Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24417
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไพฑูรย์ สินลารัตน์
dc.contributor.authorประโยชน์ คุปต์กาญจนากุล
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-17T07:09:48Z
dc.date.available2012-11-17T07:09:48Z
dc.date.issued2525
dc.identifier.isbn9745608068
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24417
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบการเรียนของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปรียบเทียบแบบการเรียนของนิสิตที่มีเพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับชั้นปี สาขาวิชาที่ต่างกัน และหาความสัมพันธ์ระหว่างแบบการเรียน 6 แบบ สมมติฐานของการวิจัย สมมุติฐานของการวิจัยครั้งนี้คือ นิสิตที่มีผลสัมฤทธิทางการเรียนต่างกัน มีแบบการเรียนแตกต่างกัน นิสิตที่ศึกษาในระดับชั้นปีต่างกัน มีแบบการเรียนแตกต่างกัน และนิสิตที่ศึกษาในสาขาวิชาต่างกันมีแบบการเรียนแตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบสำรวจ กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใน 4 สาขาวิชา คือสาขาวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาสังคมศาสตร์ และสาขามนุษยศาสตร์ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแยกประเภท (Stratified Random Sampling) จำนวน 750 คน ได้รับแบบวัดกลับคืน 677 คน คิดเป็นร้อยละ 80.26 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดแบบการเรียนของนิสิตแบบมาตรส่วนประเมินค่า (Rating Scale) ซึ่งผู้วิจัยได้แปลและดัดแปลงมาจากแบบวัดแบบการเรียนของนิสิต (Student Learning Styles Questionnaire) สร้างโดยกราส์ชา และไรช์แมน (Grasha and Reichman) ใช้วัดแบบการเรียน 6 แบบคือ แบบอิสระ (Independent) แบบหลีกเลี่ยง (Avoidance) แบบร่วมมือ (Collaborative) แบบพึ่งพา (Dependent) แบบแข่งขัน (Competitive) และแบบมีส่วนร่วม (Participant) แบบวัดแบบการเรียนมีความเที่ยง .785 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการหาค่าร้อยละ (Percent) หาค่าเฉลี่ย (X̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าสูงสุด (Maximum) ค่าต่ำสุด (Minimum) ที-เทสท์ (t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) การทดสอบรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffé) ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) สรุปผลการวิจัย 1. นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชอบแบบการเรียน 4 แบบ คือชอบแบบการเรียนแบบร่วมมือค่อนข้างสูง ชอบแบบการเรียนแบบมีส่วนร่วม แบบพึ่งพา แบบอิสระ อยู่ในระดับปานกลาง ไม่ชอบแบบการเรียนแบบหลีกเลี่ยงและแบบแข่งขัน 2. นิสิตเพศชายและเพศหญิงมีแบบการเรียนแบบอิสระ แบบพึ่งพา แบบมีส่วนร่วมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ นิสิตเพศชายชอบแบบการเรียนแบบอิสระสูงกว่านิสิตหญิงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 นิสิตหญิงชอบแบบการเรียนแบบพึ่งพาและแบบมีส่วนร่วมสูงกว่านิสิตชายอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ 3. นิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง และนิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำมีแบบการเรียนแบบมีส่วนร่วม และแบบร่วมมือแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ นิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงชอบแบบการเรียนแบบร่วมมือและแบบมีส่วนร่วมสูงกว่านิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ 4. นิสิตที่ศึกษาในระดับชั้นปีต่างกัน มีแบบการเรียน แบบพึ่งพาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 กล่าวคือ นิสิตชั้นปีที่หนึ่ง ชอบแบบการเรียนแบบพึ่งพามากกว่าชั้นปีอื่น ๆ และนิสิตชั้นปีที่สี่ชอบแบบการเรียนแบบพึ่งพาน้อยที่สุด 5. นิสิตที่ศึกษาในสาขาวิชาต่างกัน มีแบบการเรียนแบบอิสระ แบบพึ่งพาและแบบมีส่วนร่วมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01, .05 และ .01 ตามลำดับ 6. มีความสัมพันธ์ระหว่างแบบการเรียนส่วนใหญ่ในทางบวก แต่มีความสัมพันธ์ค่อนข้างต่ำ ยกเว้นแบบการเรียนแบบมีส่วนร่วมกับแบบร่วมมือ มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง แบบการเรียนแบบหลีกเลี่ยงและแบบร่วมมือ แบบการเรียนแบบหลีกเลี่ยงกับแบบมีส่วนร่วม มีความสัมพันธ์กันในทางลบ ข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัย ผู้วิจัยได้เสนอแนะว่า ในการจัดการเรียน การสอนควรเน้นการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้นิสิตได้ทำกิจกรรมร่วมกัน การทำงานเป็นกลุ่มมากว่ารายบุคคล เปิดโอกาสให้นิสิตผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนให้มาก และควรให้ความสนใจ เอาใจใส่นิสิตชั้นปีที่หนึ่งให้มากเป็นพิเศษ เพื่อจะได้สนับสนุนให้นิสิตได้พัฒนาศักยภาพได้เต็มที่
