Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24395
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทรงคุณ อัตถากร
dc.contributor.authorวิฑูร สาลี
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-17T05:17:48Z
dc.date.available2012-11-17T05:17:48Z
dc.date.issued2523
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24395
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523en
dc.description.abstractการศึกษาระดับประถมศึกษาเป็นการศึกษาภาคบังคับและเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานของประชาชนที่รัฐบาลจะต้องให้ความช่วยเหลือ โดยเฉพาะในเขตเทศบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อเปรียบเทียบกับภาคอื่นๆ จากการวิจัยพบว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการเข้าเรียนของนักเรียนต่ำกว่าภาคอื่นๆ นอกจากนี้พื้นที่ใช้สอยในอาคารสถานที่ก็ยังมีเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐานที่ ยูเนสโก กำหนด ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ย่อมมีอิทธิพลต่อการเรียนของนักเรียนและการสอนของครู ในที่สุดจะส่งผลให้คุณภาพของประชากรต่ำลง อันเป็นผลกระทบกระเทือนถึงความเจริญในท้องถิ่นและประเทศชาติในอนาคต จึงจำเป็นต้องศึกษาในรายละเอียดเกี่ยวกับโรงเรียนประถมศึกษาของเทศบาลและส่วนใช้สอยในโรงเรียน เพื่อแก้ปัญหาและวางแนวทางสำหรับการออกแบบและวางผัง ในการดำเนินการค้นคว้าและวิจัย ได้ส่งแบบสอบถามไปยังโรงเรียนต่างๆ ทั้ง 75 โรงเรียนใน 16 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะเดียวกันก็ออกสำรวจสังเกตการณ์สภาพแวดล้อมต่างๆ ของโรงเรียนเทศบาล 15 แห่งรวมทั้งสัมภาษณ์ผู้ใช้อาคารเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ เพื่อรวบรวมประกอบการวิจัย แบบสอบถามที่ส่งไป 75 ชุดได้รับกลับคืน 45 ชุดหรือประมาณร้อยละ 60 ของทั้งหมด จากแบบสอบถามที่ได้พบว่า โรงเรียนเทศบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด และอัตราส่วนพื้นที่โรงเรียนต่อจำนวนนักเรียนเป็น 10.57 ตารางเมตรต่อนักเรียน 1 คนโดยเฉลี่ยซึ่งอัตรานี้เท่ากับครึ่งหนึ่งของเกณฑ์มาตรฐานของ ยูเนสโก คือ 21.24 ตารางเมตรต่อนักเรียน 1 คน และในจำนวนโรงเรียนเหล่านี้ 55.67 เปอร์เซนไม่มีสนามฟุตบอล 66.67 เปอร์เซนของโรงเรียนทั้งหมดไม่มีสนามบาสเกตบอล จึงเป็นเหตุให้ขาดบริเวณสันทนาการและยังพบอีกว่า พื้นที่ในโรงอาหาร หอประชุมได้ถูกดัดแปลงให้เป็นห้องเรียนเนื่องจากห้องเรียนไม่เพียงพอและยังมีมาตรฐานต่ำกว่าเกณฑ์ที่ ยูเนสโก กำหนดด้วย ผลจากการค้นคว้ายังพบอีกว่าโรงเรียนเทศบาลส่วนใหญ่ไม่ได้วางผังแม่บทมาก่อน และการก่อสร้างต่อเติมอาคารเรียนในปัจจุบันดำเนินการไปตามสภาพการใช้ที่ดินที่ไม่ถูกต้อง จากการวิจัยสรุปได้ว่าโรงเรียนเทศบาลส่วนมากมีปัญหาที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ ก. ปัญหาไม่มีการออกแบบและวางผังแม่บทไว้ล่วงหน้า และไม่มีบุคคลที่จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการออกแบบและวางผัง ข. ปัญหาโรงเรียนเทศบาลส่วนใหญ่ขาดพื้นที่สันทนาการ และพื้นที่ใช้สอยที่สำคัญยังไม่เพียงพอ และยังไม่ได้มาตรฐาน ค. ปัญหาเกี่ยวกับไม่มีงบประมาณสนับสนุนในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะ 2 ปัญหาแรกที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและวางผัง ให้เหมาะสมกับโรงเรียนประถมศึกษาของเทศบาล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงได้ทำเป็นตัวอย่างเพื่อการศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนเหนือ 2 โครงการ คือ 1) โครงการออกแบบและวางผังเพื่อปรับปรุงโรงเรียนเทศบาลที่มีอยู่โดยใช้โรงเรียนเทศบาลมุขมนตรี ในจังหวัดอุดรธานีเป็นตัวอย่าง ซึ่งมีความจุนักเรียน 1,243 คน ในปี พ.ศ.2520 โดยออกแบบปรับปรุงสำหรับรับนักเรียนที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,445 คน ในปี พ.