Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2441
Title: | การศึกษาเปรียบเทียบการให้ยาซาลบูทามอลทางเอ็มดีไอร่วมกับสเปซเซอร์และทางเจ็ทเนบูไลเซอร์ในผู้ป่วยเด็กเล็กที่หายใจมีเสียงหวีด |
Other Titles: | Prospective randomized controlled trial of salbutamol aerosol therapy via metered dose inhaler-spacer versus jet nebulizer for young children with acute wheezing |
Authors: | วิภารัตน์ มนุญากร, 2518- |
Advisors: | จิตลัดดา ดีโรจนวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Subjects: | ซัลบูตามอล การรักษาด้วยละอองลอย ยา--ผลข้างเคียง |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพ และผลข้างเคียงของการให้ยา salbutamol ทาง MDIspacer และทาง jet nebulizer ในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ที่หายใจมีเสียงหวีด รูปแบบการวิจัย การวิจัยแบบทดลอง สถานที่ศึกษา หอผู้ป่วยในฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ประชากร ผู้ป่วยเด็กที่อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 ปีที่มาด้วย acute wheezing และรับไว้ในหอผู้ป่วยใน ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2545 ถึง 10 มีนาคม 2546 วิธีการศึกษา ผู้ป่วยเด็กที่ศึกษาจะได้รับการตรวจร่างกาย บันทึกค่า clinical score และตรวจสมรรถภาพปอดดัวยวิธี tidal breathing เป็น pre bronchodilator test แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 (กลุ่ม jet nebulizer) จะได้รับยา placebo ทาง MDI-spacer 2 puffs ตามด้วยยา salbutamol (0.5%VentolinR respiratory solution) 0.15 mg/kg ผ่านทาง jet nebulizer กลุ่มที่ 2 (กลุ่ม MDI-spacer)ได้รับ salbutamol ทาง MDIspacer 2 puffs ตามด้วย placebo ทาง jet nebulizer จากนั้นทำการตรวจสมรรถภาพปอดเป็น post bronchodilator test และบันทึก clinical score หลังให้ยา เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของผลการตรวจสมรรถภาพปอดก่อนและหลังได้รับยา โดยดูจากค่า parameter ต่างๆที่วัดได้จาก flowvolume loop (%VF, Tp/Te, 25/PF), ค่า Crs (compliance) และ Rrs (resistance) รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของ clinical score,อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจและ oxygen saturation ก่อนและหลังได้รับยา และเปรียบเทียบร้อยละของการเปลี่ยนแปลงระหว่างกลุ่มโดย Mann-Whitney U Test ผลการศึกษา ผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีที่หายใจมีเสียงหวีด จำนวน 34 รายได้รับการตรวจสมรรถภาพปอดก่อนและหลังให้ยา salbutamol ทาง jet nebulizer และทาง MDI-spacer พบว่าร้อยละของการเปลี่ยนแปลงของค่า Crs/kg, Rrs, %VF, Tp/Te, 25/PF และค่า clinical score ของทั้งสองกลุ่มไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value>0.05) และพบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา salbutamol ทาง jet nebulizer มีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นหลังพ่นยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value =0.002) บทสรุป การให้ยา salbutamol ทาง jet nebulizer และทาง MDI-spacer ให้ผลการรักษาไม่แตกต่างกันทั้งในด้านของการเปลี่ยนแปลงสมรรถภาพปอด และ ค่า clinical score และการให้ยา salbutamol ทาง jet nebulizer ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นหลังได้ยามากกว่าการให้ยาทาง MDI-spacer |
Other Abstract: | Studies efficacy and side effect of salbutamol aerosol therapy via Metered Dose Inhaler-spacer (MDI-spacer) compared with jet nebulizer in young children with acute wheezing. Design: Prospective randomized double blind placebo controlled clinical trial. Setting: Pediatric in-patient ward, King Chulalongkorn Memorial Hospital, Bangkok. Patients: Children up to 5 years of age who had wheezing associated with respiratory tract infection and were admitted to the Department of Pediatrics, King Chulalongkorn Memorial Hospital. Method: All the studied children were examined and their clinical scores before and after salbutamol aerosol therapy were recorded. The pulmonary function tests (tidal breathing) were performed to measure parameters from flow volume loop (%V-PF, Tp/Te, 25/PF), Crs (compliance) and Rrs (resistance) before and after salbutamol aerosol therapy. The patients were classified into two groups by restricted randomization. The first group (jet nebulizer group) recieved placebo 2 puffs via MDI-spacerand then salbutamol (0.5% VentolinR respiratory solution) 0.15 mg/kg via jet nebulizer. The second group (MDI-spacer group) recieved salbutamol MDI 2 puff via spacer and then placebo via jet nebulizer. Percent improvement in parameters from flow volume loop, Crs, Rrs, clinical score, respirarory rate, heart rate and oxygen saturation after salbutamol aerosol therapy in both groups were compared by Mann-Whitney U Test Result: A total of 34 wheezing children underwent pulmonary function tests before and after salbutamol aerosol therapy (17 via MDI-spacer and 17 via jet nebulizer). Percent improvement in Crs/kg, Rrs, %VF, Tp/Te, 25/PF and clinical score were not statistically different in both groups. But post bronchodilator heart rate in the jet nebulizer group was significantly increased. (p=0.002) Conclusion: Efficacy of salbutamol aerosol therapy via MDI-spacer compared with jet nebulizer in young children with acute wheezing was not different in terms of percent improvement in pulmonary function test andclinical score. However, salbutamol aerosol therapy via jet nebulizer caused significantly higher heart rate than MDI-spacer. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กุมารเวชศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2441 |
ISBN: | 9741717954 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wiparat.pdf | 1.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.