Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24212
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กีรติ บุญเจือ | |
dc.contributor.author | วันดี ศรีสวัสดิ์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-15T17:50:09Z | |
dc.date.available | 2012-11-15T17:50:09Z | |
dc.date.issued | 2523 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24212 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523 | en |
dc.description.abstract | ความสัมพันธ์ฉัน-ท่านคือความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าและเป็นภาวการณ์มีอยู่อย่างถูกต้องระหว่างมนุษย์ บูเบอร์พูดพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าก็เพราะต้องการปฏิบัติรูปความหมายของ “พระเจ้า” “และความหมายของ” “การมีชีวิตพระเจ้า” ตามดติของศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์เสียใหม่ เพื่อให้ความหมายใหม่นี้ได้มีส่วนช่วยแก้ไขวิกฤตการณ์ชีวิตในปัจจุบัน กล่าวคือ ปัญญาชนผู้นับถือพระเจ้าจะได้ไม่ข้องใจในพระเจ้าจนละทิ้งพระองค์ไป หรือผู้เคร่งครัดต่อคำสอนของศาสนาจะได้ไม่หมกมุ่นอยู่กับพระเจ้าจนลืมชีวิตปัจจุบัน จุดมุ่งหมายของวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ก็คือ ต้องการวิจัยว่าความสัมพันธ์ฉัน-ท่านที่เป็นภาวะการมีอยู่อันถูกต้องของมนุษย์นี้ทำให้มนุษย์ขาดเสรีภาพหรือไม่ “ฉัน” “ท่าน” มีความหมายอย่างไร และเสรีภาพที่บูเบอร์พูดถึงนั้นเป็นอย่างไร จากการวิจัยสรุปได้ว่า บูเบอร์แบ่งความหมายของพระเจ้าออกเป็นสองระดับคือพระเจ้าระดับบุคคลหรือท่าน (You) กับพระเจ้าระดับสูงสุดหรือท่านนิรันดร์ (The eternal You) พระเจ้าระดับบุคคลของบูเบอร์มีความหมายว่ามิใช่ภวันต์เหนือมนุษย์และเหนือธรรมชาติที่มีอำนาจบังคับบัญชาโลก แต่เป็นมนุษย์ผู้มีศักดิ์ศรีเยี่ยงพระเจ้าและมีความสามารถแฝงอยู่ในตัว โดยสามารถแสดงศักดิ์ศรีนี้ให้ปรากฏเป็นจริงในปัจจุบันได้ พระเจ้าระดับบุคคลจึงอยู่ในโลกนี้ มนุษย์มีชีวิตพระเจ้าระดับบุคคลได้ในโลกนี้ ส่วนพระเจ้าสูงสุดสำหรับบูเบอร์มีความหมายไม่ต่างจากพระเจ้าตามคติยูดาห์และศาสนาคริสต์มากนัก คืออยู่ในสวรรค์ แต่ทว่าลงมาอยู่กับมนุษย์ได้ในโลกนี้ ไม่จำเป็นที่มนุษย์จะต้องรอไปมีชีวิตพระเจ้าในโลกหน้า มนุษย์พบพระเจ้าได้ตั้งแต่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้แล้ว บูเบอร์ต้องการปฏิเสธว่าพระเจ้ามิได้มีอิทธิพลเหนือมนุษย์ทุกด้าน หากทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมความสัมพันธ์ทั้งหลายในโลก และร่วมงานกับมนุษย์ สร้างความก้าวหน้าให้แก่โลก มนุษย์สัมพันธ์กับพระเจ้าระดับบุคคลด้วยคำกล่าวคำคู่ฉัน-ท่านต่อกัน ทำให้มนุษย์ผู้มีสภาพปรกติเป็นสิ่งของ ไม่มีการกระทำ ยกระดับตัวเองขึ้นเป็นพระเจ้าระดับบุคคลหรือท่าน เพื่อที่จะไปมีความสัมพันธ์กับพระเจ้าสูงสุดหรือท่านนิรันดร์ได้ต่อไป ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าสูงสุดเริ่มจากการสวดมนตร์แล้วเผชิญหน้ากับพระองค์ด้วยการมีภาระสรรพะ เพียงเท่านี้พระเจ้าสูงสุดจะมาอยู่ใกล้ชิดมนุษย์และร่วมงานกับมนุษย์ มนุษย์จึงพบพระเจ้าสูงสุดได้ตั้งแต่มีชิวิตอยู่ในโลกนี้แล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าระดับบุคคลทั้งทำให้มนุษย์เสื่อมเสียเสรีภาพและส่งเสริมเสรีภาพในเวลาเดียวกัน เพราะทั้งสองฝ่ายต่างมีอิทธิพลและมีการกระทำต่อกันส่วนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าสูงสุดเป็นไปเช่นเดียวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าระดับบุคคล ความสัมพันธ์ทั้งปวงเป็นไปพร้อมกัน นี่คือความหมายของการมีชีวิตพระเจ้าในโลกนี้เสรีภาพของบูเบอร์จึงอยู่ในขอบเขตความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าด้วยประการฉะนี้ | |
