Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24272
Title: การศึกษาการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยที่มีหลายวิทยาเขต ศึกษาเฉพากรณี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Other Titles: A study on personnel management of multiple campuses university : a case study of Srinakharinwirot university
Authors: ปัทมาวดี สิงหศิวานนท์
Advisors: นิพนธ์ ศศิธร
พรหมพิไล คุณาพันธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีหลายวิทยาเขตอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทยและทำหน้าที่สร้างบุคลากรเพื่อออกไปเผยแพร่ความรู้ด้านการศึกษาแก่ประชาชน การบริหารงานบุคลของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒจึงมีความสำคัญและน่าสนใจยิ่ง โดยเฉพาะการคัดเลือกบุคลากร การจัดสรรบุคลากร การพัฒนาบุคลากรเพื่อให้มีความรู้ด้านวิชาการทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอและการติดต่อสื่อสารระหว่างวิทยาเขต วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ทำการศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางราชการ การสัมภาษณ์และการออกแบบสอบถาม ซึ่งพอสรุปได้ว่าการจัดสรรกำลังคนจากส่วนกลางไปยังวิทยาเขตไม่เพียงพอกับความต้องการของจำนวนนักศึกษาของวิทยาเขต โดยเฉพาะวิทยาเขตในส่วนภูมิภาคอัตราส่วนของอาจารย์ต่อนักศึกษาโดยเฉลี่ยสูงถึง 1:17 ในขณะที่วิทยาเขตในกรุงเทพมหานครมีอัตราส่วนโดยเฉลี่ย 1:9 และอัตราส่วนโดยเฉลี่ยทั้ง 8 วิทยาเขตเท่ากับ 1:12 การพัฒนาบุคลากรของวิทยาเขตนั้นมีหลายวิธีคือการฝึกอบรม การศึกษาต่อและทำการวิจัยทางวิชาการ โดยกำหนดเป้าหมายการพัฒนาบุคลากรไว้ว่าให้ข้าราชการลาศึกษาต่อทั้งในและต่างประเทศได้ไม่เกินร้อยละ 20 และ 12 ของจำนวนข้าราชการตั้งแต่ระดับสามขึ้นไป แต่โดยเฉลี่ยภายใน 3 ปี (2523-2525) มีข้าราชการที่ลาศึกษาต่อทั้งในและต่างประเทศเพียงร้อยและ 1.7 และ 1.3 ตามลำดับ ดังนั้นการพัฒนาบุคลากรจึงไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด บุคลากรในวิทยาเขตต่าง ๆ (ยกเว้นวิทยาเขตประสานมิตร) มีความรู้สึกแบ่งแยกเป็นคนละพวกเนื่องจากวิทยาเขตอยู่ห่างไกลกันและไม่มีการพบปะสังสรรค์กัน การติดต่อสื่อสรระหว่างส่วนกลางและวิทยาเขตไม่ล่าช้าเนื่องจากการติดต่อสื่อสารได้ใช้สื่อต่าง ๆ คือโทรศัพท์ รถยนต์ นอกจากนั้นจึงได้เลือกใช้สื่อที่ให้ความรวดเร็วกับบางวิทยาเขต เช่น ใช้ไปรษณีย์อากาศและเทเล็กซ์ วิทยาเขตต่าง ๆ ต้องการมีการบริหารงานที่เป็นเอกเทศเพราะว่าต้องการที่จะได้กำหนดนโยบายการดำเนินงานที่เหมาะสมตามแต่ภูมิภาคของวิทยาเขต จากการศึกษาการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒนั้นทำให้ได้เห็นปัญหาและข้อบกพร่องต่าง ๆ คือการจัดสรรกำลังคนของส่วนกลางไปยังวิทยาเขตในส่วนภูมิภาคไม่พอเพียงกับความต้องการของจำนวนนักศึกษา ส่วนการพัฒนาบุคลากรของวิทยาเขตไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ทั้งนี้เพราะไม่มีการวางโครงการและสำรวจความต้องการในการฝึกอบรมบุคลากรขาดความสามารถในการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาต่อ อุปสรรคทางด้านภาษาและทุนการศึกษาต่อต่างประเทศของมหาวิทยาลัยมีน้อย ส่วนอีกปัญหาหนึ่งก็คือโครงสร้างและพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒไม่รับกับสภาพความเป็นจริง เนื่องจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมีหลายวิทยาเขตแต่มีอธิการบดีและคณบดีเพียงคนเดียวรับผิดชอบงานทั้งหมดของมหาวิทยาลัยโดยที่แต่ละวิทยาเขตก็อยู่ห่างไกลกัน จากปัญหาและข้อบกพร่องต่าง ๆ ในการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒข้างต้นมีข้อเสนอแนะดังนี้ 1. การจัดสรรกำลังคนเพื่อให้วิทยาเขตได้อัตรากำลังคนเพิ่มขึ้นโดยให้ส่วนกลางตัดโอนอัตราที่ว่างลงไปยังวิทยาเขตภูมิภาค และจัดสวัสดิการเพื่อจูงใจให้แก่บุคลากรที่จะไปอยู่ในวิทยาเขตภูมิภาคนั้น ๆ 2. การพัฒนาบุคลากรนั้นจะต้องสำรวจความต้องการในการฝึกอบรมสัมมนาเพื่อให้ตรงกับความต้องการที่แท้จริง จัดให้มีการเสริมความรู้ด้านภาษาต่างประเทศให้แก่บุคลากรที่ต้องการศึกษาต่อในระดับสูง และจัดให้มีห้องสมุดอาจารย์ 3. การปรับปรุงโครงสร้างการจัดองค์การบริหารงานมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒใหม่โดยให้วิทยาเขตมีตำแหน่งสูงสุดคืออธิการบดีวิทยาเขตและคณบดีวิทยาเขต ซึ่งจะทำให้เกิดความเสมอภาคในตำแหน่งหน้าที่ในทุกวิทยาเขต การบริหารงานคล่องตัวและมีอำนาจในการบริหารงานมากกว่าเดิม บุคลากรมีขวัญและกำลังใจในการทำงานดีขึ้น