ศ.2526 2) โครงการออกแบบและวางผังแม่บทโรงเรียนตามสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด โดยสมมุติเอาพื้นที่ในเขตเทศบาลทางตอนใต้ของจังหวัดอุดรธานี เป็นโรงเรียนจุนักเรียน 678 คนตามจำนวนเฉลี่ยของนักเรียนทั้งหมด จาก 45 โรงเรียนซึ่งจำนวนนี้จัดอยู่ในโรงเรียนขนาดเล็ก มีจำนวนนักเรียนค่อนข้างสูง สำหรับปัญหาเกี่ยวกับงบประมาณนั้นเป็นปัญหาเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาลส่วนกลางและเทศบาลเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ ภายใต้ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร และสมาชิกสภาเทศบาล โดยการตั้งงบประมาณสนับสนุนด้านการศึกษาสมทบกับรัฐบาล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ควรมีการวางแนวทางเกี่ยวกับการออกแบบและกำหนดให้มีการวางผังแม่บทในโรงเรียนเทศบาลแต่ละแห่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยการวางนโยบายเฉพาะและออกระเบียบต่างๆ เพื่อถือเป็นแนวทางปฏิบัติดังนี้ คือ ก. แนวทางการกำหนดนโยบายและการบริหาร ในนโยบายเกี่ยวกับการวางผังโรงเรียนนั้น ควรให้เป็นผู้มีหน้าที่รับชอบโดยตรง เช่น เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ การศึกษาในเขต 9 เขต 10 และเขต 11 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยการประชุมและประสานงานเพื่อกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการนำแนวทางการออกแบบและวางผังมาใช้เพื่อถือปฏิบัติ ข. แนวทางการนำเกณฑ์มาตรฐานไปปฏิบัติ เมื่อแนวทางการออกแบบและวางผังสำหรับโรงเรียนเทศบาล ในภาคตะวันออกเฉียง- เหนือได้วางเป็นนโยบายเพื่อถือปฏิบัติแล้ว ขั้นตอนต่อไปควรกำหนดรายละเอียดด้านต่างๆ ให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น เช่น ขนาดของที่ตั้ง ขนาดของโรงเรียน(จำนวนนักเรียน) ชนิดและขนาดของส่วนใช้สอยที่จำเป็น เป็นต้น สำหรับโรงเรียนที่เริ่มตั้งขึ้นใหม่ แนวความคิดรวบยอด และขบวนการในการออกแบบและวางผัง ควรถือตามตัวอย่างที่ทำการวิจัย สำหรับโรงเรียนที่มีอยู่เดิม ควรสร้างและต่อเติมตามผังแม่บทที่ได้วางไว้ และควรหาวิธีการใช้เนื้อที่ส่วนใช้สอยที่มีอยู่ให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดยเสียค่าใช้จ่ายต่ำสุดด้วย ค. งบประมาณ รัฐบาลส่วนกลางควรให้เงินอุดหนุนเพิ่มเป็น 1000 บาทต่อนักเรียน 1 คนต่อปี และแต่ละเทศบาลควรเพิ่มงบประมาณสมทบ ด้านการพัฒนาอาคารสถานที่ในโรงเรียนเทศบาลให้มากขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของงบประมาณส่วนกลางต่อนักเรียน 1 คนต่อปี จนกว่าจะใช้หลักสูตรการศึกษาแผนใหม่ครบทุกชั้นเรียนในปี พ.ศ.2526
dc.description.abstractalternativeThe compulsary elementary education especially in municipal area, is subsidized by government. In North-eastern provinces the present enrollment of pupils is lower than that in other areas. Functional spaces and building condition are mostly below school standard for Asian countries as set by Unesco. This problem certainly has significant impacts on education system » It results in producing lower human quality that will be harmful to both local and national development in the future. It is therefore necessary to investigate the physical condition of the existing municipal elementary schools and related problems, to set guidelines for physical design and planning. Questionnaires were administed to 75 municipal school administrators in 16 provinces. Specific observation of existing enviroments were made in 15 schools together with interviewing their users. 45 out of 75 copies of questionnaires or 60 percents returned. The study showed that schools are located in limited size of sites, with รท average of 10.57 square meters per pupils, which is lower than the school standard for Asian country set by Unesco of 21,24 square meters per pupil. 