Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24286
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุษม พัฒนะศิริ
dc.contributor.advisorจุฑา กุลบุศย์
dc.contributor.authorปิยกุล บุญเพิ่ม
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-16T05:36:19Z
dc.date.available2012-11-16T05:36:19Z
dc.date.issued2524
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24286
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524en
dc.description.abstractในช่วงระยะเวลาสิบกว่าปีมานี้ประเทศต่าง ๆ ได้ตระหนักถึงความสำคัญ และให้ความสนใจถึงงานคุ้มครองผู้บริโภคกันมาก เพราะการอุตสาหกรรม, การค้าได้ก่อให้เกิดอันตรายและความเสียหายแก่ผู้บริโภคอยู่เสมอมา ทั้งนี้เนื่องมาจากสินค้าขาดคุณภาพ ชำรุดบกพร่อง ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ปลอดภัย จำเป็นต้องมีมาตรการทางกฎหมายที่ได้ผล สามารถให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภคได้ และความคุ้มครองนี้ย่อมรวมไปถึงการเยียวยาแก่ผู้บริโภคในความเสียหายที่เขาได้รับ เพื่อบรรเทาเคราะห์กรรมที่เกิดขึ้นแก่เขา กฎหมายที่มีบทบาทในเรื่องการเยียวยาความเสียหายของผู้บริโภคที่กล่าวนี้คือ กฎหมายความรับผิดในการผลิตและการจำหน่ายสินค้า กฎหมายความรับผิดในการผลิตและการจำหน่ายสินค้าในประเทศต่าง ๆ ได้อาศัยหลักกฎหมายแพ่งมาปรับเป็นส่วนใหญ่ ทั้งหลักความรับผิดในทางสัญญาและหลักความรับผิดในทางละเมิด ซึ่งเป็นหลักการทั่วไปบังคับในกรณีผิดสัญญาและกระทำละเมิดทุกเรื่อง มิได้มีความเหมาะสมในการเยียวยาแก่ผู้บริโภคโดยเฉพาะ อย่างเช่น กฎหมายซื้อขายก็เป็นบทบัญญัติทั่วไปที่ใช้บังคับความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน โดยสันนิษฐานว่าคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่าย มีฐานะทางเศรษฐกิจและหลังการต่อรองเท่าเทียมกัน แต่ความเป็นจริงในกรณีระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับผู้บริโภคมิได้เป็นเช่นนั้น จึงเห็นได้ว่าหลักทั่วไปตามกฎหมายแพ่งอาจไม่เพียงพอที่จะให้การคุ้มครองเยียวยาผู้บริโภคได้ หลาย ๆ ประเทศจึงได้หามาตรการต่าง ๆ มาใช้เพื่อจะให้สามารถเยียวยาแก่ผู้บริโภคอย่างได้ผล นักกฎหมายทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและศาลต่างก็มีบทบาทในเรื่องนี้ ได้กำหนดหลักการต่าง ๆ โดยตราเป็นกฎหมาย และพิพากษาวางแนวบรรทัดฐานไว้ หลักการใหม่ ๆ ที่ได้รับการนำมาใช้ในการปรับปรุงกฎหมายความรับผิดในการผลิตและการจำหน่ายสินค้า คือ หลักการรับผิดเด็ดขาด และหลักกองทุนชดเชยความเสียหายเกี่ยวกับสินค้า เป็นต้น ประเทศไทยเองก็เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ กฎหมายที่นำมาใช้ให้การเยียวยาแก่ผู้บริโภคเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามหลักกฎหมายสัญญา หลักซื้อขาย และหลักละเมิด ซึ่งมีข้อบกพร่องหลายประการ ไม่เพียงพอที่จะให้การเยียวยาแก่ผู้บริโภคได้ แม้จะมีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พระราชบัญญัติยา, อาหารต่าง ๆ บัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค แต่ก็มิได้คำนึงถึงการเยียวยาความเสียหายแก่ผู้บริโภคแต่อย่างใด กฎหมายซื้อขายนั้นมีข้อขัดข้องจากกฎความสัมพันธ์ตามสัญญา ไม่สามารถให้การเยียวยาแก่ผู้บริโภคใด ๆ ที่ไม่ใช่ผู้ซื้อสินค้าโดยตรงจากผู้ขาย และที่สำคัญคือ อนุญาตให้ผู้ขายยกเว้นความรับผิดในความชำรุดบกพร่องของสินค้าตามกฎหมายซื้อขายไว้ล่วงหน้าได้ ทำให้ผู้ซื้อไม่ได้รับการเยียวยาตามกฎหมาย โดยผู้ซื้อไม่รู้เท่าทันผู้ขาย หรือหลงเชื่อตกลงด้วย หรือไม่มีอำนาจต่อรองที่จะไม่ยอมรับตามเงื่อนไขที่ผู้ขายกำหนดไว้ และยังมีปัญหาเกี่ยวกับความเสียหายที่จะให้เรียกร้องการเยียวยาชดเชยได้ตามกฎหมายสัญญา อาจไม่รวมถึงความเสียหายต่อร่างกายและทรัพย์สินใดที่นอกเหนือจากความเสียหายในตัวสินค้านั้นเอง สำหรับกฎหมายละเมิดแม้จะไม่กีดกันขัดขวางผู้บริโภคหรือบุคคลใด ๆ ที่ได้รับความเสียหาย ในการที่จะดำเนินคดีเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายที่เกิดจากสินค้า อนุญาตให้เรียกร้องได้ก็ตาม แต่ก็มีปัญหาและอุปสรรคเรื่องภาระการพิสูจน์ความผิดของจำเลย ทำได้ด้วยความลำบาก สิ้นเปลืองและบางครั้งไม่สามารถพิสูจน์ได้ ตัวผู้ผลิตผู้จำหน่ายเองก็สามารถยกเว้นความรับผิดไว้ล่วงหน้า หรืออ้างว่าผู้บริโภคที่เสียหายได้ให้ความยินยอมรับความเสี่ยงภัยจากสินค้าแล้ว เขาจึงไม่ต้องรับผิด