Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24332
Title: การศึกษาการจัดการด้านการตลาดของเครื่องสำอาง ที่ใช้ระบบการขายโดยตรง
Other Titles: A study on marketing management of direct selling cosmetics
Authors: วิเชียร โรจน์สิงห์สวัสดิ์
Advisors: อมรเทพ ดีโรจนวงศ์
สุรัชนา วิวัฒนชาต
Subjects: เครื่องสำอาง -- การตลาด
การตลาดทางตรง
เครื่องสำอาง -- การตลาด
การตลาดทางตรง
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางนับวันจะมีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา และได้กลายเป็นสินค้าจำเป็นสำหรับทุกคนไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชาย ในระยะ 7 – 8 ปีที่ผ่านมา เครื่องสำอางที่ใช้ระบบการขายโดยตรงได้ประสบความสำเร็จอย่างมาก จากการเข้ามาดำเนินงานของผลิตภัณฑ์เอวอนและผลิตภัณฑ์อีกหลายๆบริษัท ซึ่งทำให้ตลาดเครื่องสำอางในระบบการขายโดยตรงเกิดการตื่นตัวมากขึ้น จะเห็นได้จากการมีการนำกลยุทธ์ทางการตลาดใหม่ๆมาใช้ในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น และทั้งนี้ได้มีการร่วมมือกันในระหว่างบริษัทต่างๆที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์หลายประเภทที่ใช้ระบบการขายโดยตรง จัดตั้งสมาคมการขายโดยตรง เพื่อรักษาและส่งเสริมระบบการขายโดยตรงให้มั่นคงขึ้น ตลาดเครื่องสำอางในระบบการขายโดยตรงจึงมีแนวโน้มที่จะขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงการจัดการด้านการตลาดของเครื่องสำอางที่ใช้ระบบการขายโดยตรงเป็นช่องทางจำหน่ายสินค้าของตน ซึ่งมีทั้งหมดรวม 7 ตรายี่ห้อ จาก 5 บริษัท ได้แก่ โพลา โซเซีย มิลฟิน ลาเบลลา ออริเฟลม และนูทรีเมติคส์ เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจ กลยุทธ์ส่วนผสมทางการตลาดและด้านการขาย ตลอดจนปัญหาหรืออุปสรรคของระบบการขายโดยตรงและจากผลการศึกษาได้พบว่า ปัจจัยสำคัญทางด้านการบริหารการตลาดที่ทำให้เครื่องสำอางในระบบการขายโดยตรงประสบความสำเร็จนั้นประกอบด้วย คุณภาพของผลิตภัณฑ์ เป็น ปัจจัยสำคัญประการแรกที่มีผลต่อความสำเร็จ เพราะเป็นสิ่งที่สร้างความมั่นใจให้พนักงานขายในการขายสินค้า และสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคในระยะยาว ประการที่สองการอำนวยการด้านการตลาดที่มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมสนับสนุนพนักงานขายอิสระจำนวนมาก ให้สามารถปฏิบัติงานขายได้อย่างมีประสิทธิผลจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การขายประสบความสำเร็จได้ เช่น การติดต่อสื่อสารกับพนักงานขายเพื่อประชาสัมพันธ์ สินค้า ราคา การส่งเสริมการจำหน่ายต่างๆ การให้คำแนะนำและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการขาย การสั่งและชำระค่าสินค้า การจัดให้มีอุปกรณ์ช่วยการขาย และการฝึกอบรมต่างๆอย่างเพียงพอ เป็นต้น และประการที่สาม ประสิทธิภาพของการจัดการด้านการขาย การขายในระบบการขายโดยตรง พนักงานขายเป็นหัวใจสำคัญที่จะนำสินค้าไปสู่ผู้บริโภค ผู้บริหารจะต้องจัดให้มีกลุ่มพลังการขายที่มีความสามารถ โดยจะต้องเน้นประสิทธิภาพในการหาพนักงานขายให้ได้จำนวนมากและฝึกอบรมเพื่อให้ปฏิบัติงานขายให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยใช้การจูงใจในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานขาย ปัจจัยทั้ง 3 ประการ เป็นองค์ประกอบสำคัญของความสำเร็จที่มีความเกี่ยวข้องต่อเนื่องและผสมผสานอย่างมีระบบ อย่างไรก็ตามระบบการขายโดยตรงก็มีข้อเสีย ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงของระบบการขายโดยตรงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และอาจเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อความสำเร็จหากผู้บริหารมาเข้าใจและมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ 1. อัตราการหมุนเวียนของพนักงานขายในระบบการขายโดยตรงเป็นอัตราที่สูงมาก ทั้งมีพนักงานขายจำนวนมากขาดคุณสมบัติของพนักงานขายที่ดี นอกจากนี้การควบคุมพนักงานขายยังไม่อาจกระทำได้เท่าที่ควรเพราะเป็นพนักงานขายอิสระ 2. ค่าใช้จ่ายในการบริหารการขายและการส่งเสริมการจำหน่าย ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ทำให้ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น จึงมีผลให้ราคาสินค้าในระบบนี้สูงกว่าราคาสินค้าในระบบปกติ 3. การกระจายสินค้าต้องใช้เวลาในการสั่งสินค้า และส่งสินค้าผ่านพนักงานขายไปให้ลูกค้า การรับสินค้าจึงเกิดความล่าช้า 4. ผลิตภัณฑ์ คุณภาพของสินค้าเป็นปัจจัยที่สำคัญมากในระบบการขายโดยตรงหากคุณภาพและกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ไม่ดีพอจะทำให้เกิดปัญหาอย่างมากต่อระบบการขาย 5. สภาวะแวดล้อมภายนอกทางเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา ระบบการขายโดยตรง เป็นธุรกิจการติดต่อสื่อสาร สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม ประเพณี วัฒนธรรม การศึกษา ตลอดจนทัศนคติและค่านิยมทางประชาชนอาจมีส่วนเอื้ออำนวยหรือเป็นอุปสรรคต่อความมั่นคงของระบบการขายโดยตรงได้มาก สำหรับข้อเสนอแนะมีดังนี้คือ ผู้บริหารควรศึกษาให้เข้าใจถึงข้อดีข้อเสียของระบบการขายโดยตรง ตลอดจนมีทัศนคติที่ดีต่อระบบดังกล่าวและควรดำเนินการต่อไปนี้ 1. ควรใช้วิธีการจูงใจในการรักษาและกระตุ้นพนักงานขาย โดยใช้รูปแบบต่างๆทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน เพื่อสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน ความต้องการในการยอมรับและยกย่องให้เกียรติต่ออาชีพการขายว่าเป็นอาชีพที่มีเกียรติและมีโอกาสหารายได้โดยไม่จำกัด 2. การส่งเสริมการจำหน่ายต่างๆ ควรมีการวางแผนอย่างรัดกุมเพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด โดยควรใช้กลยุทธ์ราคาที่จูงใจและเหมาะสมกับค่าใช้จ่ายด้วย 3. ควรจัดให้มีการคิดค้น และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ รูปลักษณ์ สีสัน และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเพื่อ การเลือกสรรอยู่เสมอ 4. ควรหามาตรการในการพัฒนาระบบการสั่งและส่งสินค้าเพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วขึ้น 5. ควรหามาตรการและองค์กรในการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมให้เกิดทัศนคติและค่านิยมอย่างกว้างขวางต่อวิชาชีพการขายตรงว่าเป็นวิชาชีพที่มีเกียรติ น่ายกย่อง และทำประโยชน์ให้กับระบบสังคมและเศรษฐกิจ 6. ควรหาวิธีการในการให้ประโยชน์หรือการบริการให้ลูกค้ามากขึ้นโดยผ่านพนักงานขายควบคู่ไปกับการขายสินค้า เพื่อให้ผู้บริโภคได้เห็นถึงประโยชน์ของการบริการที่ได้รับมากขึ้น เช่นการให้การอบรมและคำแนะนำเกี่ยวกับความรู้เรื่อง ผิวพรรณ ความงาม วิธีการใช้สินค้า การแต่งหน้า หรือแม้แต่การบริการนวดหน้า และสาธิตการแต่งหน้า เป็นต้น 7. ควรพยายามจัดให้มีระบบข้อมูลทางการตลาดเพื่อศึกษาเกี่ยวกับลักษณะการแบ่งส่วนตลาดของผู้บริโภค และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค เพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินกลยุทธ์ทางตลาดให้สอดคล้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางนับวันจะมีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา และได้กลายเป็นสินค้าจำเป็นสำหรับทุกคนไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชาย ในระยะ 7 – 8 ปีที่ผ่านมา เครื่องสำอางที่ใช้ระบบการขายโดยตรงได้ประสบความสำเร็จอย่างมาก จากการเข้ามาดำเนินงานของผลิตภัณฑ์เอวอนและผลิตภัณฑ์อีกหลายๆบริษัท ซึ่งทำให้ตลาดเครื่องสำอางในระบบการขายโดยตรงเกิดการตื่นตัวมากขึ้น จะเห็นได้จากการมีการนำกลยุทธ์ทางการตลาดใหม่ๆมาใช้ในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น และทั้งนี้ได้มีการร่วมมือกันในระหว่างบริษัทต่างๆที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์หลายประเภทที่ใช้ระบบการขายโดยตรง จัดตั้งสมาคมการขายโดยตรง เพื่อรักษาและส่งเสริมระบบการขายโดยตรงให้มั่นคงขึ้น ตลาดเครื่องสำอางในระบบการขายโดยตรงจึงมีแนวโน้มที่จะขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงการจัดการด้านการตลาดของเครื่องสำอางที่ใช้ระบบการขายโดยตรงเป็นช่องทางจำหน่ายสินค้าของตน ซึ่งมีทั้งหมดรวม 7 ตรายี่ห้อ จาก 5 บริษัท ได้แก่ โพลา โซเซีย มิลฟิน ลาเบลลา ออริเฟลม และนูทรีเมติคส์ เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจ กลยุทธ์ส่วนผสมทางการตลาดและด้านการขาย ตลอดจนปัญหาหรืออุปสรรคของระบบการขายโดยตรงและจากผลการศึกษาได้พบว่า ปัจจัยสำคัญทางด้านการบริหารการตลาดที่ทำให้เครื่องสำอางในระบบการขายโดยตรงประสบความสำเร็จนั้นประกอบด้วย คุณภาพของผลิตภัณฑ์ เป็น ปัจจัยสำคัญประการแรกที่มีผลต่อความสำเร็จ เพราะเป็นสิ่งที่สร้างความมั่นใจให้พนักงานขายในการขายสินค้า และสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคในระยะยาว ประการที่สองการอำนวยการด้านการตลาดที่มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมสนับสนุนพนักงานขายอิสระจำนวนมาก ให้สามารถปฏิบัติงานขายได้อย่างมีประสิทธิผลจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การขายประสบความสำเร็จได้ เช่น การติดต่อสื่อสารกับพนักงานขายเพื่อประชาสัมพันธ์ สินค้า ราคา การส่งเสริมการจำหน่ายต่างๆ การให้คำแนะนำและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการขาย การสั่งและชำระค่าสินค้า การจัดให้มีอุปกรณ์ช่วยการขาย และการฝึกอบรมต่างๆอย่างเพียงพอ เป็นต้น และประการที่สาม ประสิทธิภาพของการจัดการด้านการขาย การขายในระบบการขายโดยตรง พนักงานขายเป็นหัวใจสำคัญที่จะนำสินค้าไปสู่ผู้บริโภค ผู้บริหารจะต้องจัดให้มีกลุ่มพลังการขายที่มีความสามารถ โดยจะต้องเน้นประสิทธิภาพในการหาพนักงานขายให้ได้จำนวนมากและฝึกอบรมเพื่อให้ปฏิบัติงานขายให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยใช้การจูงใจในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานขาย ปัจจัยทั้ง 3 ประการ เป็นองค์ประกอบสำคัญของความสำเร็จที่มีความเกี่ยวข้องต่อเนื่องและผสมผสานอย่างมีระบบ อย่างไรก็ตามระบบการขายโดยตรงก็มีข้อเสีย ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงของระบบการขายโดยตรงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และอาจเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อความสำเร็จหากผู้บริหารมาเข้าใจและมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ 1. อัตราการหมุนเวียนของพนักงานขายในระบบการขายโดยตรงเป็นอัตราที่สูงมาก ทั้งมีพนักงานขายจำนวนมากขาดคุณสมบัติของพนักงานขายที่ดี นอกจากนี้การควบคุมพนักงานขายยังไม่อาจกระทำได้เท่าที่ควรเพราะเป็นพนักงานขายอิสระ 2. ค่าใช้จ่ายในการบริหารการขายและการส่งเสริมการจำหน่าย ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ทำให้ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น จึงมีผลให้ราคาสินค้าในระบบนี้สูงกว่าราคาสินค้าในระบบปกติ 3. การกระจายสินค้าต้องใช้เวลาในการสั่งสินค้า และส่งสินค้าผ่านพนักงานขายไปให้ลูกค้า การรับสินค้าจึงเกิดความล่าช้า 4. ผลิตภัณฑ์ คุณภาพของสินค้าเป็นปัจจัยที่สำคัญมากในระบบการขายโดยตรงหากคุณภาพและกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ไม่ดีพอจะทำให้เกิดปัญหาอย่างมากต่อระบบการขาย 5. สภาวะแวดล้อมภายนอกทางเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา ระบบการขายโดยตรง เป็นธุรกิจการติดต่อสื่อสาร สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม ประเพณี วัฒนธรรม การศึกษา ตลอดจนทัศนคติและค่านิยมทางประชาชนอาจมีส่วนเอื้ออำนวยหรือเป็นอุปสรรคต่อความมั่นคงของระบบการขายโดยตรงได้มาก สำหรับข้อเสนอแนะมีดังนี้คือ ผู้บริหารควรศึกษาให้เข้าใจถึงข้อดีข้อเสียของระบบการขายโดยตรง ตลอดจนมีทัศนคติที่ดีต่อระบบดังกล่าวและควรดำเนินการต่อไปนี้ 1. ควรใช้วิธีการจูงใจในการรักษาและกระตุ้นพนักงานขาย โดยใช้รูปแบบต่างๆทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน เพื่อสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน ความต้องการในการยอมรับและยกย่องให้เกียรติต่ออาชีพการขายว่าเป็นอาชีพที่มีเกียรติและมีโอกาสหารายได้โดยไม่จำกัด 2. การส่งเสริมการจำหน่ายต่างๆ ควรมีการวางแผนอย่างรัดกุมเพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด โดยควรใช้กลยุทธ์ราคาที่จูงใจและเหมาะสมกับค่าใช้จ่ายด้วย 3. ควรจัดให้มีการคิดค้น และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ รูปลักษณ์ สีสัน และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเพื่อ การเลือกสรรอยู่เสมอ 4. ควรหามาตรการในการพัฒนาระบบการสั่งและส่งสินค้าเพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วขึ้น 5. ควรหามาตรการและองค์กรในการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมให้เกิดทัศนคติและค่านิยมอย่างกว้างขวางต่อวิชาชีพการขายตรงว่าเป็นวิชาชีพที่มีเกียรติ น่ายกย่อง และทำประโยชน์ให้กับระบบสังคมและเศรษฐกิจ 6. ควรหาวิธีการในการให้ประโยชน์หรือการบริการให้ลูกค้ามากขึ้นโดยผ่านพนักงานขายควบคู่ไปกับการขายสินค้า เพื่อให้ผู้บริโภคได้เห็นถึงประโยชน์ของการบริการที่ได้รับมากขึ้น เช่นการให้การอบรมและคำแนะนำเกี่ยวกับความรู้เรื่อง ผิวพรรณ ความงาม วิธีการใช้สินค้า การแต่งหน้า หรือแม้แต่การบริการนวดหน้า และสาธิตการแต่งหน้า เป็นต้น 7. ควรพยายามจัดให้มีระบบข้อมูลทางการตลาดเพื่อศึกษาเกี่ยวกับลักษณะการแบ่งส่วนตลาดของผู้บริโภค และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค เพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินกลยุทธ์ทางตลาดให้สอดคล้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Other