55.56 percents of all. schools lack football field, and 66.67 percents lack basketball court. Some of the cafeteria and auditorium space were utilized as teaching area, due to the inadequacy of existing classrooms. It has been found that most of the schools have no master plan, and building expansion is mostly inappropriate in zoning and physical design. It can be concluded that most of the municipal elementary schools are facing with three major problems. a. Having no masterplans and no consultants in elementary school design and planning. b. Having no or not sufficient functional spaces, especially recreation area. c. Having not enough budget to subsidize school development. In order to exemplify solving the first two problems which concern with the design and planning guides for municipal elementary schools in the upper part of North-eastern region, two case studies were made: Case I. Designing and development planning for improving an existing elementary school. It is Muka-montri school in Udon-thani province, with the capacity of 1,243 pupils in 1973 and expected to be 1,445 in 1983c. Case 2. Proposing Master Plan and physical design for an Elementary school at Southern part of municipal area in Udon- thani Province with the capacity of 678 pupils which is the average of 45 schools., The problem of subsidy budget should be solved by central and local government under the responsibility of administrative and council members in pooling mere budget for education. There should be design and planning guidelines for elementary schools as well as the provision of master plans for each existing school. The following policy and regulation for general practice should be set. a. Policy and administrative guidelines: Responsible personals for school planning such as the officers of 9th 10th and 11 th education zones, should carry out the planning guides into practice. b. Implementation: The important standard of physical details such as size of site and necessary functional spaces should be set for implementation.For all new schools, the complete master plan concept raid implementation process should follow the 'ideal’ school planning as in case study b. For the existing schools, master plans can be drawn up and followed. In any case the utilitization of space should be maximized, end the cost be minimized. c.The budgets : Central government should provide subsidy for up to 1000 baht per head annually, and each local government should add up the budget per head for not less than half of the central government budget for until the year of 1983.
dc.format.extent739214 bytes
dc.format.extent528922 bytes
dc.format.extent761325 bytes
dc.format.extent678589 bytes
dc.format.extent1388568 bytes
dc.format.extent3811648 bytes
dc.format.extent1988399 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleแนวทางการออกแบบและวางผังโรงเรียนเทศบาล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือen
dc.title.alternativeDesign and planning guides for municipal schools in North Eastern regionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Witoon_Sa_front.pdf721.89 kBAdobe PDFView/Open
Witoon_Sa_ch1.pdf516.53 kBAdobe PDFView/Open
Witoon_Sa_ch2.pdf743.48 kBAdobe PDFView/Open
Witoon_Sa_ch3.pdf662.68 kBAdobe PDFView/Open
Witoon_Sa_ch4.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Witoon_Sa_ch5.pdf3.72 MBAdobe PDFView/Open
Witoon_Sa_back.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.