หรืออ้างข้อต่อสู้ยกเว้นความรับผิดในบางประการที่ไม่สมควรให้อ้างต่อสู้ได้ นอกจากนี้ยังมีปัญหาในระบบการดำเนินคดีที่ไม่เอื้ออำนวยให้ผู้บริโภคได้รับการเยียวยาตามที่สมควรได้รับ ทั้งกฎหมายก็ขาดผลบังคับให้อย่างจริงจัง การให้ความรู้แก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายที่เขาจะได้รับยังทำไม่ได้ดี และประการที่สำคัญคือ การดำเนินคดีของผู้บริโภคมีผลแต่เพียงเฉพาะโจทก์ในคดีนั้นได้รับค่าเสียหายชดเชยแต่บางส่วน แต่ผลของคดีไม่มีผลห้ามปรามระงับยับยั้งการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายของผู้ประกอบธุรกิจที่เห็นแก่ตัว เขาสามารถไปก่อความเสียหายแก่ผู้บริโภคอื่น ๆ ต่อไปอีกได้ ดังนั้นเพื่อที่จะให้การคุ้มครองเยียวยาแก่ผู้บริโภคได้ผลอย่างแท้จริง ผู้เขียนจึงขอเสนอแนะให้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ขจัดอุปสรรคขัดข้องในการเยียวยาของกฎหมายสัญญากฎหมายละเมิดในประการต่าง ๆ และที่สำคัญที่สุด สมควรจะต้องนำหลักเกณฑ์ความรับผิดเด็ดขาดในทางละเมิดมาใช้ในคดีความรับผิดในการผลิตและการจำหน่ายสินค้า โดยกำหนดความรับผิดเด็ดขาดในทางละเมิดของผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้สั่งเข้า ซึ่งสินค้า ที่ประกอบการค้าเป็นอาชีพ ต่อผู้บริโภคหรือบุคคลใด ๆ ในความเสียหายต่อร่างกายหรือต่อทรัพย์สินที่เกิดจากความชำรุดบกพร่องของสินค้าซึ่งไม่ได้มาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยตามที่วิญญูชนคาดคิด ซึ่งการนำมาใช้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายอย่างมาก การดำเนินคดีเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อการเยียวยาความเสียหายที่เกิดจากสินค้าย่อมจะง่ายขึ้น เพราะไม่ต้องพิสูจน์ถึงความผิดของจำเลย และผู้เสียหายจะสามารถได้รับการเยียวยาในความเสียหายต่อร่างกายและทรัพย์สินอย่างทั่วถึง โดยไม่ติดขัดต่อหลักเกณฑ์ความสัมพันธ์ตามสัญญาด้วย นอกจากนี้ก็ต้องปรับปรุงแก้ไข บทบังคับตามพระราชบัญญัติต่าง ๆ ให้มีผลเยียวยาแก่ผู้บริโภคได้ในทุกขั้นตอน รวมทั้งอาศัยมาตรการสนับสนุนทางด้านนโยบาย, การศึกษา, ศาลเพื่อคุ้มครองเยียวยาแก่ผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแนวทางการปรับปรุงดังกล่าวนี้จะเป็นประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อสาธารณชนผู้บริโภคทั่วไป
dc.description.abstractalternativeOver the past decade, various countries have come to realize the significance of, and to take interest in, consumer protection, for industry and commerce have consistently inflicted harm and danger upon consumers by producing and distributing poor quality, defective, [under standard] and unsafe merchandises. Legal measures have become necessary to secure the consumers with effective protection including redressing such dangers to relieve their suffering. The law providing such redress to the injured consumer is that relating to products liability. The law on products liability of various jurisdictions mainly relies on the general principles of civil law, including contractual undertakings and tortious liability, which are the general principles of law enforcing breach of contract and all kinds of tort. They do not, in particular, provide direct and appropriate redress to consumers. The law of sale is a code governing the relationship between individuals on the presumption that both sides possess the same economic status and equal bargaining power, but, in fact, it is not so. It has been accepted at large that general principles of civil law do not afford sufficient consumer protection. As a result, various jurisdictions have turned to the measures that provide effective redress to consumers. Both legislators and judges have played this role. New legislations have been enacted and precedents laid down. The modern principles based on by the law governing laid down. The modern principles based on by the law governing products liability are the principles of strict liability and compensation fund for damages resulting from defective products. Thailand is no exception to other countries; the injured consumers could only seek recourse to the Civil and Commercial Code in the