Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24215
Title: แนวพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว : การวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์
Other Titles: The Political ideas of King Rama VII : a historical analysis
Authors: วัลย์วิภา จรูญโรจน์
Advisors: ณรงค์ พ่วงพิศ
ธิติมา พิทักษ์ไพรวัน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาเรื่องแนวพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการศึกษาเรื่องดังกล่าวปัญหาที่สำคัญคือเรื่องข้อมูล กล่าวคือ เอกสารที่เกี่ยวกับเรื่องนี้มีบางฉบับที่ไม่ปรากฏนายผู้บันทึก ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงจำเป็นต้องแสดงการวิเคราะห์เอกสารซึ่งเป็นข้อมูลเหล่านั้น พร้อมทั้งศึกษาตัวปัญหาในเวลาเดียวกันได้แบ่งเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ออกเป็น 5 บท บทที่1 เป็นบทนำ กล่าวถึงความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ขอบเขตของการวิจัย และประโยชน์ที่จะได้รับจากการวิจัย บทที่ 2 เป็นบทที่ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อแนวพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยศึกษาถึงปัจจัยภายนอกอันได้แก่สภาพแวดล้อมและสถานการณ์บ้านเมืองก่อนเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ส่วนปัจจัยภายในได้แก่ภูมิหลังและพฤติกรรมของพระองค์ท่าน ปัจจัยเหล่านี้จะมีผลต่อแนวพระราชดำริทางการเมืองในแง่ที่เป็นสิ่งเร้าและเป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการแสดงออกถึงแนวพระราชดำริทางการเมือง บทที่ 3 และ บทที่ 4 เป็นบทสำคัญทางการศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้ เพราะเป็นการนำเสนอเรื่องแนวพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ การนำเสนอนี้ใช้เหตุการณ์การปฏิวัติ พ.ศ. 2475 เป็นเส้นแบ่งสมัย ฉะนั้นแนวพระราชดำริทางการเมืองที่นำเสนอจึงแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือตอนก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงเป็นกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ได้นำเสนอในบทที่ 3 และแนวพระราชดำริหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ซึ่งดำรงเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญ นำเสนอในบทที่ 4 ในบทที่ 3 ซึ่งเป็นการศึกษาแนวพระราชดำริทางการเมืองก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 นั้น ได้พยายามศึกษาทั้งแง่ที่เป็นอุดมคติ และความเป็นจริง พยายามเสนอให้เห็นขั้นตอนของพระราชดำริทางการเมือง ซึ่งเกิดขึ้นต่อเนื่องกัน และคลี่คลายไปตามสภาพเหตุการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นประการแรกได้หยิบยกเอกสาร 2 ฉบับ คือพระราชบันทึกเรื่อง Democracy in Siam และพระราชบันทึกเรื่องการปกครอง มานำเสนอและวิเคราะห์เพื่อให้เห็นจุดยืนทางการเมืองของพระองค์ท่าน แต่ทว่าเอกสารเรื่อง Democracy in Siam ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญมากในอันที่จะสะท้อนให้เห็นแนวพระราชดำริทางการเมืองของพระองค์ท่าน ในต้นฉบับนั้นไม่ปรากฏชื่อและความเป็นมาของเอกสารจึงต้องวิเคราะห์ และเสนอข้อเสนอข้อมูลสนับสนุนเพื่อยืนยันให้แน่ชัด เป็นพระราชบันทึกของพระองค์ท่าน และหามูลเหตุที่ทรงบันทึก จากการวิเคราะห์เอกสารทั้ง 2ฉบับ ทำให้เห็นแนวพระราชดำริของพระองค์ท่านได้อย่างแน่ชัดว่า ทรงเชื่อมั่นในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในฐานะเป็นการปกครองประเทศที่เหมาะสมกับเมืองไทยในขณะนั้นมากกว่าระบอบประชาธิปไตย และทรงเลือกที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เหมาะสมกับประเทศ การแสดงออกถึงพระราชดำริดังกล่าวนี้ ปรากฏชัดในเรื่องการจัดตั้งสภาการต่างๆ ซึ่งเป็นสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน เช่น อภิรัฐมนตรีสภา เสนาบดีสภา สภากรรมการองคมนตรี เราจะศึกษาถึงหน้าที่ โครงสร้าง รูปแบบของสภาทั้งสาม และดูว่าบทบาทของสภาทั้งสามนั้นเป็นอย่างไร ส่งผลสะท้อนอันไดบ้าง และที่สำคัญคือ ตอบสนองพระราชดำริได้อย่างไร กล่าวคือจะอำนวยให้เกิดการปกครองที่เหมาะสมแก่ประเทศ ซึ่งจะปรับปรุงโครงสร้างทางการบริหาร และคลี่คลายปัญหาความต้องการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองของคนกลุ่มหนึ่งในสมัยนั้น อันเป็นปัญหาทางการเมืองในขณะนั้นได้อย่างไรนั่นเอง เนื่องจากตั้งสภาการต่างๆ เพื่อจะยังผลให้เกิดการปกครองที่เหมาะสมกับประเทศนั้นไม่อาจตอบสนองได้ทันภาวะเหตุการณ์บ้านเมือง ทั้งนี้เพราะความตื่นตัวทางการเมืองได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จึงมีพระราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนั้นมีสาระเป็นไปตามแนวความคิดทางการเมืองที่เหมาะสมกับประเทศ และเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะทำให้มีการปฏิรูประบอบการปกครองแบบดั้งเดิม