Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24301
Title: การใช้เหตุผลในทางกฎหมาย
Other Titles: Legal reasoning
Authors: วิชา มหาคุณ
Advisors: ธานินทร์ กรัยวิเชียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: กฎหมาย -- ปรัชญา
การอ้างเหตุผล
Law -- Philosophy
Reasoning
Issue Date: 2516
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กฎหมายเป็นปรัชญาที่ว่าด้วยเหตุผล ปรัชญาเป็นวิชาที่ว่าด้วยเหตุผลและการคิดหาเหตุผล แต่หลักและความเชื่อของปรัชญาเมธีย่อมแตกต่างกันออกไปตามยุคสมัย ซึ่งเมื่อสรุปแล้วหลักและความเชื่อนั้นก็ลงรอยเดียวกันที่ว่า การแสวงหาความรู้โดยอาศัยหลักเหตุผล ยิ่งกว่าอาศัยอำนาจอื่นใดเป็นเกณฑ์กำหนด เมื่อเราพิเคราะห์ถึงความหมายของกฎหมายจากความคิดเห็นของนักนิติศาสตร์แล้ว จะเห็นได้ว่ากฎหมายคือกฎเกณฑ์หรือแบบแผนความประพฤติของมนุษย์ในสังคมที่มีลักษณะบังคับซึ่งรัฐยอมรับและนำไปใช้เพื่อความเป็นธรรมและความสงบสุขของสังคม กฎเกณฑ์ดังกล่าวจะต้องกอปรด้วยเหตุผล ไม่ขึ้นกับอำเภอใจของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง กฎหมายเป็นปรัชญาที่ว่าด้วยเหตุผล เพราะเหตุผลเป็นหัวใจของกฎหมายเช่นเดียวกับที่เป็นหัวใจของปรัชญา นอกจากนี้กฎหมายยังครอบคลุมศาสตร์ทั้งปวง โดยสกัดเอาความเห็นของนักปราชญ์ เฉพาะส่วนที่ดีและเหมาะสมมาวางเป็นแนวทางให้ประชาชนยึดถือปฏิบัติ รูปลักษณ์และวิถีทางของกฎหมายจึงเป็นอย่างเดียวกับปรัชญานั่นเอง ตรรกวิทยาเป็นวิชาที่ว่าด้วยการคิดหาเหตุผลอย่างถูกต้อง ดังนั้นตรรกวิทยาจึงเกี่ยวพันกับกฎหมายอย่างลึกซึ้งจนแยกกันไม่ออก ไม่ว่าจะเป็นการบัญญัติกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย การต่อสู้คดี หรือการตัดสินคดี ก็ต้องอาศัยหลักเหตุผลแห่งตรรกวิทยาเป็นเครื่องมือช่วยทั้งสิ้น กล่าวคือในการร่างกฎหมาย ผู้ร่างจะต้องค้นคว้าและวางกฎเกณฑ์ให้สมเหตุสมผลในการบังคับใช้กฎหมาย ฝ่ายบริหารก็จะต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างมีเหตุผล ในการต่อสู้คดี ผู้ที่เป็นทนายแก้ต่างก็ต้องหาเหตุผลมาจูงใจศาลให้คล้อยตามข้อต่อสู้ของฝ่ายตน และในการตัดสินคดี ผู้พิพากษา จะพิเคราะห์ข้อเท็จจริงแห่งคดีโดยอาศัยแห่งเหตุผลและปรับบทกฎหมายให้สมเหตุสมผลและความเป็นธรรมแห่งคดี การพิเคราะห์หาเหตุผลในกฎหมาย การพิเคราะห์หาเหตุผลในกฎหมาย คือกระบวนการค้นหาเหตุผลในกฎหมายให้ได้ข้อเท็จจริงที่ว่า เหตุใดกฎหมายจึงได้บัญญัติขึ้นเช่นนั้น บัญญัติขึ้นโดยมีความมุ่งหมายอย่างใดสมเหตุสมผลหรือไม่เพียงใด โดยจะต้องพิเคราะห์หาเหตุผลตามตัวอักษรแห่งบทกฎหมาย ในเมื่อบทกฎหมายนั้นมีข้อความชัดเจนอยู่แล้ว และพิเคราะห์หาเหตุผลตามเจตนารมณ์แห่งบทกฎหมาย ในเมื่อบทกฎหมายนั้นๆ บัญญัติไว้เคลือบคลุมไม่ชัดแจ้ง เครื่องมือที่ใช้ช่วยค้นหาเหตุผลตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มีอยู่หลายประการคือ ก. เหตุผลของผู้ร่างกฎหมาย ข. ความเป็นธรรม ค. แนวบรรทัดฐานแห่งคำพิพากษา ง. ลัทธิการเมือง ระบบเศรษฐกิจและสังคม จ. ทฤษฏีกฎหมาย เหตุผลในกฎหมาย หลักสำคัญของเหตุผลในกฎหมายก็คือ เหตุผลที่ให้ในกฎหมายไม่ว่าจักเป็นเรื่องซึ่งอยู่ในสาขาใดแห่งกฎหมายก็ตาม จักต้องสั้น กะทัดรัด ได้ใจความ อีกทั้งสมเหตุสมผล สอดคล้องต้องกับสามัญสำนึก และเป็นธรรม ในการวิเคราะห์เบื้องต้นสุดท้าย เหตุผลเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในอาณาจักรของกฎหมาย
Other Abstract: Law is the philosophy of reasoning Philosophy is the science of reason and reasoning, The principles and beliefs of philosophers are as distinct as time; but we may sum up that they are con¬sistent with the search for knowledge which is based on the principle of reason more than on anything else. When we consider the meaning of law from the jurists standpoint; we will find that law is the rule by which the human behavior is governed in society for peace, security and justice among its members. The legal rules must have sound reason for their enactment. They do not resort to any arbitrary will, but are based upon the philosophy of reason or logic. Logic is the art of reasoning. We can not separate logic from law. If any legislation, any government’s decision, any argument in court or any judgement is to be respected, it must stand to reason, for example: in making a bill, the legislature must make research and lay the rules with good reasons; in law enforcement, the Executive must have justification for it; in legal argument, the advocate must seek good grounds so as to persuade the judge to believe them; and when deciding a case, the judge will apply the law to the findings of fact in the case, using sound legal reasoning to support his judgement. The search for legal reasoning The search for legal reasoning is the process of seeking reason in the law to discover why the law is so provided; what the intention of the law is, and whether or not it is reasonable» We must search for reason within the letters of its provisions, if it is express, and within the spirit of its provisions, or if it is ambiguous. The legal reasoning may be drawn from one or more of the following sources ( a ) reason for its promulgation, ( b ) equity, ( c ) stare decisis, ( d ) political ideology, the economic or social system, and ( e ) theory of law A guiding principle of legal reasoning is: The reason, which is given in law, no matter what branch of the law it is, must be concise, clear, sound and in accord with common sense and equity. In the final analysis, the power to reason reigns supreme in the realm of the law.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2516
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24301
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vicha_Ma_front.pdf914.42 kBAdobe PDFView/Open
Vicha_Ma_ch1.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Vicha_Ma_ch2.pdf697.5 kBAdobe PDFView/Open
Vicha_Ma_ch3.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Vicha_Ma_ch4.pdf3.34 MBAdobe PDFView/Open
Vicha_Ma_ch5.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open
Vicha_Ma_ch6.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open
Vicha_Ma_ch7.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open
Vicha_Ma_ch8.pdf564.55 kBAdobe PDFView/Open
Vicha_Ma_back.pdf648.34 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.