dc.description.abstractalternative | The I-Thou relationship is the relationship between man and God. It is real existence among human beings, Buber refers to the relationship between man and God because he wants to redefine the word “God” and the expression “Being Godlike” in Judaism and Christianity, so that the new concepts will help solve problems of religious crises in the present time. That is they will save those who have faith in God from deserting. God because they have become skeptical, and also those who, being so much engrossed in God, forget their present life. The purpose of this thesis is to answer these questions: Does the I-Thou relationship which is real existence take freedom from man? What do the words “I” and “thou” mean? What is meant by Buber’s concept of freedom? From the findings it can be concluded that Buber gives a twofold meaning of the word “God” : the Personal God or you and the Ultimate God or the eternal you. Buber’s Personal God does not mean Superhuman Being or Supernatural Being, which can command the world but just a human being who is godlike and has potential power and is able to actualize his power. Thus, t-he Personal God exists in the world. Man can become Personal God. As for the Ultimate God, for Buber this is not much different from God in Judaism and Christianity. The difference is only that He is not in heaven all the time but may be with man on earth, and that man need not wait to meet Him in the next world, but can meet Him in this real world. Buber intends to emphasize that God does not have influence over man in all aspects, but serves as the center of all the relationships in the world and participates in all human activities in order to bring progress to the world. Man is related to the. Personal God through his using the words “I,thou” which raises man from being normally a thing without action to being Personal God or you. Through this he can have a relationship with the Ultimate God or the eternal you. The relationship between man and the Ultimate God starts from man’s dialogue with God through his prayers and his encounter with him through his whole being. Through this only, the Ultimate God is close to man and cooperates with man, Man therefore can meet God even when he is still in this world. The relationship between man and the Personal God lessens man’s freedom but at the same time promotes his freedom because both sides have influence on and counter-action toward each other. The relationship between man and the Ultimate God is the same as that between man and the Personal God. All the relationships are intertwined. This is what is meant by the existence of God in this world. Thus, freedom according to Buber is limited to the relationship between man and man and between man and God. | |
dc.format.extent | 440984 bytes | |
dc.format.extent | 295517 bytes | |
dc.format.extent | 812959 bytes | |
dc.format.extent | 1713726 bytes | |
dc.format.extent | 964457 bytes | |
dc.format.extent | 637513 bytes | |
dc.format.extent | 276316 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | บูเบอร์, มาร์ติน, 1878-1965 | |
dc.subject | ความหมาย (ปรัชญา) | |
dc.subject | ปรัชญาตะวันตก | |
dc.subject | Buber, Martin | |
dc.subject | Meaning (Philosophy) | |
dc.subject | Philosophy, Western | |
dc.title | วิเคราะห์ความสัมพันธ์ฉัน-ท่านในปรัชญาของมาติน บูเบอร์ | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ภาษาจีน | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
wandee_sr_front.pdf | 430.65 kB | Adobe PDF | View/Open | |
wandee_sr_ch1.pdf | 288.59 kB | Adobe PDF | View/Open | |
wandee_sr_ch2.pdf | 793.91 kB | Adobe PDF | View/Open | |
wandee_sr_ch3.pdf | 1.67 MB | Adobe PDF | View/Open | |
wandee_sr_ch4.pdf | 941.85 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wandee_Sr_ch5.pdf | 622.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
wandee_sr_back.pdf | 269.84 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.