สำหรับเรื่องร่างรัฐธรรมนูญนี้ ผู้วิจัยได้เสนอสมมติฐานขึ้นว่าเป็นร่างรัฐธรรมนูญที่นายสตีเวนส์ ร่างขึ้นตามแนวพระราชดำริของพระองค์ท่าน แล้วแสดงเหตุผลสนับสนุน แต่ยังไม่อาจถือได้ว่าสมมติฐานดังกล่าวเป็นข้อยุติ สำหรับบทที่ 4 เป็นการศึกษาถึงแนวพระราชดำริทางการเมืองภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้พยามอธิบายและทำความเข้าใจกับการปกครองประเทศตามระบอบใหม่แล้วจึงมาศึกษาถึงพระราชดำริทางการเมืองของพระองค์ท่านภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยศึกษาทั้งในแง่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรและปรากฏตามความเป็นจริง ในแง่ที่ปรากฏตามความเป็นจริงนั้นจะศึกษาโดยเพ่งเล็งไปที่เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นตามลำดับ อาทิเช่น พิจารณาสาเหตุสำคัญที่พระองค์ท่านเสด็จนิวัติจากหัวหินสู่พระนครตามคำทูลเชิญของคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร เพื่อมาเป็นองค์พระประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ พิจารณาท่าทีของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ และคณะราษฎรซึ่งมีต่อกันตามลำดับ โดยถือเอาเหตุการณ์กบฏบวรเดชเป็นเหตุการณ์สำคัญ โดยจะพิจารณาว่าก่อนและหลังเหตุการณ์ที่เรียกว่ากบฏบวรเดชนั้น มีเหตุการณ์สำคัญใดเกิดขึ้นเพื่อที่จะหยิบยกขึ้นมาเพื่อพิจารณาท่าทีของคณะราษฎรกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ได้บ้าง ที่ถือเอาเหตุการณ์กบฏบวรเดชเป็นสำคัญ ก็เพราะเป็นเหตุการณ์ที่ยังหน้าเคลือบแคลงใจอยู่ เนื่องจากบางคนอาจคิดว่าเป็นความพยายามที่จะรื้อฟื้นระบอบเดิม แต่บางคนอาจคิดว่าเป็นความพยายามอย่างหนึ่งที่จะทำให้เกิดการพัฒนาบ้านเมือง ซึ่งในแง่นี้กบฏบวรเดชก็เปรียบเสมือนเหมือนการต่อรองอำนาจทางการเมืองนั่นเองการพิจารณาท่าทีของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ จึงอยู่ที่ว่าทรงมองเหตุการณ์กบฏบวรเดชเป็นอย่างไรนั่นเอง เรื่องการสละราชย์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เป็นจุดสุดยอดของการแสดงออกถึงแนวพระราชดำริทางการเมืองภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จะมีการวิเคราะห์ถึงสาเหตุแท้จริงและลักษณะของการสละราชย์โดยพิจารณาจากท่าทีที่ทั้งสองฝ่ายแสดงพระราชประสงค์ในการสละราชย์ และพระราชหัตถเลขาทรงสละราชย์เท่านั้น นอกจากนี้จะพิจารณาถึงเหตุการณ์ทางการเมืองภายหลังที่ทรงสละราชย์แล้ว เพื่อเป็นการปูพื้นความเข้าใจระบบการเมืองซึ่งสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน บทที่ 5 คือบทสรุปข้อเสนอแนะ เป็นการสรุปเนื้อหาทั้งหมดที่ได้มาจากการศึกษาเรื่องนี้ และได้เสนอแนะว่าเราสามารถนำความคิดจากเรื่องดังกล่าวนี้มาใช้เป็นอุทาหรณ์เตือนสติคนในปัจจุบันซึ่งประสบมรสุมเดียวกัน คือกำลังหาจุดยืนของตัวเองได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะประวัติศาสตร์ย่อมซ้ำรอยได้เสมอ หากเราไม่รู้จักหาบทเรียนเพื่อละเว้นหรือทำตามในสิ่งที่พิจารณาแล้วว่าเหมาะหรือควรหรือไม่เพียงใด
Other Abstract: The aim of this thesis is to study the political ideas of King Rama VII. The main difficulty in doing this research lies in the fact that some important documents about this problem are annonymous. The writer has to do the investigation and verification of those documents and at the same time has to make a study and are analysis of the problems. There are 5 chapters in the thesis. The first chapter is an introductory chapter discussing the background of the problems, the aim and the scope of research, plan of investigation and some conclusion expected. The second chapter concentrates on the factors which influence the political ideas of King Rama VII. Circumstances and situations in Thailand before King Rama VII came to the throne are studied in detailed,' Also, the royal background and the behavior of the King himself are discussed. As those factors mentioned above have some influence on him one way or another either as a stimulant or a hindrance to turn his idea into practice. The third chapter and the fourth chapter are the main parts of this thesis. Both chapters discussed the political ideas of the King as appeared before and after the 1932 revolution. The third chapter concerns his idea before the 1932 revolution. The writer tries to study his idealistic views and those which have been put into practice. The writer also tries to present the development of the King’s ideas step by step inconnection with the changing situation of Thailand at that time. First of all, the two