Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2442
Title: | การตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (แบบก่อนสัมผัสโรค) ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 |
Other Titles: | Immunological response to pre-exposure rabies vaccine in type 2 diabetic patients |
Authors: | วราภรณ์ พลเมือง, 2515- |
Advisors: | วราภรณ์ วงศ์ถาวราวัฒน์ ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Varaphon.V@Chula.ac.th |
Subjects: | วัคซีน เบาหวาน -- ผู้ป่วย การตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ความสำคัญและที่มา : ผู้ป่วยเบาหวานบางรายมีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันได้แก่ ความผิดปกติของลิมโฟซัยท์ชนิดทีเซลล์ และความสามารถในการจับกินของแมคโครฟาจ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระดับภูมิคุ้มกันที่จะเกิดขึ้นภายหลังได้รับการฉีดวัคซีน แต่ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนในผู้ป่วยเบาหวานนั้นมีน้อย และยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเนื่องจากการศึกษาส่วนใหญ่นั้น ศึกษาจากวัคซีนชนิดที่มนุษย์มีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นตามธรรมชาติได้ เช่น วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่และวัคซีนป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคอล ส่วนโรคพิษสุนัขบ้าแม้เป็นโรคที่มีอันตรายถึงกับชีวิตแต่ก็สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนซึ่งมีประสิทธิภาพสูง การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้านั้นมีจำนวนมากถึง 240,000 รายต่อปี จึงควรมีการศึกษาถึงประสิทธิภาพของวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสัดส่วนของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับภูมิคุ้มกันถึงระดับป้องกันโรคภายหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบก่อนสัมผัสโรค รูปแบบการวิจัย : การศึกษาเชิงพรรณนา ระเบียบวิธีวิจัย : ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จำนวน 33 คน ทุกคนจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบก่อนสัมผัสโรค โดยวิธีฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ในวันที่ 0,7 และ 28 ตามลำดับ โดยจะมีการวัดระดับภูมิคุ้มกันในวันก่อนที่จะฉีดวัคซีนและวันที่ 42 หลังจากฉีดวัคซีนเข็มแรก ผลการวิจัย : ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ทุกคนมีระดับภูมิคุ้มกันถึงระดับที่สามารถป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้ (ระดับภูมิคุ้มกัน > 0.5 ยูนิตต่อมิลลิลิตร) และระดับค่าเฉลี่ยของระดับภูมิคุ้มกันคือ 20.82 ยูนิตต่อมิลลิลิตร โดยมีค่าอยู่ในช่วง 2.04 ถึง 92.54 ยูนิตต่อมิลลิลิตร ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการเป็นเบาหวาน,ระดับการควบคุมน้ำตาลหรือผลแทรกซ้อนของเบาหวานกับการเกิดภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อวัคซีนและไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในผู้ป่วยเบาหวานที่มาศึกษาครั้งนี้เลย สรุป : ผู้ป่วยเบาหวานมีภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อโรคพิษสุนัขบ้าได้ดี ณ 42 วัน ภายหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบก่อนสัมผัสโรค |
Other Abstract: | Background : Some diabetic patients have defects in T lymphocyte function and phagocytic activity of macrophages that can affect immunogenicity after vaccination. Immunological response after vaccination in diabetic patients have been inconclusive, partly due to inability to exclude the natural immunity factor for example studies on influenza and pneumococcal vaccines. Rabies is a life-threatening disease but can be prevented by vaccination which is highly effective. Rabies vaccination is quite common in Thailand (up to 240,000 patients/year) We studied pre-exposure rabies vaccination in diabetic patients to determine the effectiveness of rabies vaccine in preventioning this common and life-threatening disease. Objective : To study the response of pre-exposure rabies intramuscular vaccination in diabetic patients. Design : Descriptive study Subjects and Method: Thirty-three type2 diabetic patients who visited Chulalongkorn diabetic clinic were enrolled. All patients received three doses of 0.5 ml purified vero rabies vaccine intramuscularly on day 0 , 7 and 28. Rabies neutralizing antibody (Nab) titers were determined by the rapid fluorescent focus inhibition test on day 0 and 42. Results: All patients developed protective antibody concentration (Nab > 0.5 IU/ml) against rabies on day 42.(Response rate 100%) The geometric mean of Nab titers are 20.82 IU/ml (range 2.04-92.54). No correlation between levels of antibody and any patient characteristics e.g. duration of diabetes, glycemic control or diabetic complications. No serious adverse effects or systemic reactions were reported. Conclusion : All Diabetic patients have protective immunological response after intramuscular pre-exposure rabies vaccine at day 42 post immunization |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2442 |
ISBN: | 9741730993 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Waraporn.pdf | 562.07 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.