Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24239
Title: ปฏิกิริยาจริยธรรมของนักเรียน ครู และผู้ปกครองต่อพฤติกรรมต่อตนเองของผู้อื่น
Other Titles: ปฏิกิริยาจริยธรรมของนักเรียน ครู และผู้ปกครองต่อพฤติกรรมต่อตนเองของผู้อื่น / วรัญญา เวโรจน์ = Moral reactions of pupils, teachers, and parents to self-directed behaviors of others / Waranya Verochana
Authors: วรัญญา เวโรจน์
Advisors: ธีระพร อุวรรณโณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปฏิกิริยาจริยธรรมของนักเรียน ครู และผู้ปกครองต่อพฤติกรรมต่อตนเองของผู้อื่น และศึกษาตัวแปรเพศ ศาสนา สถานภาพ ภูมิภาค สภาพความเป็นเมืองและอาชีพหลักของครอบครัวว่าจะมีอิทธิพลต่อปฏิกิริยา จริยธรรมดังสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ครูและผู้ปกครองจากกรุงเทพมหานคร ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวนรวมทั้งสิ้น 2,834 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง และมาตรวัดปฏิกิริยาจริยธรรมต่อพฤติกรรมต่อตนเองของผู้อื่น ซึ่งผู้วิจัยและคณะสร้างขึ้นโดยอาศัยแนวการสร้างจากมาตรจำแนกความหมายของออสกูดและคณะ และมาตรจำแนกพฤติกรรมของทรัยแอนดิส สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียน ครูและผู้ปกครองจะมีปฏิกิริยาจริยธรรมทางบวกแน่ๆ และจะไม่มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางลบแน่ๆ ต่อพฤติกรรมต่อตนเอง 6 พฤติกรรม คือ ความขยันหมั่นเพียร ความรู้ตัวไม่ประมาท ความมีวินัยในตนเอง การปรับปรุงตนเอง การรักษาสุขภาพ ความภาคภูมิใจในตนเอง 2) นักเรียน ครูและผู้ปกครอง อาจจะมีปฏิกิริยาธรรมทางบวกและอาจจะไม่มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางลบต่อพฤติกรรม 10 พฤติกรรม คือ ความเชื่อมั่นในตนเอง การสำรวจตนเอง ความละอายใจ การตั้งมาตรฐานตนเอง ความพอใจในตนเอง การระงับความอยาก การให้รางวัลตนเอง การปลอบใจตนเอง ความรู้สึกผิด การลงโทษตนเอง 3) นักเรียน ครูและผู้ปกครอง ตัดสินใจไม่ได้ว่าจะมีหรือไม่มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางบวก และอาจจะไม่มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางลบต่อพฤติกรรมการให้คุณค่าตนเองการปรุงแต่งร่างกาย 4) นักเรียน ครูและผู้ปกครอง ตัดสินใจไม่ได้ว่าจะมีหรือไม่มีปฏิกิริยา จริยธรรมทางบวกและทางลบต่อพฤติกรรมการไม่ควบคุมอารมณ์ 5) นักเรียน ครูและผู้ปกครอง จะไม่มีปฏิกิริยาจริยธรรมทางบวกแน่ๆ และอาจจะมีปฏิกิริยาจริยธรรมทางลบต่อพฤติกรรมการลุ่มหลงอบายมุข 6) ตัวแปรอิสระทั้ง 6 ตัวแปร มีผลต่อปฏิกิริยาจริยธรรมทางบวกต่อพฤติกรรมต่อตนเองของผู้อื่นในระดับมีนัยสำคัญ (P < .05 หรือน้อยกว่า) โดยที่ภูมิภาคสภาพความเป็นเมืองและสถานภาพเป็นตัวแปรที่มีผลต่อปฏิกิริยาจริยธรรมมากที่สุดเรียงตามลำดับ และศาสนาเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลน้อยที่สุดดังต่อไปนี้ คือ 6.1) คนที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปฏิกิริยาจริยธรรมต่อพฤติกรรมต่อตนเองของผู้อื่นแตกต่างกัน (P < .05 หรือน้อยกว่า) จำนวน 17 พฤติกรรม 6.2) คนที่อยู่ในกรุงเทพมหานครเขตในกรุงเทพมหานครเขตนอกอำเภอเมือง และอำเภอชนบท มีปฏิกิริยาจริยธรรมต่อพฤติกรรมต่อตนเองของผู้อื่นแตกต่างกัน (P < .05 หรือน้อยกว่า) จำนวน 15 พฤติกรรม 6.3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มัธยมปีที่ 3 มัธยมศึกษาปีที่ 5 ครูและผู้ปกครองมีปฏิกิริยาจริยธรรมต่อพฤติกรรมต่อตนเองของผู้อื่นแตกต่างกัน (P < .05 หรือน้อยกว่า) จำนวน 13 พฤติกรรม 6.4) คนที่มีอาชีพหลักของครอบครัวรับราชการ ใช้แรงงาน ธุรกิจการค้าและลูกจ้างเอกชน มีปฏิกิริยาจริยธรรมต่อพฤติกรรมต่อตนเองของผู้อื่นแตกต่างกัน (P < .05 หรือน้อยกว่า) จำนวน 11 พฤติกรรม 6.5) ชายและหญิงมีปฏิกิริยาจริยธรรมต่อพฤติกรรมต่อตนเองของผู้อื่นแตกต่างกัน (P < .05 หรือน้อยกว่า) จำนวน 9 พฤติกรรม 6.6) คนที่นับถือศาสนาพุทธ คริสต์และอิสลาม มีปฏิกิริยาจริยธรรมต่อพฤติกรรมต่อตนเองของผู้อื่นแตกต่างกัน (P < .05 หรือน้อยกว่า) จำนวน 1 พฤติกรรม คือ พฤติกรรมการให้รางวัลตนเอง