Abstract: The role of cosmetics has been increasing and become indispensable to our social life for beautification for both women and men. During the past 7-8 years, direct-selling cosmetics have achieved considerable success. New sales methods and marketing techniques have been developed to cope with the increasing competitive market. Recently, Thai Direct Selling Association has been founded by a group of direct-selling companies of different type of merchandises to stabilise and develop the direct selling field. The purpose of this thesis is to study, compare and analyse the marketing management of direct-selling cosmetics i.e., Pola, Avon, Socear, Milfin, Labeila, Oriflame and Nutri-Meticso The findings reveal that factors of success comprise of, firstly, the quality of the products that create conviction and long term reliability to salespeople and consumers. Secondly, efficient support of marketing services, such as the provision of sales manual, selling aids, description of functions and sales promo¬tional literature etc., is another important marketing device assist and support sales productivity. Thirdly, there should be efficient sales management in order to obtain the most feasible sales manpower and then provide adequate training and motivation to stimulate effective salesforce. On the other hand, direct selling unfortunately contains some disadvantages which should be considered to be challenging to executives. They are: 1.High turnover rate of salespeople which is likely an usual event in direct selling. 2.Inevitable high sales promotion and administration expenses results in the high selling prices of product. 3.Late merchandise receipts due to the processive ordering and shipping system. 4. Good quality is an essential element of product, careless quality control or unsuitable product policy could be hazardous. 5.The direct selling is a communication business; therefore, external economical and social environment which includes culture, custom and people’sattitude, value are the important factors that influence the stability or development of direct selling system. The executive should, therefore, study the advantages and disadvantages which are the nature of direct selling so that they would perceive it with realistic and optimistic attitude. Suggestions are that: 1.Salesforce stimulation should rather be done by means of recognition and motivation (both cash and non-cash 2.Sales promotions should be planned and operated effectively. Proper and effective pricing stratigies should be implemented conformably with the high selling and promotional expenses. 3.Attempts should be made for research and development to innovate product strategies. 4.New techniques of processing orders and shipment system should be developed to improve distribution facility. 5.There should be measures arid organized mechanism to widespread publicise the advantages of selling career for the betterment of the attitude and value towards it. 6.There should be attempts to increasingly provide new services or knowledges concerning cosmetics or beautification Such as instructions for using cosmetics properly, make-up demonstration, method of supervision and protection of face or skin and so on, so that consumers would realize the betterment of benefits from direct selling. 7.There should be marketing information -system to research and analyze consumer market segmentation and buyer behavior so that^ adjusted marketing strategies could be implemented effectively.
