Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24407
Title: | การวางแผนความต้องการวัตถุดิบ ศึกษาเฉพาะกรณีชิ้นส่วนท่อไอเสียรถยนต์ ของบริษัท สยาม พาร์ทส์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด |
Other Titles: | lMaterial riquirements planning for automobile case study on exhaust pipe of Siam Parts and Engeering Co.,Ltd. |
Authors: | วิชิต เองปัญญาเลิศ |
Advisors: | ศุภชัย วัฒนางกูร พอพันธ์ วัชจิตพันธ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณทิตวิทยาลัย |
Subjects: | บริษัทสยาม พาร์ทส์ แอนด์ เอ็นยิเนียริ่ง รถยนต์ -- ท่อไอเสีย การควบคุมสินค้าคงคลัง การวางแผนความต้องการวัสดุ การวางแผนการผลิต -- โปรแกรมคอมพิวเตอร์ |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวางแผนความต้องการวัตถุดิบ เป็นเทคนิคการวางแผนและควบคุมสินค้าคงเหลือที่มีชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบต่างๆ เพี่อให้เพียงพอกับความต้องการผลิตไม่ทำให้ เกิดสินค้าคงเหลือมากเกินไปหรือขาดมือจึงเป็นการลดต้นทุนการผลิต การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพี่อวางแผนและควบคุมสินค้าคงเหลือให้เพียงพอในกระบวนการผลิต โดยการนำระบบไมโครคอมพิวเตอร์มาช่วย เพี่อให้การวางแผนถูกต้องและรวดเร็ว ยิ่งขึ้น การวางแผนความต้องการวัตถุดิบนี้ไต้ใช้กรณีศึกษาชิ้นส่วนท่อไอเสียรถยนต์ ของบริษัท สยาม พาร์ทส์ แอนด์ เอ็นยิเนียรี่ง จำกัดรวม 3 รุ่น โดยมีข้อมูลเพี่อ ใช้ในการวางแผน 3 ชนิดได้แก่ แผนการผลิตรวม ใบแสดงรายการชิ้นส่วนและ วัตถุดิบ และบันทึกสินค้าคงเหลือ ของเดือนสิงหาคม 2528 เพี่อใช้วางแผนความ ต้องการวัตถุดิบใน 3 เดือนถัดไป การศึกษาได้แบ่งชนิดของบันทึกสินค้าคง เหลือออกเป็น 4 ชนิดได้แก่ สินค้าคงเหลือที่มีสต็อกสำรองของท่อไอเสียสำเร็จรูป และมีขนาดสั่งซื้อหรือผลิตสูง, สินค้าคงเหลือที่มีสต็อกสำรองของท่อไอเสียสำเร็จ รูปและชิ้นส่วนสั่งชื้อและมีขนาดสั่งซื้อหรือผลิตสูง, สินค้าคงเหลือที่มีสต็อกสำรองของท่อไอเสียสำเร็จรูป ชิ้นส่วนสั่งซื้อและชิ้นส่วนผลิตและมีขนาดสั่งซื้อหรือผลิตสูง และสินค้าคงเหลือที่มีสต็อกส่ารองของท่อไอเสียสำเร็จรูป ชิ้นส่วนสั่งชื้อและชิ้นส่วนผลิตและมีขนาดสั่งซื้อหรือผลิตต่ำ การวิเคราะห์ได้ใช้วิธีเปรียบเทียบต้นทุนและจำนวนสินค้าคงเหลือที่ คำนวณไต้จากการวางแผนความต้องการวัตถุดิบทั้ง 4 ชนิดกับต้นทุนสินค้าคงเหลือที่เกิดขึ้นจริง ผลปรากฏว่าจำนวนสินค้าคงเหลือที่ได้จากการวางแผนความต้องการ วัตถุดิบทั้ง 4 ชนิดมีค่าน้อยกว่าสินค้าคงเหลือที่เกิดขึ้นจริง หรือถ้าคิดเป็นต้นทุนแล้ว พบว่า ต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง มีค่าสูงกว่าต้นทุนที่ได้จากการวางแผนความต้องการวัตถุดิบ ทั้ง 4 ชนิด นอกจากนี้ ในการศึกษาการวางแผนความต้องการวัตถุดิบแต่ละชนิดพบ ว่าการเพิ่มสต็อกสำรองให้สูงขึ้นเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตแต่ก็เป็นการป้องกันสินค้าขาดมือ การที่จะลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง นอกจากต้องลดสินค้าคง เหลือให้ น้อยลงแล้ว บางครั้งยังสามารถทำได้โดยการลดขนาดสั่งซื้อหรือผลิตให้น้อยลง แต่ยังรักษาระดับสต็อกสำรองให้คง เดิมได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ในการศึกษานี้ยังมีข้อจำกัดบางประการได้แก่ การ วิเคราะห์ไม่ได้เปรียบเทียบจำนวนและต้นทุนของสินค้าคงเหลือทุกรายการ เนื่องจากข้อมูลจริงไม่ได้บันทึกจำนวนและต้นทุนของสินค้าคงเหลือเหล่านี้ไว้ การกำหนดสต็อกสำรองและขนาดสั่งซื้อหรือผลิตเป็นการประมาณการขึ้น ซึ่งอาจไม่ถูกต้อง กับความเป็นจริง แต่อย่างไรก็ตามก็สามารถเป็นแนวทางในการกำหนดค่าสต็อกสำรองและขนาดสั่งซื้อหรือผลิตให้ถูกต้องได้โดยการปรับช่วงให้เหมาะสม ระบบไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ยังมีข้อจำกัดทางด้านหน่วยความจำของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และดิสก์เก็บข้อมูล ซึ่งทำให้การวางแผนความต้องการวัตถุดิบไม่อาจขยาย ออกไปสู่ชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบได้มากนัก ซึ่งสามารถแก้ไขโดยการใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ให้มีหน่วยความจำสูงขึ้นและใช้ดิสก์เก็บข้อมูลที่มีหน่วยความจำสูงขึ้น เช่นใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ IBM AT หรือ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น |
