Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24356
Title: การศึกษาผลของใบอินทนิลน้ำ ต่อ การขับปัสสาวะและลดระดับน้ำตาลในเลือดของสุนัข
Other Titles: Study of diuretic and hypoglycemic effects of Lagerstroemia Speciosa Pers. (Lythraceae) in dogs
Authors: วรรณภา ชัยบุตร
Advisors: บังอร ชมเดช
เสาวลักษณ์ ชูศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ใบอินทนิลน้ำเป็นไม้พันธุ์ตะแบก ชาวพื้นเมืองเรียกว่าตะแบกดำ และเชื่อว่าน้ำต้มในอินทนิลน้ำ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะและรักษาโรคเบาหวานได้ การศึกษาครั้งนี้ เพื่อหาข้อมูลมาสนับสนุนความเชื่อข้างต้น โดยทำการศึกษาในสุนัขที่ได้รับน้ำต้มใบอินทนิลน้ำทางปากปริมาณ 50 กรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม จากผลการศึกษา พบอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต มีค่าไม่เปลี่ยนแปลง ปริมาณปัสสาวะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยทุกชั่วโมงและสูงสุดในชั่วโมงที่ 4 แต่กลับลดลงในชั่วโมงที่ 5 และ 6 อัตราการกรองที่โกลเมอรูลัส (glomerular filitration rate) ในชั่วโมงที่หนึ่งมีค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่มีค่าลดลงในชั่วโมงที่ 2 , 4 , 5 และ 6 ส่วนอัตราการไหลของเลือดผ่านไต (renal blood flow) และอัตราการไหลของพลาสมาในไต (renal plasma flow) มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในชั่วโมงที่ 4 ดังนั้นสัดส่วนอัตราการกรองของพลาสมา (filitration fraction) จึงมีค่าเพิ่มขึ้นทุกชั่วโมง และสูงสุดในชั่วโมงที่ 4 เช่นกัน การเปลี่ยนแปลงของ electrolytes พบว่าความเข้มข้นของโซเดียมในพลาสมามีค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในชั่วโมงที่ 4 ในขณะที่อัตราการกรอง (filtered load) และอัตราการดูดซึมกลับของโซเดียมมีค่าลดลง แต่อัตราการขับออกมีค่าคงเดิม ดังนั้นจึงพบค่าสัดส่วนที่ขับออก (fractional excretion) มีค่าสูงสุดในชั่วโมงนี้ ส่วนความเข้มข้นของโปรแตสเซียมในพลาสมา ปัสสาวะ อัตราการขับออก และสัดส่วนที่ขับออก พบว่า มีค่าเพิ่มขึ้นทุกชั่วโมงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) แต่อัตราการกรองมีค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเท่านั้น เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของคลอไรด์ พบว่า ความเข้มข้นในพลาสมา อัตราการขับออกและสัดส่วนที่ขับออกมีค่าไม่เปลี่ยนแปลงในชั่วโมงที่ 4 แต่อัตราการดูดซึมกลับลดลง รวมทั้งพบว่า สัดส่วนที่ขับออกและอัตราการขับออกโมลลาลิตี มีค่าเพิ่มขึ้นสูงสุดในชั่วโมงที่ 4 ในขณะที่อัตราการกรองของออสโมลาลิตีลดลง ส่วน clearance ของน้ำอิสระ (free water) มีค่าติดลบสูงสุดในชั่วโมงที่ 4 ด้วยเหตุนี้อาจกล่าวได้ว่า น้ำต้มในอินทนิลน้ำปริมาณ 50 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม สามารถยับยั้งการดูดซึมกลับของโซเดียมและคลอไรด์ได้และได้ดีในชั่วโมงที่ 4 รวมทั้งทำให้มีการขับปัสสาวะออกเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อย การศึกษาความสามารถในการลดระดับน้ำตาลในเลือดของน้ำต้มในอินทนิลน้ำในสุนัขเบาหวานจากแอลลอกซาน พบว่า ภายหลังจากให้น้ำต้มในอินทนิลน้ำปริมาณ 15, 30, 50, 60 และ 100 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมทางปาก ระดับน้ำตาลในเลือดตลอดการศึกษา 6 ชั่วโมงไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นอาจสรุปได้ว่าน้ำต้มในอินทนิลน้ำในปริมาณเหล่านี้ไม่สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของสุนัขที่เป็นเบาหวานจากแอลลอกซานได้
Other Abstract: Lagerstroemia Speciosa Pers. is a medicinal plant that their leaves could be used as a diuretic and hypoglycemic agents. The objectives of this study were to evaluate the diuretic and hypoglycemic effects of the decoction of L. Speciosa Pers. which was given orally 50 grams per killogram bodyweight. The results of the diuretic effect have shown that : 1) The blood pressure and the heart rate were unchanged : 2) The urine flow rate was increased slightly : 3) The glomerular filtration rate was reduced gradually 4) The filtration fraction was increased slightly and reached maximum in the fourth hour 5) The effective renal plasma flow and the renal blood flow were reduced and shown significantly in the fourth hour : 6) The plasma sodium and chloride concentrations were stable but the urinary concentrations decreased every hour. Fractional excretion of the sodium was increased insignificantly in the first and the fourth hours while the fractional excretion of chloride was risen in the second hour and unchanged in the fourth hour. There were significant increases in plasma, urinary concentrations and fractional excretion of potassium in every hour : 7) The plasma osmolality was little incrased in the fourth hour but the urinary osmolality was significant elevated in the sixth hour. The fractional excretion of osmolality was risen every hour. It may be suggested that L. Speciosa Pers. has some diuretic effect in anesthesized dogs. Dogs were induced to be diabetes mellitus by the injection of alloxan. Plasma samples were collected every one hour for six hours after giving various doses of L. Speciosa Pers. leaves 15, 30, 50, 60 and 100 grams per kilorgram bodyweight. The result indicates that L. Speciosa Pers. leaves have no hypoglycemic effect on alloxan induced diabetic dogs.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สรีรวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24356
ISBN: 9745639044
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wannapa_ch_front.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open
Wannapa_ch_ch1.pdf6.56 MBAdobe PDFView/Open
Wannapa_ch_ch2.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open
Wannapa_ch_ch3.pdf5.71 MBAdobe PDFView/Open
Wannapa_ch_ch4.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open
Wannapa_ch_back.pdf4.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.