Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24297
Title: | การวางแผนการใช้ที่ดินเขตคลองสาน เพื่อรองรับโครงการสะพานตากสินฯ |
Other Titles: | Land use planning of Klongsan district in response to Taksin bridge project |
Authors: | เปรมศิริ เกษมสันต์ |
Advisors: | ศักดิ์ชัย คิรินทร์ภาณุ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 ได้กำหนดนโยบายชะลอการเติบโตของกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมิให้พื้นที่เมืองมีการขยายตัวออกไปอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด ซึ่งจะเป็นปัญหาในด้านการให้บริการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ รวมถึงเป็นการรุกล้ำพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ทางการเกษตรที่อยู่บริเวณชานเมือง จึงมีนโยบายควบคุมการใช้พื้นที่มิให้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ด้วยการกำหนดพื้นที่สีเขียวล้อมรอบกรุงเทพมหานครและเน้นการปรับปรุงชุมชนภายในบริเวณชุมชนเดิมให้มีประสิทธิภาพในการรองรับการขยายตัวของประชากรที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต เขตคลองสานเป็นเขตหนึ่งในเขตเมืองชั้นใน ที่มีความเหมาะสมต่อการปรับปรุงฟื้นฟูเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าว เพราะตำแหน่งที่ตั้งของเขตอยู่ในบริเวณศูนย์กลางเมืองใกล้แหล่งงานและย่านธุรกิจการค้าที่สำคัญ สภาพปัจจุบันเป็นย่านพักอาศัยที่มีปัญหาในด้านการใช้ที่ดินขาดประสิทธิภาพ มีความแออัดหนาแน่นในแนวราบและสภาพของอาคารเสื่อมโทรมในหลายพื้นที่ ประกอบกับไม่ได้รับการส่งเสริมในด้านสาธารณูปโภคอย่างทั่วถึง บริเวณตอนกลางของพื้นที่จึงเป็นที่อยู่อาศัยเบาบางและมีที่ว่างที่ไม่ได้รับการพัฒนาแทรกอยู่เป็นจำนวนมาก การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางกายภาพของเขตคลองสาน ด้วยการสร้าง “สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” เชื่อมโยงพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำเข้าด้วยกัน ทำให้ลักษณะดั้งเดิมของชุมชนพักอาศัยถูกทำลายลง กลายเป็นทางผ่านของเส้นทางคมนาคมสายสำคัญ ซึ่งคาดว่าจะมีอิทธิพลต่อการพัฒนาพื้นที่นี้เป็นอย่างมาก เพราะการเชื่อมต่อเขตคลองสานกับเขตบางรักและเขตยานนาวาเข้าด้วยกัน ทำให้เขตคลองสานมีการเข้าถึง (accessibility) สะดวกขึ้นมาก โดยเฉพาะการติดต่อกับย่านพาณิชยกรรมศูนย์กลางเมือง สภาพปัจจุบันของเขตคลองสานจึงมีศักยภาพในการพัฒนาหลายประการดังนี้ 1. ตำแหน่งที่ตั้งอยู่ในบริเวณศูนย์กลางเมือง ใกล้แหล่งงานในสถาบันราชการและธุรกิจเอกชน สถาบันการศึกษา ย่านการค้าสำคัญ ในเขตพระนคร สัมพันธวงศ์ บางรัก ปทุมวัน และแหล่งงานทางด้านอุตสาหกรรมในเขตยานนาวา ธนบุรี ราษฎร์บูรณะ ภาษีเจริญ 2. พื้นที่เขตติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาด้านหนึ่ง สามารถที่จะใช้ประโยชน์จากแม่น้ำในด้านการอุปโภค คมนาคมขนส่ง ระบายน้ำ และพักผ่อนหย่อนใจ 3. การคมนาคมขนส่งในปัจจุบันมีความสะดวกคล่องตัว และในอนาคตจะมีการขนส่งมวลชนระบบรถรางไฟฟ้าตัดผ่านเขตนี้ 2 สาย 4. พื้นที่ว่างที่ยังไม่ได้รับการพัฒนายังคงหลงเหลืออยู่บริเวณตอนกลางของพื้นที่ ซึ่งถนนตากสินตัดใหม่ตัดย่าน ประกอบกับราคาที่ดินในเขตนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับเขตชั้นในทางฝั่งพระนครยังต่ำกว่ามาก เขตคลองสานจึงเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการใช้ที่ดินทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม คลังสินค้า ฯลฯ แต่การอนุรักษ์พื้นที่พักอาศัยในเขตเมืองที่ใกล้แหล่งงานและสะดวกต่อการให้บริการทางด้านสาธารณูปโภค เป็นหลักการที่ควรคำนึงถึงเป็นอย่างมาก เพราะการอยู่อาศัยไกลจากศูนย์กลางเมือง โดยไม่มีระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพมารองรับย่อมทำให้ประสบความยากลำบากในการเดินทางเข้าหาแหล่งงาน เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูง ดังนั้นเพื่อมิให้คุณค่าของพื้นที่พักอาศัยในเขตเมืองชั้นในต้องสูญเสียไป อันเนื่องมาจากการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างไม่มีระเบียบแบบแผน และเพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายยังยั้งการขยายตัวของย่านพักอาศัยในเขตชานเมืองซึ่งเป็นเขตเกษตรกรรม จึงเห็นควรกำหนดนโยบายในการพัฒนาเขตคลองสาน ให้มีการใช้ที่ดินเป็นย่านพักอาศัยความหนาแน่นสูงเป็นส่วนใหญ่ โดยอาศัยการปรับปรุงฟื้นฟูให้มีสภาพของเมืองใหม่เกิดขึ้นในเมืองเดิม (New Town-In Town) มีสาธารณูปโภคและสาธารณูปการอย่างเพียงพอ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยและพักผ่อนหย่อนใจ และเอื้ออำนวยต่อการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามสมควร การวางแผนได้เลือกพื้นที่บริเวณริมถนนตากสินตัดใหม่มาดำเนินการเพราะการเปลี่ยนแปลงการให้ที่ดินในบริเวณนี้จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว ในลักษณะของการพัฒนาตามแนวเส้นทางคมนาคม (Ribbon Development) การปลูกสร้างอาคารในบริเวณนี้ยังไม่หนาแน่น โอกาสที่จะควบคุมลักษณะทางกายภาพของอาคารมีความเป็นไปได้มาก รวมทั้งปัญหาความขาดแคลนโครงข่ายถนนและสาธารณูปโภคที่จำเป็นจะต้องปรับปรุงแก้ไข แนวทางในการพัฒนาได้มุ่งไปยังการวางผังระบบถนนและสาธารณูปโภคเป็นลำดับแรก โดยคำนึงถึงระบบถนนที่เป็นตาตาราง (grid system) สัมพันธ์กับถนนที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ จึงประกอบด้วยการตัดถนนใหม่และปรับปรุงถนนเดิม สำหรับการใช้ที่ดินในแต่ละบริเวณได้พิจารณาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ ทฤษฎีที่ตั้ง ศักยภาพในการพัฒนาและสภาพแวดล้อม โดยยึดถือนโยบายหลักของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร การใช้ที่ดินส่วนใหญ่จึงกำหนดให้เป็นย่านที่อยู่อาศัยหนาแน่น มีการใช้ที่ดินแบบผสมระหว่างพาณิชยกรรมและพักอาศัยตามแนวเส้นทางระบบขนส่งมวลชนสายประธาน และศูนย์กลางพาณิชยกรรมบริเวณวงเวียนใหญ่ จัดให้มีการกระจายตัวของสถาบันการศึกษาและบริเวณพักผ่อนหย่อนใจเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะริมแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีการใช้ที่ดินเป็นที่โล่งที่ว่างมากเป็นพิเศษ รวมทั้งสวนสาธารณะเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและภูมิทัศน์ของเมือง ประโยชน์ที่จะได้จากการปฏิบัติตามผัง มีทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งยุทธวิธีในการพัฒนาให้เป็นไปตามผังจะประกอบด้วยการก่อสร้างใหม่ (Reconstruction) การปรับปรุงฟื้นฟู (Redevelopment) และการอนุรักษ์ (Conservation) ดังนั้นจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายคือ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานเอกชน และประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ สำหรับการดำเนินการให้เป็นไปตาม (Implementation) ต้องอาศัยประสิทธิภาพในด้านการบริหารหน่วยงาน การบริหารงบประมาณ และมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการผังเมือง |
Other Abstract: | The policy of restraining the physical expansion of the city of Bangkok in the Fifth National Economic and Social Development Plan arises out of two main problems; firstly, the unlimited growth of Bangkok has direct caused the shortages in the provision of urban public utilities and facilities; secondly, the uncontrolled expansion of the city area also means the invasion in to furtile agricultural land around Bangkok. The according strategies designated in the policy are to control the extent of land use, by using the green area to stop the continuous expansion of the city area, and emphasis the improvement in existing settlement, in order to increase the capacity of existing built-up areas for greater number of population in future. Klongsan District, one of inner district areas of the city is highly considered to be suitable area for redevelopment in according to sush improvement policy. At present, it is located in central business district near major commercial area and job opportunity location the residential zone in central area of the district can generally be described as condened settlement and in efficient with the intervention of many undeveloped pieces of land. Many building in the area can be seen in deterioration conditions. The distribution of public utilities and facilities is also unbalance and [insufficient] in same areas of the district. The construction of Somdej Pracho Taksin Maharaj Bridge and the new major road network joining both side river area have immense impact on the physical structure in the district and created the deterioration of old residential settlement, then turn into by pass area. The bridge and the new major road link this district with the main central business districts of Bangrak and Yannava. Consequently, Klongsan District has had greater accesibity and more potential for development. These potentialities can be spelled out as followed. 