Other Abstract: | Material requirement planning is a technique for planning and controlling the amount of inventories of parts or raw materials so that the manufacturing need can be satisfied without too much or too little inventory leading to a lower manufacturing cost. The aim of this study is to take advantage of the speed and accuracy of a microcomputer system in the process of planning and controlling the amount of inventory appropriate for the manufacturing process. The present material requirement planning uses as a case study parts used in three models of automobile exhaust pipes manufactured by Siam Parts and Engineering Co. Ltd. The planning utilizes three types of data; master schedule, bill of material and inventory record. These data belong to the month of August, 1985, and are used to plan the demand of raw material for the next three months. Also this study makes use of four separate inventory records : inventory record consisting of safety stock of finished exhaust pipes with a large lot size; inventory record consisting of safety stock of finished exhaust pipes and ordered parts with a Large lot size; inventory record consisting of safety stock of finished exhaust pipes, ordered parts and manufactured parts with a large lot size ; and inventory record consisting of finished exhaust pipes, ordered parts and manufactured parts with a small lot size. The analysis compares the cost and amount of inventory calculated from each of the four inventory records with the actual cost and actual inventory. The result shows that the predicted inventory from the material requirement planning from any of the four inventory records is lower than the actual inventory, and that the predicted cost from any of the four inventory records is lower than the actual cost. The study also shows that although an increase of safety stock increases the cost, it prevents a shortage of finished goods. Reduction of cost can be attained by reducing the size of inventory or reducing the lot .size while keeping the same level of safety stock. This study still has some limitations. The analysis cannot compare the amount and cost of every inventory item since the amount and cost of some items have not been recorded Furthermore, the value for the lot size is an estimate which may not correspond to the actual value. However, the study can serve as a guideline to adjust the amount of safety stock and lot size by adjusting the time period. In addition, the microcomputer system used has some limitation in terms of memory and diskette storage capacity. This latter problem can be alleviated by changing to a microcomputer system with larger memory and with larger storage capacity diskette such as an IBM AT system or a system with a harddisk. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารธุรกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24407 |
ISBN: | 9745670723 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wichit_En_front.pdf | 758.46 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wichit_En_ch1.pdf | 427.06 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wichit_En_ch2.pdf | 1.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wichit_En_ch3.pdf | 710.63 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wichit_En_ch4.pdf | 490.85 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wichit_En_ch5.pdf | 2.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wichit_En_ch6.pdf | 1.97 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wichit_En_ch7.pdf | 635.37 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wichit_En_back.pdf | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.