Other Abstract: The Srinakharinwirot University is a multi-campus institution with campuses in every region of the country providing facilities for learning the field of education. Personnel management of University of therefore an important and interesting [aspect] especially in the area of selection, allocation, development and communication. The information and data contained in this thesis were screened from official documents, interviews and questionaires. In conclusion, the study revealed that the allocation of manpower to campuses outside of central region is uneven and inadequate. The ratio of teaching staff to student in campuses outside of the central region is 1:17 compared to 1:9 in the main campus in Bangkok while the average ratio in the 8 campuses is 1:12 Seminars and trainings, further education, academic researches are some means employed in personnel development plan. The target set in the plan allowed that up to 20% of personnel from level 3 up can take a leave of absence for reason of further education in local institutes and 12% in institutes abroad. But during the 3 years (2523-2525) period studies, the pertentage of personnel using the priviledge were only 1.7% and 1.3% respectively. The target has not been reached. Personel of campuses in each region (except Prasarnmitr campus) have no feeling that they belong in the same organization because the campuses were distantly apart and there rarely were contact either academically or socially. There were no delay in Communication between central and regional campuses because the availability of mode of communication such as telephone and automobile. Some campus even have the use of air-mail and telex. All campuses have a desire to operate as a separate and independent entity so they could make their own policy and operate their particular campus. The study of personnel management in Srinakharinwirot University pointed out the following problem and shortfalls. (1) The allocation of manpower from central region to rural campus was not compatible with number of the students. (2) Personnel development plan has fallen far short of the target aimed. (3) The statute of the Srinakharinwirot University made the university’s organization structure unrealistic and impractical. The university has many campuses that were widely scattered all over the country but all campuses are under control and responsibility of one Rector and one group of Deans based at central campus. Suggestions of solutions to the said problems in personnel management of the University are offered as follows: (1) Allocate more manpower to rural campuses by reassignment of the needed positions from the roster of the central campus whenever such positions became an excess and unused in the central campus. Improvement in welfare plan of rural campuses as an incentive and inducement to personnel welling to be posted to the rural campuses. (2) In personnel development, training programs suited to the needs of work force in each particular campus should be created such as foreign languages improvement program for personnel wanting to participate in higher level of education or a special technical library for teaching staff. (3) Reorganization of the structure of organization of the University to promote equality among campuses. Each campus having their own Rector and Deans to rule, operate and be responsible for that campus which should result in better incentive to work and an uplift in morale of personnel in the rural campuses.
Description: วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พาณิชยศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24272
ISSN: 9745632961
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pattamavadee_Si_front.pdf557.88 kBAdobe PDFView/Open
Pattamavadee_Si_ch1.pdf445.22 kBAdobe PDFView/Open
Pattamavadee_Si_ch2.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
Pattamavadee_Si_ch3.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
Pattamavadee_Si_ch4.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Pattamavadee_Si_ch5.pdf489.83 kBAdobe PDFView/Open
Pattamavadee_Si_back.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.