Other Abstract: The purposes of this research were to survey existing moral reactions of pupilsร teachers, and parents to self-directed behaviors of others, and to study the influence of six independent variables toward moral reactions to self-directed behaviors of ethers. The six independent variables are sex, religions status, region, urbanity, and family occupation. The subjects were 2,834 pupils in Pathomsuksa 6, Mathayora 3, Mathayomsuksa 5 in the 1981 academic year, teachers and parents from the five regions of Thailand namely, Bangkok, Central, Northern, Southern and Northeastern areas. The subjects were selected by using a multi-stage sampling method. The data were collected by using a questionnaire for biographical data and a moral reaction scale. The scale was constructed by the researcher following the techniques of Semantic Differential Scale and Triandis Behavioral Differential Scale. The data were analysed by using one way analysis of variance and, when-appropriate, Scheffe's method for pairwise comparisons. The results indicated that 1. Pupils, teachers9and parents showed definite positive moral reactions and did not show definite negative moral reactions to six behaviors ร diligences vigilance, self discipline, self improvement, health-cars, and self pride. 2. Pupils, teachers, and parents might show positive moral reactions and might not show negative moral reactions to ten behaviors: self confidence, self exploration, shame, setting self standards, self satisfaction, restraint in desire, self reward ,self consolation, guilt, and self punishment. 3. Pupils, teachers ,and parents could not make decision to show positive moral reactions and might not show negative moral reactions to two behaviors I self valuing, self adornment. 4. Pupils, teachers, and parents could not make decision Whether to have positive or negative moral reactions to the inability to control emotions. 5. Pupils, teachers, and parents did not show definite positive moral reactions and might show negative moral reactions to vice addiction. 6. The six independent variables significantly affected moral reactions to self-directed behaviors of other (P < .05 or beyond) The variables which produce many significant results were region, urbanity and status, respectively, and the one which produce only few significant results was religion. These results are presented below; 6.1 There were significant differences in moral reactions to self-directed behaviors for seventeen behaviors, among subjects from Bangkok, the Central, Northern Southern ,and Northeastern areas (p < .05 or beyond). 6.2 There were significant differences in moral reactions to self-directed behaviors for fifteen behaviors, among subjects from the Inner Bangkok, the suburbs, from the Amphoe Muang and Amphoe in the rural areas (p <. 05 or beyond). 6.3 There were significant differences in moral reactions to self-directed behaviors for thirteen behaviors, among Pathomsuksa 6 pupils, Mathayom 3 pupils , Mathayomsuksa 5 pupils, teachers and parents (p < .05 or beyond), 6.4 There were significant differences in moral reactions to self-directed behaviors for eleven behaviors, among subjects from different family occupations ,namely, civil service, worker, business, and employee (p < .05 or beyond). 6.5 There were significant differences between male and female subjects (p < .05 or beyond) in moral reactions to self directed behaviors for nine behaviors. 6.6 There were significant differences among Buddhist, Islam, and Christian subjects in moral reactions to self - directed behaviors for only one behavior.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24239
ISBN: 9745616346
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Waranya_Ve_front.pdf489.56 kBAdobe PDFView/Open
Waranya_Ve_ch1.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open
Waranya_Ve_ch2.pdf809.46 kBAdobe PDFView/Open
Waranya_Ve_ch3.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
Waranya_Ve_ch4.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open
Waranya_Ve_ch5.pdf354.59 kBAdobe PDFView/Open
Waranya_Ve_back.pdf876.63 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.