Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24401
Title: การศึกษาพงศาวลีของผู้ป่วยโรคปากแหว่งเพดานโหว่ในประเทศไทย
Other Titles: A pedigree study of patients with eleft lip and palate in Thailand
Authors: นิภาศิริ วรปาณิ
Advisors: วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดประสงค์ เพื่อศึกษาแบบแผนการถ่ายทอดทางพันธุกรรมและปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคปากแหว่งเพดานโหว่ที่ไม่เกิดร่วมกับกลุ่มอาการในประเทศไทย รูปแบบการศึกษา การวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ประชากรที่ศึกษา ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ที่มารับการตรวจรักษากับหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของกองบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2545 ใน 6 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน น่าน อุทัยธานี นครราชสีมา สระแก้ว และ จังหวัดตรัง วิธีการศึกษา เก็บข้อมูลพงศาวลีของผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ที่ไม่เกิดร่วมกับกลุ่มอาการ โดยแบ่งเป็นกลุ่มปากแหว่งที่มีหรือไม่มีเพดานโหว่ และกลุ่มเพดานโหว่เพียงอย่างเดียว วิเคราะห์หาอัตราเสี่ยงของการเกิดซ้ำในญาติลำดับที่หนึ่งและสอง สัดส่วนของอัตราเสี่ยงของการเกิดซ้ำเทียบกับอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคในประชากร เปรียบเทียบอายุมารดาของผู้ป่วยกับอายุมารดาเฉลี่ยของเด็กไทย และเปรียบเทียบระยะห่างระหว่างการตั้งครรภ์ ผู้ป่วยกับพี่คนก่อนหน้ากับระยะห่างระหว่างการตั้งครรภ์พี่น้องของผู้ป่วยที่เป็นปกติ ผลการศึกษา ผู้ป่วยปากแหว่งที่มีหรือไม่มีเพดานโหว่ 149 ราย มีอัตราเสี่ยงของการเกิดซ้ำในญาติลำดับที่หนึ่ง 2.35% (14/595) มากกว่าอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคในประชากรซึ่งเท่ากับ 0.11% อยู่ 21.36 เท่า อัตราเสี่ยงของการเกิดซ้ำในญาติลำดับที่สอง 0.58% (8/1,386) มากกว่าอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคในประชากร 5.27 เท่า อายุมารดาของผู้ป่วยไม่แตกต่างจากอายุมารดาเฉลี่ยของเด็กไทย แต่ระยะห่างระหว่างการตั้งครรภ์ ผู้ป่วยกับพี่คนก่อนหน้าแตกต่างจากระยะห่างระหว่างการตั้งครรภ์พี่น้องของผู้ป่วยที่เป็นปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) ส่วนผู้ป่วยเพดานโหว่เพียงอย่างเดียว 34 ราย ไม่พบญาติลำดับที่หนึ่งที่เป็นโรค อัตราเสี่ยงของการเกิดซ้ำในญาติลำดับที่สอง 0.70% (2/285) มากกว่าอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคในประชากรซึ่งเท่ากับ 0.04% อยู่ 17.5 เท่า อายุมารดาของผู้ป่วยไม่แตกต่างจากอายุมารดาเฉลี่ยของเด็กไทย แต่ระยะห่างระหว่างการตั้งครรภ์ผู้ป่วยกับพี่คนก่อนหน้าแตกต่างจากระยะห่างระหว่างการตั้งครรภ์พี่น้องของผู้ป่วยที่เป็นปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) สรุป โรคปากแหว่งที่มีหรือไม่มีเพดานโหว่มีแบบแผนการถ่ายทอดทางพันธุกรรมเข้าได้กับการถ่ายทอดแบบ multifactorial มากที่สุด และระยะห่างของการมีบุตรมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคปากแหว่งเพดานโหว่
Other Abstract: Objectives : To study the mode of inheritance and risk factors of non-syndromic cleft lip with or without cleft palate (CL(P)) and isolated cleft palate (CP) in Thailand. Design : Cross-sectional descriptive study. Target populations : Patients with oral clefts of Mae Hong Son, Nan, Uthai Thani, Nakhon Ratchasima, Sakaeo and Trang provinces who attended the mobiled clinic of the Repair of Hare-Lip and Cleft Palate and Other Deformities Project of the Relief and Community Health Bureau, Thai Red Cross Society during the years 2000 to 2002. Interventions : Family pedigrees extended to second degree relatives were obtained. Patients with syndromic clefts were excluded. Recurrence risk and recurrence risk ratio for first and second degree relatives were analyzed. Comparison of 1) mean maternal age of the study group and mean maternal age of Thai population 2) mean age interval between probands and prior siblings and mean age interval of normal siblings were done. Results : The recurrence risks for first and second degree relatives of 149 CL(P) probands were respectively 2.35% (14/595) and 0.58% (8/1,386), 21.36 and 5.27 times greater than the population incidence which is 0.11%. Mean maternal age of the study group was not different from the mean maternal age of Thai population. Mean age interval between probands and prior siblings was significantly different from mean age interval of normal siblings (p<0.01). Of 34 CP probands, the recurrence risk for second degree relatives was 0.70% (2/285), 17.5 times greater than the population incidence which is 0.04%. No first degree relative was affected. Mean maternal age of the study group was not different from mean maternal age of Thai population. Mean age interval between probands and prior siblings was significantly different from mean age interval of normal siblings (p<0.01). Conclusions : The recurrence pattern in first and second degree relatives of CL(P) probands was found to be most compatible with multifactorial mode of inheritance. There was an association between oral clefts and age interval between siblings Subject Cleft lip
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กุมารเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24401
ISBN: 9741717962
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nipasiri_vo_front.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open
Nipasiri_vo_ch1.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open
Nipasiri_vo_ch2.pdf831.95 kBAdobe PDFView/Open
Nipasiri_vo_ch3.pdf976.57 kBAdobe PDFView/Open
Nipasiri_vo_ch4.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open
Nipasiri_vo_ch5.pdf666.73 kBAdobe PDFView/Open
Nipasiri_vo_back.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.