Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24295
Title: ประเภทของนิทานที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สาม
Other Titles: Types of story that enrich creative thinking of prathom suksa three students
Authors: วรรณนิภา เพ็ญศรี
Advisors: อำไพ สุจริตกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาประเภทของนิทาน ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สาม ที่มีอายุระหว่าง 8 -10 ปี โรงเรียนเทวัญอำนวยวิทย์ โรงเรียนบ้านกรุง โรงเรียนศรีสำโรง สังกัดสำนักงานประถมศึกษา จังหวัดสุโขทัย จำนวน 90 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โรงเรียนละ 30 คน จากนักเรียนที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตลอดปีทุกกลุ่มประสบการณ์เกรดเฉลี่ย 2.5 – 3.00 แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 3 กลุ่มๆละ 30 คน ทุกกลุ่มมีสภาพคล้ายกันที่สุด ในด้านการจัดประสบการณ์การสอนและสิ่งแวดล้อม ให้แต่ละกลุ่มทดลองฟังนิทาน กลุ่มละ 1 ประเภท คือกลุ่ม 1 โรงเรียนเทวัญอำนวยวิทย์ ฟังนิทานเกี่ยวกับเทพนิยาย กลุ่ม 2 โรงเรียนบ้านกรุ ฟังนิทานเกี่ยวกับสัตว์ กลุ่ม 3 โรงเรียนศรีสำโรง ฟังนิทานเกี่ยวกับการผจญภัย สมมุติฐานในการวิจัยคือ นิทานทั้งสามประเภทให้ความคิดสร้างสรรค์ต่างกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ นิทาน 3 ประเภท คือ นิทานเกี่ยวกับเทพนิยาย นิทานเกี่ยวกับสัตว์ นิทานเกี่ยวกับการผจญภัย ประเภทละ 15 เรื่อง รวม 45 เรื่อง และแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ 4 ฉบับ ซึ่งดัดแปลงมาจากแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ของอี พอล ทอร์แรนซ์ (E .Pual Torrance) ฉบับที่ 1 เป็นการวาดภาพจากวงกลม (Circles Task) ฉบับที่ 2 เป็นการวาดภาพจากรูปสี่เหลี่ยม (Square Task) ฉบับที่ 3 ผลที่จะเกิดขึ้น (Consequences) ฉบับที่ 4 ประโยชน์ของสิ่งของ (the Use of things) การให้คะแนนแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ ให้ตามแบบของกิลฟอร์ด (Guilford) คือ คะแนนความคิดแคล่วคล่อง (Fluency) หมายถึง คะแนนที่ได้จากการนับคำตอบทั้งหมด คะนนความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึงคะนนที่ได้จากคำตอบที่ไม่มีอยู่ในทิศทางเดียวกัน คะแนนความคิดริเริ่ม (Originality) หมายถึงคะแนนที่ไม่ซ้ำกับของคนอื่น ในกลุ่มตัวอย่าง ให้คำตอบข้อละ 1 คะแบบ วิธีดำเนินการวิจัย ก่อนทดลองเล่านิทาน ผู้วิจัยได้รับการวัดความคิดสร้างสรรค์ (Pre test) กับนักเรียนทั้ง 3 กลุ่ม ทิ้งช่วงไว้ 7 วัน จึงทดลองเล่านิทาน โดยแยกกลุ่มฟัง วันละ 1 เรื่อง ทั้ง 3 กลุ่ม จนครบ 15 เรื่อง วิธีการเล่านิทาน ผู้วิจัยใช้อุปกรณ์ประกอบการเล่านิทาน เช่น รูปภาพ ของจริง หุ่นจำลอง หุ่นมือ และให้เด็กแสดงบทบาทประกอบเรื่อง โดยใช้เทคนิคให้คล้ายคลึงกันมากที่สุด ในแต่ละกลุ่ม หลังจากแต่ละกลุ่มฟังนิทานครบ 15 เรื่องแล้ว ทิ้งช่วงไว้ 7 วัน จึงทำการวัดความคิดสร้างสรรค์ หลังการเล่านิทาน (Post test) ด้วยแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ชุดเดียวกัน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีทางสถิติ 2 วิธี คือ การหาค่า t ของแต่ละกลุ่มเพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนการฟังนิทาน (Pre test) กับคะแนนเฉลี่ยหลังการฟังนิทาน (Post test) เพื่อต้องการศึกษาว่า หลังจากฟังนิทานแล้วเด็กมีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .05 หรือไม่ และวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (Analysis of Covariance) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS (Statistical Package for Social Science) เพื่อเปรียบเทียบผลการฟังนิทานแต่ละประเภท ได้แก่ นิทานประเภทเทพนิยาย นิทานประเภทสัตว์ นิทานประเภทผจญภัย ถ้าได้ผลว่า โดยเฉลี่ยแล้วแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกัน ก็เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีของเซฟเฟ่ (Shedde’) ค่าเฉลี่ยที่นำมาเปรียบเทียบกัน เป็นคะแนนหลังการทดลองของทุกกลุ่ม เมื่อปรับด้วยคะแนนพื้นฐาน ซึ่งวัดก่อนการทดลอง ผลการวิจัย 1. การฟังนิทาน 3 ประเภท คือ นิทานประเภทเทพนิยาย นิทานประเภทสัตว์ นิทานประเภทผจญภัย ทำให้เด็กทั้ง 3 กลุ่ม มีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. หลังจากฟังนิทานแล้ว ทำการวัดความคิดสร้างสรรค์ ด้วยแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ 4 ฉบับ ปรากฏว่า เด็กทั้ง 3 กลุ่ม มีความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่น และความคิดริเริ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านความคิดคล่องแคล่ว จากแบบวัดความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับประโยชน์ของสิ่งของ และด้านความคิดริเริ่ม จากแบบวัดความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับผลที่จะเกิดขึ้น พบว่า กลุ้มที่ฟังนิทานประเภทเทพนิยายและผจญภัย ได้คะแนนเฉลี่ยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .05 และ ทั้งสองกลุ่มได้คะนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่ฟังนิทานปะเภทสัตว์
