแผนครอบครัวชุมชนให้มากกว่าที่เป็นอยู่โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนซึ่งผู้ประสานงานไม่อาจสามารถเข้ามาเยี่ยมเยียนและนำยามาเพิ่มเติมให้ได้ 3 ) ปรับปรุงแบบรายงานผู้ให้บริการยาเม็ดคุมกำเนิดให้รัดกุมและง่ายยิ่งขึ้น จากปัญหาและวิธีการแก้ไขดังกล่าว มีข้อสังเกตว่า มีปัญหาบางเรื่องเป็นปัญหาที่ทางสำนักงานบริการวางแผนครอบครัวชุมชนได้ทราบ และดำเนินการแก้ไขในบางเขตปฏิบัติการแต่ปัญหาก็ยังคงเหลืออยู่นั้นเนื่องจากยังขยายแก้ไขออกไปไม่ทั่วถึงทุกเขตปฏิบัติการ | |
dc.description.abstractalternative | The rapid population growth cause major problems in the nation’s economic and social development. Realized this, the government adopted and declared the population policy in its Third Economic and Social Development Plan (1972 - 1976) to support the nationwide family planning program. Nevertheless 5 the services provided by the government have not reached the majority of people especially those in the rural areas Thus the idea of the community participation and responsibility in family planning services began to catch on the Community-Based Family Planning Services (CBFPS) which is one of the extended arms of the Population and Community Development Association (PDA) has adopted this idea as its implementation strategy of which village distributors are chosen to give services and advices on family planning. This study of the use of village distributors by CBFPS looks at the structive of the organizational management and the effectiveness of the management of village distributors to deliver family planning services. The organizational structure is hybrid designs structure and line & staff function, while the geographical factor gets priority in each unit where the main concern is to serve in the village level. The implementing areas are selected and distributors are also chosen from- among village leaders or well-known villagers, to distribute oral pills and condoms at very minimal cost. These distributors which have the local government health officials as their consultants, function under the close supervision of the CBFPS district supervisors who visit, resupply contraceptives and coordinate necessary business among the CBFPS office, government officials and village distributors. In its implementation, the CBFPS has set up the standard operational plan so that the work done can be easily monitored the effective monitoring techniques of budgetary system, feed-back of data and postcard are also used. In determining the effectiveness of the program, the distributors' performance were evaluated. It was found out that the number of pill acceptors recruited by village distributors has increased 12.15 percent in 1980 than 1979. Furthermore, the income from the sale of oral pills in the North region only also increased 13.61 percent in 1980 than 1979. Regarding the attitude of village distributors towards their job, the study reveals the positive one. Distributors have good morale and satisfaction in their work. Nevertheless there are some problems concerning distributors’ status such as their age and occupation. Some problems cited from their work were inadequate refresher courses and government’s free pill program resupply of the oral pill, side effects, lack of thorough and adequate family planning knowledge, "too complicated oral pill acceptors record, villagers’ lack of understanding of the CBFPS project, too expensive oral pills and the competition from general drug stores. Recommendations made "by the author to solve these problems are: to set up new criteria for selection of the new group of distributors to replace the present ones who are rather old and keep a record of the distributors performance by types of professions to see whether they have an impact on their performances. This will also be added in the guideline for selection of the future distributors. In reference to the distributors' performances 5 the CBFPS should l) offer (for) the training course at least twice a year to train the new distributors as well as refresh the old ones. These additional training courses VTill supposedly help in solving some problems such as correct misunderstandings about the free pill.program as well as educate villagers' about the concept and role of CBFPS. 2) Increase the amount of oral pill supply for each distributors especially during the .rainy season when district supervisors are unable to travel to villages to resupply the pill. 3) modify and simplify the oral pill acceptors report. Some of the above mentioned problems have been indentified and are being solved by CBFPS. The remaining problem is, once again, the coverage of the implementation of the solving of problems in all the CBFPS implementing areas | |
dc.format.extent | 613420 bytes | |
dc.format.extent | 849511 bytes | |
dc.format.extent | 745346 bytes | |
dc.format.extent | 771011 bytes | |
dc.format.extent | 902463 bytes | |
dc.format.extent | 1505779 bytes | |
dc.format.extent | 854752 bytes | |
dc.format.extent | 674446 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การวางแผนครอบครัว -- ไทย (ภาคเหนือ) | |
dc.subject | อาสาสมัครในงานบริการอนามัยชุมชน | |
dc.title | การใช้ระบบอาสาสมัครในการให้บริการงานแผนครอบครัวชุมชน ของสำนักงานบริการวางแผนครอบครัวชุมชน ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย | en |
dc.title.alternative | Utilization of volunteer distributors system in community-based family planning services in the Northern region of Thailand | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | พาณิชยศาสตร์ | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Varaporn_Pu_front.pdf | 599.04 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Varaporn_Pu_ch1.pdf | 829.6 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Varaporn_Pu_ch2.pdf | 727.88 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Varaporn_Pu_ch3.pdf | 752.94 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Varaporn_Pu_ch4.pdf | 881.31 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Varaporn_Pu_ch5.pdf | 1.47 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Varaporn_Pu_ch6.pdf | 834.72 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Varaporn_Pu_back.pdf | 658.64 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.