chapters on Juristic Acts, Sales and Wrongful Acts, which afford inadequate protection. Although there are legislations protecting consumers e.g. Food and Drugs Acts…etc., they are silent as to the award of compensation or damages. The law of Sales does not provide remedies for consumers who are not direct purchasers, still, the suppliers are able to exempt themselves from liability on defective products, leaving the purchasers with no remedies, in particular those who know less than the suppliers or who are misled or do not have any bargaining power to refuse the conditions put forward by the suppliers. There are still other problems on claiming compensation in contract in addition to personal injuries and damages to property other than the products so purchased. Although the law of tort never prevents any injured consumer from claiming damages resulting from defective goods, plaintiff have to bear of proof, which is too difficult and costly, and in some case, it is almost impossible. The manufacturers can also exempt themselves from certain liability or may plead that the consumers have consented to the risk of consuming the goods, or resort to some unconscionable exemption clause. In addition, legal procedure does not facilitate the injured consumers in pursuing the remedies as much as it should; enforcement is still ineffective. Consumers are not yet well – informed as to their legal [rights.] The most important is that compensation is only awarded to the successful plaintiff, the [judgment] does not apply to the manufacturer who are infringing other consumer, rights; and the former can cause damages to the latter. In order to achieve secure effective redress for consumers, it is hereby suffested that law amendments be required to remove the obstacles to remedies in contract, tort and others, and above all, the principle of strict liability should be invoked in cases concerning products liability by imposing such strict liability on the manufacturers, the retailers, the importers. They are to pay out compensations on personal or property injuries resulting from such products falling short of reasonable standard of safety. This will afford much more protection to the consumers. Claming for damages resulting from such products will become more convenient, for the consumers do not have to prove the fault of the defendants; all the injured parties are equipped with remedies without having to prove privity of contract. In addition, there is also a need to improve and amend the existing regulations and legislations of all steps of claim, including various measures on policy, education and litigations to ensure consumers the remedies, which will certainly benefit the [public] at large.
dc.format.extent715474 bytes
dc.format.extent389419 bytes
dc.format.extent617069 bytes
dc.format.extent3848441 bytes
dc.format.extent2647199 bytes
dc.format.extent1248275 bytes
dc.format.extent3005730 bytes
dc.format.extent5256839 bytes
dc.format.extent2515217 bytes
dc.format.extent793996 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleความรับผิดในการผลิตและการจำหน่ายสินค้าen
dc.title.alternativeProducts liabilityen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyakul_Bo_front.pdf698.71 kBAdobe PDFView/Open
Piyakul_Bo_ch1.pdf380.29 kBAdobe PDFView/Open
Piyakul_Bo_ch2.pdf602.61 kBAdobe PDFView/Open
Piyakul_Bo_ch3.pdf3.76 MBAdobe PDFView/Open
Piyakul_Bo_ch4.pdf2.59 MBAdobe PDFView/Open
Piyakul_Bo_ch5.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Piyakul_Bo_ch6.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open
Piyakul_Bo_ch7.pdf5.13 MBAdobe PDFView/Open
Piyakul_Bo_ch8.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open
Piyakul_Bo_back.pdf775.39 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.