1. Its central location closes to many governmental and private offices, educational institutions and trading centers of Samphantawong Bangrak and Pratoomwun Districts, and industrial zone of Yannava, Rajaburand and Pasrichareon Districts. 2. The water front area of the district can be used for transportation, drainage system and recreational facility. 3. Transportation with in the district is reasonably convenient at present. There will be two electric railway lines pas through the area for mass transportation. 4. There still many undeveloped areas in this district along the new major road and the lower prices of land compare to the other side the city. Therefore, it is quite suitable that many patterns of land use: such as commercial area, industrial area and [warehouses], can be well developed in the district. Novertheless, special interest should be paid on the conservation of residential areas from being instruded by the unorganized expansions of economic activities. Living in this district has many advantages especially the shorter time and the lower cost of travelling to and from the city. Furthermore, if the policy of restricting the invasion of residential areas of the outer suburbs into the agricultural areas around Bangkok is to be fully realized, the best alternative for residential growth should be in the inner areas of the city such as the ones in Klongs Klongsan District. High density residential areas are proposed as the type of development. The concept of New Town – In Town will be used to ensure the sufficient distribution of public utilities and facilities along with the suitable surrounding for living, recreation and economic activities. The selected areas for such development is the areas along Taksin Road. These areas have high potential for development. The existing low desity of buildings will make it easy to control and guide for the rapid changes including the provision the public utilities and facilities that will be induced in the near future. The development strategy give the first priority to infrastructure planning. The grid system will be use for street planning. In addition to economic, locational and environmental factors, each [type] of land use will be planned in accordance with the Bangkok Master Plan. The details include the mixture of trading areas with residential area along the main mass transportation lines. There will be more educational institutes and recreational centers distributed in the area. Especially, the water front area will be kept as open space which will be used as recreational facility. In conclusion, the planning strategies consist of reconstruction, redevelopment and conservation. This will give the best result in physical, socio-economic [aspect] if can follow this plan. However, these strategies will not be fully implemented without the cooperations from different governmental agencies and private sectors, together with the efficiency of the administrative system in [budgeting] and law regulations related to City Planning Act. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | การผังเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ผังเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24297 |
ISSN: | 9745637211 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Premsiri_Ka_front.pdf | 650.39 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Premsiri_Ka_ch1.pdf | 1.45 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Premsiri_Ka_ch2.pdf | 5.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Premsiri_Ka_ch3.pdf | 3.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Premsiri_Ka_ch4.pdf | 2.65 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Premsiri_Ka_ch5.pdf | 388.2 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Premsiri_Ka_ch6.pdf | 455.08 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Premsiri_Ka_back.pdf | 306.86 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.