Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2434
Title: ผลของการฝึกกำลังกล้ามเนื้อลำตัวแบบการหดตัวคงที่ต่อความเร็วในการว่ายน้ำท่าครอว์ลระยะทาง 50 เมตร
Other Titles: Effects of isometric trunk muscle training on speed in 50 metre crawl swimming
Authors: พิสิษฐ์ ธิติเลิศเดชา, 2508-
Advisors: พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์
ศุกล อริยสัจสี่สกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Pongsak.Y@Chula.ac.th
Subjects: กล้ามเนื้อ
การว่ายน้ำ
การฝึกกำลังกล้ามเนื้อ
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกกำลังกล้ามเนื้อลำตัวต่อความเร็วในการว่ายน้ำและกำลังกล้ามเนื้อลำตัว โดยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับการฝึกกำลังกล้ามเนื้อลำตัวกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึกกำลังกล้ามเนื้อลำตัว กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชาย จำนวน 38 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยวิธีการสุ่มกลุ่มละ 19 คน กลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการฝึกกำลังกล้ามเนื้อลำตัวร่วมกับโปรแกรมการว่ายน้ำ ส่วนกลุ่มควบคุมจะได้รับโปรแกรมการว่ายน้ำอย่างเดียว กลุ่มตัวอย่างทั้งสองจะได้รับการวัดความเร็วในการว่ายน้ำระยะทาง 50 เมตร และวัดกำลังกล้ามเนื้อลำตัวด้วยเครื่อง Cybex 6000 ก่อนและหลังการเข้าโปรแกรม ผลการทดลองสรุปว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฝึกกำลังกล้ามเนื้อลำตัวใช้เวลาในการว่ายน้ำระยะทาง 50 เมตรน้อยกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมการฝึกกำลังกล้ามเนื้อลำตัว แต่ทั้งนี้ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และกำลังกล้ามเนื้อลำตัวในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฝึกกำลังกล้ามเนื้อลำตัวมีการเพิ่มขึ้นของกำลังกล้ามเนื้อลำตัวมากกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมการฝึกกำลังกล้ามเนื้อลำตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อย่างไรก็ตาม เวลาในการว่ายน้ำที่ลดลง ในทางการแข่งขันถือว่ามีความสำคัญในการตัดสินผลแพ้ชนะในการว่ายน้ำของนักกีฬาได้ ดังนั้นนักกีฬาว่ายน้ำควรที่จะได้รับการฝึกกำลังกล้ามเนื้อลำตัวร่วมกับการฝึกว่ายน้ำเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาความเร็วในการว่ายน้ำและกำลังกล้ามเนื้อลำตัว
Other Abstract: The objective of this experimental study was to study the effects of isometric trunk muscle training on speed and trunk muscle strength in 50 metre crawl swimming as well as the effect on exertion between the experimental group who received isometric trunk muscle training and the control group who did not. The samples were composed of 38 male swimmers whom divided into two groups by simple random sampling. Experimental group (n=19) received isometric trunk muscle training and swimming program and control group (n=19) received only swimming program. All samples underwent trunk muscle strength testing by Cybex 6000 and speed testing by swimming test for the 50 meters before and after training. The results of this study showed that the experimental group who received isometric trunk muscle training lessened the swimming time in 50 metre than the control group by 1.26 second but difference was considered no statistically significant at p>0.05. The measurement of trunk muscle strength (isometric peak torque) compared between before and after training showed statistically significant difference at p<0.05 in the experimental group whereas did not statistically significant difference in the control group. Therefore isometric trunk muscle training is advantageous for the swimmers in competition which was revealed inthis study that the training enhanced speed in 50 metre crawl swimming and trunk muscle strength.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2434
ISBN: 9741710704
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pisit.pdf5.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.