Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24213
Title: | การวิเคราะห์แผนการสอนกลุ่มำการงานและพื้นฐานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ห้า และ หก ของเขตการศึกษา 5 |
Other Titles: | An analysis of work-oriented experience teaching plan for prathom suksa five and six in the Educational Region Five |
Authors: | วันเพ็ญ เกตุสกุล |
Advisors: | สงัด อุทรานันท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | แผนการสอน การสอน กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ -- แผนการสอน Lesson planning Teaching |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ก) ความสอดคล้องของแผนการสอนกับสภาพความเป็นจริงในท้องถิ่น ข) ความสอดคล้องของแผนการสอนกับความต้องการของนักเรียนและผู้ปกครอง ค) เสนอแนวทางในการปรับปรุงแผนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในท้องถิ่น และความต้องการของท้องถิ่นในเขตการศึกษา 5 วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้ศึกษาและวิเคราะห์เอกสาร หนังสือ รายงานวิจัยต่างๆ เกี่ยวกับสภาพการประกอบอาชีพท้องถิ่น ภายในเขตการศึกษา 5 แล้วนำข้อมูลดังกล่าวสร้างแบบสอบถามจำนวน 3 ชุด เพื่อสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างประชากร 3 กลุ่มคือ ผู้เชี่ยวชาญการประกอบอาชีพในท้องถิ่น นักเรียน และผู้ปกครอง แบบสอบถามที่ส่งไปมีจำนวน 998 ฉบับ ได้รับกลับคืน 953 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 95.49 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีค่าร้อยละ และระดับฐานนิยม สรุปผลการวิจัย 1. แผนการสอนกลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ของเขตการศึกษา 5 มีความสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของท้องถิ่นมี 3 แขนงงานคืออาชีพแขนงงานบ้าน แขนงงานเกษตร และแขนงงานอาชีพอื่นๆ ส่วนแขนงงานช่างเรื่อง งานไม้ และแขนงงานช่างประดิษฐ์ทุกเรื่อง ยังไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงเพราะเป็นอาชีพที่ไม่มีแพร่หลายทั่วไป 2. อาชีพเกือบทุกแขนงงานในเขตแผนการสอนกลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ของเขตการศึกษา 5 มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการสนับสนุนและส่งเสริม ยกเว้นแขนงงานช่าง เรื่อง งานไม้และงานเกษตร เรื่องการเลี้ยงสัตว์ปีก 3. แผนการสอนกลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ของเขตการศึกษา 5 สนองความต้องการของนักเรียนเกือบทุกแขนงงาน ยกเว้น แขนงงานช่าง เรื่อง งานไฟฟ้า แต่อย่างไรก็ตามแผนการสอนนี้สนองความต้องการของผู้ปกครองทุกแขนงงาน 4. ในการปรับปรุงแผนการสอนกลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในท้องถิ่น และสนองความต้องการของนักเรียนและผู้ปกครองมากยิ่งขึ้นนั้น ควรมีการเพิ่มรายการสอนพื้นฐานวิชาชีพต่างๆ ดังนี้ แขนงงานบ้าน เรื่อง การทำอาหารที่เป็นอุตสาหกรรมในครอบครัว เรื่อง การทำของดอง เรื่องการกวนผลไม้ชนิดต่างๆ เรื่อง การทำอาหารเค็ม เรื่อง การประกอบอาหารตามเทศกาลของท้องถิ่น เรื่อง การตกแต่ง ซ่อมแซม และดัดแปลงเสื้อผ้า แขนงงานเกษตร เรื่อง การปลูกพืชไร่ เรื่อง การทำสวนผลไม้ชนิดต่างๆ เรื่อง การเพาะเห็ดชนิดต่างๆ เรื่อง การเลี้ยงสัตว์เล็ก แขนงงานช่างประดิษฐ์ เรื่อง งานประดิษฐ์จากดอกไม้ใบตอง แขนงงานช่าง เรื่อง งานประกอบวิทยุ เรื่อง งานใช้และบำรุงรักษาเครื่องยนต์ เรื่อง งานถักทอ เรื่อง งานทาแชลแลคและแลคเกอร์ แขนงงานอาชีพอื่นๆ เรื่องอุตสาหกรรมย่อยในท้องถิ่น |
Other Abstract: | Purposes : The purposes of this study were: 1. To study the relevancy of the Work-Oriented Experiences Teaching Plan to the local community. 2. To study the relevancy of the Work-Oriented Experiences listed in the Teaching Plan to pupils’ and parents’ needs. 3. To propose the guideline for improving the Work-Oriented Experience Teaching Plan in order to make it relevant and suitable to the local community in the Educational Region Five. Procedures : The local occupations were analysed by the researcher by the method of documentary analysis and interviewing the local experts. The local occupations collected from the first stage were listed in the forms Ox questionnaires and then were sent to local vocational experts, students and their parents. Nine hundred and ninety-eight Questionnaires were sent out, and 953 or 95.49 percent of them were returned and analyzed in terms of percentage and mode. Findings: 1. Most of the work-Oriented Experiences listed in the Work-Oriented Experiences Teaching Plan for Prathom Suksa Five and Six in the Educational Region Five were relevant to the local community, expecially in the areas of home economics, agriculture and other vocational works The details of wooden works and all creative arts and handicrafts seemed to he unrelevant to the local need. 2. With tile exception of Wooden Tories, most of the Work- Oriented Experiences listed in the Teaching Plan for Prathom Five and Six in the Educational Region Five should be encouraged and supported by the schools. 3. With the exception of Electricity 1 most of the Work- Oriented Experiences listed in the Teaching Plan were served to the pupils' needs. Nevertheless the Electricity still has been accepted by the parents. 4. In order to improvedthe Work-Oriented Experiences Teaching Plan for Prathom Suksa Five and Six in the Educational Region Five, the following learning experiences should be included in the elective subjects: Home economics: Food Product (home-industry type) Food Preservation, and Clothes Design, Repair and Modification. Agriculture: Cash Crops Plantation, Fruit Plantation, Mushroom Cultivation and Small Animal Husbandry. Arts and crafts : Creative Arts and Handicrafts works made from flower arid leaves, Radio Assembly, Engine Utilization and Mantenance, Village Textile and Lacquer Painting. Other craft works: Village industrial works operated in the community where, schools were situated. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24213 |
ISBN: | 9745625043 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
wanpen_ke_front.pdf | 479.61 kB | Adobe PDF | View/Open | |
wanpen_ke_ch1.pdf | 576.11 kB | Adobe PDF | View/Open | |
wanpen_ke_ch2.pdf | 1.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
wanpen_ke_ch3.pdf | 406.89 kB | Adobe PDF | View/Open | |
wanpen_ke_ch4.pdf | 941.5 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanpen_Ke_ch5.pdf | 543.47 kB | Adobe PDF | View/Open | |
wanpen_ke_back.pdf | 1.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.