Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2435
Title: ผลของจิตบำบัดประคับประคองแบบกลุ่มต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภทที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา
Other Titles: Effectiveness of supportive group psychotherapy on quality of life of schizophrenia patients of the Outpatients Department Somdet Chaopraya Hospital
Authors: สุจรรยา แสงเขียวงาม, 2507-
Advisors: รวิวรรณ นิวาตพันธุ์
ชัยชนะ นิ่มนวล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Raviwan.N@Chula.ac.th
Chaichana.N@Chula.ac.th
Subjects: จิตเภท -- การรักษา
จิตบำบัดแบบประคับประคอง
จิตบำบัดหมู่
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของจิตบำบัดประคับประคองแบบกลุ่มต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท โดยเปรียบเทียบคุณภาพของผู้ป่วยจิตเภทที่ได้รับยาต้านโรคจิตในกลุ่มดั้งเดิมและเข้าร่วมจิตบำบัดประคับประคองแบบกลุ่มกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภทที่ได้รับยาต้านโรคจิตในกลุ่มดั้งเดิมเพียงอย่างเดียว สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเป็นแบบประเมินอาการทางจิต (BPRS), แบบประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท (QLS) และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเภทที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา อายุ 20-40 ปี จำนวน 22 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 12 คน และกลุ่มควบคุม 10 คน ผลการวิจัยพบว่าหลังการทดลองผู้ป่วยจิตเภทที่ได้รับยาต้านโรคจิตในกลุ่มดั้งเดิมร่วมกับจิตบำบัดประคับประคองแบบกลุ่ม มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นในด้านลักษณะความสัมพันธ์ของบุคคล ความสามารถในการทำงาน และความสมบูรณ์ของประสบการณ์ส่วนตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งแสดงว่าการได้รับยาต้านทานโรคจิตในกลุ่มดั้งเดิมและเข้าร่วมจิตบำบัดประคับประคองแบบกลุ่มทำให้ผู้ป่วยจิตเภทมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
Other Abstract: The purpose of this study was to compare the quality of life of schizophrenia patients receiving conventional antipsychotic plus supportive group psychotherapy and that of schizophrenia patients receiving conventional antipsychotic alone. The intervention used in the experimental group was supportive group psychotherapy. The data were collected by using questionnaires consisting of brief psychiatric rating scale, quality of life scale and opinions of caregivers of schizophrenia patients and the data were analyzed by SPSS program. Participants were 22 schizophrenia patients of the outpatients department Somdet Chaopraya Hospital aged 20-40 Year. From this group 12 patients were randomly chosen for the experimental group and 10 patients for the control group. The results of the study were as follows. In the experimental group, the post-test scores of the quality of life in interpersonal relations, instrument role and common objects and activities were significantly higher than the pre-test scores, with p values at 0.05 supporting the hypothesis that the quality of life of schizophrenia patients after receiving conventional antipsychotic plus supporting was higher than that of schizophrenia patients receiving conventional antipsychotic alone.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2435
ISBN: 9741708947
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sujanya.pdf6.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.