documents, "Democracy in Siam" and "The Problems of Siam" which are the Royal Notes are studied critically in order to show the essential of his political ideas. Unfortunately, the original document of "Democracy in Siam" which is very important as it reflected his political ideas neither carries the name of the writer nor the background of the document. Through historical analysis together with supporting data the writer verified that this document is his Royal Note and also points out the King’s motive in writing it. The study of these 2 documents has shown that the King firmly believed that the Absolute Monarchy was the best political system for Thailand at that moment. Moreover it was seen that he prefered to be the- leader in a political change chosen himself for his country. This can be seen through the establishment of the Advisory body and the Consultative body, namely the Supreme Council, the Council of state and the Privy Council, The function, the structure and the working system of the three councils are studied to show what sort of roles those councils exercise. Especially how far the three councils serve the King’s political ideas. How far did the three councils contribute to the arrangement of the appropriate political system for. Thailand. The system which would be able to remedy the existing administrative structure and at the same time help solving the political participation which was most urgent at that time. Anyhow, the establishment of the three councils which aimed to improve the administrative system was not able to cope with the rising political demand of some group of people, the King finally decided to give the constitution to the people. The Royal Constitution was outlined along the same idea King Rama VII’s thought suitable for the country. Again through historical analysis and supporting data, the writer verifies that the above mention constitution is a Royal Constitution written by Mr. Stevens by the command and the instruction of the King The fourth chapter discussed the King’s ideas after the 1932 revolution. The writer tries to look into the new system and the status of the King under' the new system. His political thought was studied and analyzed though his writing and political events the writer follows the political incident which occured at that time in logical order beginning with the return of the King from Hua - Hin to Bangkok by the invitation of the People’s Party as the Chief of state under the constitution. The attitude of the King towards the people’s Party and vice versa before and after the Bovaradej Revolt are studied. The writer has pointed out the Bovaradsj Revoit because the Revolt itself is exceptionary crucial and the motive of the Revolt is still debatable. Many people have looked at it as a last strike of Royalist to restore the Absolute Monarchy while others have concluded that it was an attempt for political development. If one agreed that it was an attempt for political development. The Bovaradej Revolt was then the bargain of political powers. Then the attitude of the King himself and the people’s party should be looked into closely. The writer has discussed those attitudes very carefully. The abdication of the King is the climax in expressing his political ideas after the 1932 revolution. The writer has done the analysis of the motive and the character of his abdication. Besides, the political events after his abdication were investigated to provide a background for basis understanding of political development in Thailand up unti1 the present The fifth chapter is the conclusion and suggestion.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24215
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wanwipha_front.pdf643.21 kBAdobe PDFView/Open
wanwipha_ch1.pdf338.79 kBAdobe PDFView/Open
wanwipha_ch2.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
wanwipha_ch3.pdf4.94 MBAdobe PDFView/Open
wanwipha_ch4.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open
wanwipha_ch5.pdf407.46 kBAdobe PDFView/Open
wanwipha_back.pdf4.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.