dc.description.abstractalternativePurpose of the Study: The purpose of this research was to study the learning styles of Chulalongkorn University students and to compare the learning styles of the students by sex, different levels of academic achievement class level, field of study and finally to study correlations between the various learning styles. Hypotheses of the study: 1. Students with different levels of academic achievement have different learning styles. 2. Students at different class levels have different learning styles. 3. Students studying in different fields of study have different learning styles. Methodology and Procedures. This inquiry used the survey approach. 750 subjects were selected by [stratified] random sampling from the Chulalongkorn University students in four fields of study, i.e. Pure Science, Applied Sciences, Social Science and Humanities. 677 (90.26 percent) questionnaires were completed and returned, rating scale was developed using the Student Learning Styles Questionnaire of Grasha and Reichman. This scale includes six learning styles: Independent, Avoidance, Collaborative, Dependent Competitive and Participant. The reliability of the questionnaire adapted for this study was .785. Data were analyzed by computing percentages, arithmetic means, standard deviation, maximum minimum, t-test, F-test, Scheffe’s test for multiple Comparison and Pearson Product Moment Correlation Coefficients. Research Findings. 1. The four learning styles of the Chulalongkorn University students in general were Collaborative, Participant, Dependent and Independent. Collaborative rated at a high level, Participant, Dependent and Independent rated at a medium level. The students disliked two learning styles; Avoidance and Competitive. 2. There were significant differences among male and female students for the three following learning styles: Independent, Department and Participant. Male students ranked higher on Independent, significant at the .01 level. Female students ranked higher on Dependent, significant at the .05 level and higher on Participant, significant at the .01 level. 3. High academic achievement students and low academic achievement students showed differences on two learning styles; Collaborative and Participant. High academic achievement students ranked higher on Collaborative, significant at the .05 level and higher on Participant, significant at the .01 level. 4. Students who were at different class levels ranked differently on Dependent, significant at the .05 level. Freshmen ranked higher on Dependent and seniors ranked lower on Dependent. 5. Students who studied in different fields of study showed different learning styles; there were differences on Dependent and Participant, significant at the .01 level and on Dependent, significant at the .05 level. 6. Most learning styles showed positive correlations but at a low level, except for Participant and Collaborative which Correlated at a medium level. Avoidance and Collaborative, Avoidance and Participant Correlated negatively. Recommendations. On the basis of this results the researcher recommends that the process of teaching and learning should emphasize the use of collaborative approaches in activities and group work more than individual approaches, giving the opportunity to the students to participate in class. As for the Freshmen, special efforts should be made to enable them to develop their potential as fully as possible.
dc.format.extent740573 bytes
dc.format.extent891839 bytes
dc.format.extent2029634 bytes
dc.format.extent599002 bytes
dc.format.extent1106089 bytes
dc.format.extent1245771 bytes
dc.format.extent1302960 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleแบบการเรียนของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.title.alternativeLearning styles of Chulalongkorn University studentsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prayote_Ku_front.pdf723.22 kBAdobe PDFView/Open
Prayote_Ku_ch1.pdf870.94 kBAdobe PDFView/Open
Prayote_Ku_ch2.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open
Prayote_Ku_ch3.pdf584.96 kBAdobe PDFView/Open
Prayote_Ku_ch4.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Prayote_Ku_ch5.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Prayote_Ku_back.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.