Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24347
Title: การสอบบัญชีรายการที่ใช้เครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ ของธนาคารพาณิชย์
Other Titles: The auditing of a commercial bank's transactions through automated teller machines (ATM)
Authors: ขจรศักดิ์ เจียรธนากุล
Advisors: เมธา สุวรรณสาร
กฤษณพันธุ์ สุพรรณโรจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: เครื่องฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ
การสอบบัญชี
ธนาคารและการธนาคาร -- การอัตโนมัติ
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ (Automated Teller Machine-ATM) เป็นบริการในแบบธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Banking) ที่ได้รับความสำเร็จมากที่สุด ดังจะเห็นได้จากการเพิ่มจำนวนของธนาคารพาณิชย์ที่จัดให้มีบริการประเภทนี้และปริมาณผู้ถือบัตร ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าการให้บริการในแบบธนาคารอิเล็กทรอนิกส์มีความสำคัญต่อปัจจัยทางด้านการตลาดของธนาคารพาณิชย์เป็นอย่างยิ่ง การขยายตัวอย่างรวดเร็วในการพัฒนาระบบงานเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ ทำให้ธนาคารพาณิชย์และลูกค้ามีความเสี่ยงภัยมากขึ้น ปัจจัยที่สำคัญคือประเทศไทยยังมิได้มีกฎหมายคุ้มครองผู้ใช้บริการเช่นในต่างประเทศ ดังนั้นความรับผิดชอบส่วนใหญ่จึงตกกับลูกค้า ในต่างประเทศได้พบการทุจริตหลายรูปแบบซึ่งส่งผล เสียหายต่อลูกค้าและธนาคารพาณิชย์เป็นจำนวนมาก ดังนั้น ความเพียงพอและประสิทธิภาพของการควบคุมภายในของระบบงาน เครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติจึงมีความสำคัญที่สุดในการนำเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติมาใช้ ในแง่ของการตรวจสอบ ผู้สอบบัญชีก็มักจะพบปัญหาอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงเทคนิคการควบคุมภายใน ลักษณะของเอกสารหลักฐาน ตลอดจนหลักฐานที่ใช้ในการตรวจสอบ (Audit trail) ต่าง ๆ ซึ่งเปลี่ยนไปจากระบบที่ใช้บุคคล ในการเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง “การสอบบัญชีรายการที่ใช้เครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติของธนาคารพาณิชย์” ผู้เขียนได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้คือ ศึกษาและทำความเข้าใจระบบงานของธนาคารพาณิชย์ผู้รับตรวจในรูปของผังแสดงระบบงาน (System flowchart) ศึกษาการควบคุมภายในต่าง ๆ ที่มีในระบบโดยการใช้แบบสอบทานการควบคุมภายใน (Questionnaire) เพื่อให้สามารถรวบรวมการควบคุมภายในได้อย่างครบถ้วนและมีมาตรฐานประเมินผลกระทบของข้อบกพร่องในระบบการควบคุมภายในโดยใช้ตาราง (Matrix) เพื่อรวบรวมข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในระบบงานและพิจารณาการควบคุมที่มีอยู่ว่าสามารถป้องกันหรือติดตามข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้หรือไม่ ซึ่งจะให้แนวทางในการกำหนดขอบเขตการตรวจสอบในกรณีที่ผู้สอบบัญชี เชื่อถือในระบบการควบคุมภายในของธนาคารพาณิชย์ผู้รับตรวจ ผู้สอบบัญชีควรจะได้ทดสอบการปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายใน (Compliance test) ที่สำคัญ ๆ ในทางตรงกันข้าม หากผู้สอบบัญชีไม่อาจวางใจในระบบการควบคุมภายใน และข้อบกพร่องนั้นมีสาระสำคัญต่อความถูกต้องในการประมวลผลข้อมูล ผู้สอบบัญชีจะต้องติดตามว่าข้อบกพร่องนั้นได้มีการแก้ไขหรือได้มีการสร้างวิธีการควบคุมอื่นขึ้นมาทดแทนหรือไม่ หากไม่มี ผู้สอบบัญชีจะต้องทราบผลกระทบที่จะมีต่อความถูกต้องของรายงานทางการเงิน เพื่อที่จะสามารถกำหนดขอบเขตการตรวจสอบความถูกต้องของรายงานทางการเงิน (Substantive test) ให้สามารถครอบคลุมถึงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้
Other Abstract: An Automated Teller Machine, ATM, is one of the most successful banking services among Electronic Banking system. These can be seen from the increasing demand and competition in serving the bank’s customers. Today, Automated Teller Machine had become essential to the marketing strategy of commercial banks. The Consumer Protection Act has not yet been implemented in Thailand while the explosive growth of Electronic Banking system is expanding rapidly exposing bank customers to greater risks since there have been many ATM frauds involving a large sum of money. Thus a new and more practical method of appropriate control toward this service is required. Auditing approach today has changed its phase from manual to electronic system. It has been discovered that there were many alteration in internal control techniques, documentation and the audit trail. In this thesis, “The auditing of a commercial bank’s transaction through Automated Teller Machine”, the author commenced his study with an explanatory introduction on the bank’s ATM system within its system flowchart. A study of the internal control system was then made by using the internal control questionnaire to cover the various strength and weakpoints in internal control. The purpose is to study all potential errors and see whether such errors can be prevented or detected. If the auditor can rely on bank’s internal control, the compliance tests must be carried out suitably in order to provide evidence on whether such controls have continued to operate properly throughout the period under review. Otherwise, the auditor must pay more attention to evaluate existing compensating controls in the ATM system. In addition, he must evaluate the effect of such potential errors to financial statement in order to perform specific substantive test to cover such potential errors concerned.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24347
ISBN: 9745641863
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kajornsak_Ch_front.pdf534.41 kBAdobe PDFView/Open
Kajornsak_Ch_ch1.pdf365.5 kBAdobe PDFView/Open
Kajornsak_Ch_ch2.pdf384.31 kBAdobe PDFView/Open
Kajornsak_Ch_ch3.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Kajornsak_Ch_ch4.pdf585.94 kBAdobe PDFView/Open
Kajornsak_Ch_ch5.pdf5.36 MBAdobe PDFView/Open
Kajornsak_Ch_ch6.pdf702.77 kBAdobe PDFView/Open
Kajornsak_Ch_back.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.