Other Abstract: This experimental study aimed at the investigation of the effect of types of stories told by the teachers on children's creativity. Sample were 90 third grade students, 8 - 10 years old, 30 each from Tewan Umnoywit School, Bankru School and Sri Samr.ong School under the Sukhothai Educational Provincial Office. These students were those who obtained a very high achievement level of the average of 2.5 - 3.0 out of 4 points system, in every group of learning experiences. The three groups were equated in terms of students' background and instructional conditions. Three types of stories, Fairy Tales, Animal Stories and Adventurous Stories were told to the three 30 student groups, with Fairy Tales to the first 3roup from Tewan Umnoywi School, Animal Stories to those from Bankru School and Adventurous Stories to those from Sri Samrong School. Fifteen stories each were told to each of the three groups. The comparison of the gain scores on four subtest of the creative thinking were made to test the hypothesis of the significant gains due to the effect of the three types of stories. our subtests of test on creative thinking , adapted from E .Pual Torrance's Test of Creativity were administered to the 90 subjects both prior to and after the treatment of story telling. The four subtests were the Circles Task, the Square Task, the Consequences and the Use of things. Responses were marked according to Guilford's procedure. Fluency, Flexibility and Originality were assessed in each of the items. A score of 1 was given to the response that illustrates each of these three attributes. Seven days after the subjects had t ken the pretest, the r were told one story a day according to the previous designated types of stories until all 15 stories were presented. The similarity of story presentation was controlled through the same utilisation of pictures, real objects, models, puppets, and students' role playing. Seven days after the last story was told, the post-test, the same as the pre -test, was then given. The t-test and the Analysis of Co-Variance from the SPSS were used in data analysis. Results 1. The t-test indicated that, for all subjects, the gain was statistically significant at p = .05 level. 2. It was further found, through the Analysis of Co-variance, that differences among the post test score adjusted by the pre-test on the three attributer, Fluency, Flexibility , and Originality were not statistically significant , except the Fluency on the Use of Thing subtest , and the Originality on the Consequence subtest. The Sheffe procedure was them performed on the adjusted means for the pairwise comparison. It was found that, for both subtests, students who had listened to the Fairy Tales and Adventurous Stories were more creative than those who had listened to the Animal Stories.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24295
ISBN: 9745643831
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wannipa_pe_front.pdf3.89 MBAdobe PDFView/Open
Wannipa_pe_ch1.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open
Wannipa_pe_ch2.pdf9.27 MBAdobe PDFView/Open
Wannipa_pe_ch3.pdf6.51 MBAdobe PDFView/Open
Wannipa_pe_ch4.pdf3.32 MBAdobe PDFView/Open
Wannipa_pe_ch5.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open
Wannipa_pe_back.pdf28.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.