The role of cosmetics has been increasing and become indispensable to our social life for beautification for both women and men. During the past 7-8 years, direct-selling cosmetics have achieved considerable success. New sales methods and marketing techniques have been developed to cope with the increasing competitive market. Recently, Thai Direct Selling Association has been founded by a group of direct-selling companies of different type of merchandises to stabilise and develop the direct selling field. The purpose of this thesis is to study, compare and analyse the marketing management of direct-selling cosmetics i.e., Pola, Avon, Socear, Milfin, Labeila, Oriflame and Nutri-Meticso The findings reveal that factors of success comprise of, firstly, the quality of the products that create conviction and long term reliability to salespeople and consumers. Secondly, efficient support of marketing services, such as the provision of sales manual, selling aids, description of functions and sales promo¬tional literature etc., is another important marketing device assist and support sales productivity. Thirdly, there should be efficient sales management in order to obtain the most feasible sales manpower and then provide adequate training and motivation to stimulate effective salesforce. On the other hand, direct selling unfortunately contains some disadvantages which should be considered to be challenging to executives. They are: 1.High turnover rate of salespeople which is likely an usual event in direct selling. 2.Inevitable high sales promotion and administration expenses results in the high selling prices of product. 3.Late merchandise receipts due to the processive ordering and shipping system. 4. Good quality is an essential element of product, careless quality control or unsuitable product policy could be hazardous. 5.The direct selling is a communication business; therefore, external economical and social environment which includes culture, custom and people’sattitude, value are the important factors that influence the stability or development of direct selling system. The executive should, therefore, study the advantages and disadvantages which are the nature of direct selling so that they would perceive it with realistic and optimistic attitude. Suggestions are that: 1.Salesforce stimulation should rather be done by means of recognition and motivation (both cash and non-cash 2.Sales promotions should be planned and operated effectively. Proper and effective pricing stratigies should be implemented conformably with the high selling and promotional expenses. 3.Attempts should be made for research and development to innovate product strategies. 4.New techniques of processing orders and shipment system should be developed to improve distribution facility. 5.There should be measures arid organized mechanism to widespread publicise the advantages of selling career for the betterment of the attitude and value towards it. 6.There should be attempts to increasingly provide new services or knowledges concerning cosmetics or beautification Such as instructions for using cosmetics properly, make-up demonstration, method of supervision and protection of face or skin and so on, so that consumers would realize the betterment of benefits from direct selling. 7.There should be marketing information -system to research and analyze consumer market segmentation and buyer behavior so that^ adjusted marketing strategies could be implemented effectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (พณ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24332
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vichien_Ro_front.pdf584.14 kBAdobe PDFView/Open
Vichien_Ro_ch1.pdf434.4 kBAdobe PDFView/Open
Vichien_Ro_ch2.pdf939.58 kBAdobe PDFView/Open
Vichien_Ro_ch3.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open
Vichien_Ro_ch4.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Vichien_Ro_ch5.pdf824.46 kBAdobe PDFView/Open
Vichien_Ro_back.pdf4.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.