Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2431
Title: ภาวะออกซิเดชั่นจากการให้เหล็กทางเส้นเลือดแบบเร็วและแบบช้าในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ทำการฟอกเลือด
Other Titles: Oxidative stress from rapid and slow intravenous iron replacement in patient on hemodialysis
Authors: ขจร ตีรณธนากุล
Advisors: สมชาย เอี่ยมอ่อง
ปิยะรัตน์ โตสุโขวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: ไตวายเรื้อรัง
ออกซิเดชัน
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ ศึกษาผลการให้ IV iron ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ในแง่ทำให้เกิด oxidative stress ว่าวิธีการในการให้ IV iron ที่มีคำแนะนำการให้ระหว่างแบบเร็ว และแบบช้า วิธีใดจะทำให้เกิด oxidative stress น้อยที่สุด วิธีดำเนินการ เป็นการศึกษาแบบ Prospective Cross-over Clinical Trial ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ทำการฟอกเลือดและจำเป็นต้องให้เหล็กทางเส้นเลือดทุก 2 สัปดาห์ จำนวน 19 ราย แต่ละรายจะทำการศึกษาช่วงที่ผู้ป่วยฟอกเลือด 3 ครั้ง เป็นช่วงที่ให้เหล็ก2ครั้ง ด้วยวิธีที่ต่างกัน และอีกครั้งฟอกเลือดโดยไม่ให้เหล็ก แต่ละครั้งเก็บข้อมูล ภาวะเหล็กในร่างกาย (serum iron, UIBC, TIBC, ferritin) ตัวแทนภาวะออกซิเดชั่น (plasma และ Rbc MDA) และตัวแทนภาวะต้านออกซิเดชั่น (Total antioxidant) เป็นระยะ เพื่อมาเปรียบเทียบกันโดยใช้พื้นที่ใต้กราฟ ผลการศึกษา การให้เหล็กด้วยวิธีฉีดใน5นาที และหยดใน1ชั่วโมง เกิดภาวะเหล็กเกินความสามารถของ transferin ที่จะจับ 11/19 และ 10/19 รายตามลำดับ ภาวะออกซิดั่นที่ดูจากพื้นที่ใต้กราฟของ plasma MDA (mM.min) และ Rbc MDA (nM.min/gHb) พบว่ากลุ่มที่ได้ IV iron 5 นาที เท่ากับ 726.2 +- 258.6, 8377.9 +- 11600.6 กลุ่มที่ได้ IV iron 60 นาที เท่ากับ 803.2 +- 174.3, 9305.0 +- 11839.9 ไม่แตกต่างกันในทางสถิติ (p=0.27 และ 0.24) ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้ให้เหล็กเท่ากับ 687.7 +- 176.0, 10135.0 +- 17362.7 ส่วน total antioxidant capacity มีค่าลดลงระหว่างการฟอกเลือดทั้งและไม่แตกต่างกันระหว่างการให้เหล็กสองวิธี การเกิดอาการแสดงไม่พึงประสงค์ระหว่างการให้เหล็กไม่แตกต่างกันในสองวิธี สรุป การให้เหล็กทั้ง 2 วิธี ไม่ได้ก่อให้เกิดผลข้างเคียงในแง่อาการทางคลินิก และการเปลี่ยนแปลงของภาวะออกซิเดชั่นที่แตกต่างไปจากการไม่ให้ในประชากรกลุ่มที่ศึกษา ดังนั้นเป็นการยืนยันถึงความปลอดภัยในการให้เหล็กในผู้ป่วย และการให้แบบเร็ว 5 นาที ไม่ก่อให้เกิดผลเสียเมื่อเทียบกับการให้ช้าใน 1ชั่วโมง ในขณะที่มีความสะดวก ประหยัด และลดการสูญเสียยาจากการฟอกเลือดได้
Other Abstract: Objectives : To compare the degree of oxidative stress induced by two methods, rapid injection vs. slow infusion, of intravenous iron therapy. Methods : A prospective cross-over clinical trial was conducted in 19 stable hemodialysis patients requiring intravenous iron sucrose therapy every 2 weeks. Each patient was studied during 3 hemodialysis sessions by cross-over between two methods of IV iron therapy intervened with a non IV iron therapy session. Iron profile, oxidative stress markers (plasma and Rbc malonyldialdehyde or MDA) and antioxidative stress marker (Total antioxidant status), was collected periodically. Results : Both methods did not induce clinical severe adverse effects, but induced oversaturation stage of iron in 11/19 case in rapid IV iron group and 10/19 case in slow IV iron group. Oxidative stress demonstrated by AUC0-240 min of plasma MDA (mM.min) and Rbc MDA (nM.min/gHb) in rapid IV iron group (726.2 +- 258.6 and 8377.9 +- 11600.6) and slow IV iron group (803.2 +- 174.3 and 9305.0 +- 11839.9) were not different (p=0.27 and 0.24). These markers in iron group are 687.7 +- 176.0 and 10135.0 +- 17362.7. Total antioxidant level was decrease during hemodialysis in all groups. Conclusions : This study reassures that both IV iron methods can be safely used in hemodialysis patient. The rapid injection of iron sucrose in 5 min should be the method of choice because it is more convenience and still retain the safety profile.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2431
ISBN: 9741731434
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
khajohn_Tira.pdf941.42 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.