Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24426
Title: การศึกษาบทบาทของสื่อและรูปแบบการสื่อสาร ที่มีต่อการเข้าเป็นสมาชิกร้านสหกรณ์ กลุ่มวิทยาลัยครูภาคตะวันตก
Other Titles: A study of roles and patterns of communication that affect the people to become members of Co-Operative stores of the western region of the teachers' colleage
Authors: ประยงค์ สันตกิจ
Advisors: จาระไน แกลโกศล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันประชาชนในชนบทของไทยต้องเผชิญกับปัญหาทางเศรษฐกิจมาก รัฐบาลได้พยายามหาวิธีการต่าง ๆ มาเร่งรัดแก้ไข วิธีการสหกรณ์เป็นวิธีการหนึ่งที่ถูกนำมาใช้แก้ปัญหา นับตั้งแต่เริ่มมีกิจการสหกรณ์เกิดขึ้นในประเทศไทยจนกระทั่งปัจจุบันเป็นเวลามากกว่า 60 ปี แต่กิจการสหกรณ์ก็ยังมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนพลเมืองของประเทศไทย การที่กิจการสหกรณ์ไม่เจริญเท่าที่ควรก็เพราะประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในหลักและวิธีการสหกรณ์ขาดความสนใจในการดำเนินงานของสหกรณ์และไม่อุดหนุนสหกรณ์เท่าที่ควร กิจการร้านสหกรณ์เป็นสหกรณ์ที่ตั้งขึ้นได้ก่อนสหกรณ์ประเภทอื่นในสถาบันการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ สถาบันการศึกษาโดยเฉพาะวิทยาลัยครูนั้น นอกจากจะเป็นสถานที่เผยแพร่ความรู้ด้านสหกรณ์แล้ว ยังมีการจัดตั้งร้านสหกรณ์เป็นตัวอย่างในการดำเนินกิจการสหกรณ์ด้วย เป็นการทำให้กิจการสหกรณ์แพร่หลายไปสู่ประชาชนทั่วไปโดยผ่านสถาบันฝึกหัดครูโดยใช้วิธีการสื่อสารสหกรณ์เป็นเครื่องมือช่วยส่งเสริม ซึ่งคาดหวังว่าจะประสบผลสำเร็จได้ในที่สุด การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบบทบาทของสื่อและรูปแบบของการสื่อสารที่มีต่อการเข้าเป็นสมาชิกร้านสหกรณ์ และเพื่อทราบความคิดเห็นของสมาชิกที่มีต่อวิธีการใช้สื่อของร้านสหกรณ์ โดยนำการศึกษากับสมาชิกร้านสหกรณ์กลุ่มวิทยาลัยครูภาคตะวันตก ระหว่าง 1 กันยายน ถึง 31 ตุลาคม 2526 การศึกษาเรื่องนี้มุ่งพิสูจน์สมมติฐาน 4 ข้อคือ 1. สื่อบุคคล สื่อเฉพาะกิจมีบทบาทในการเผยแพร่ข่าวสารแตกต่างกัน โดยสื่อบุคคลมีบทบาทมากกว่าสื่อเฉพาะกิจ 2. สมาชิกที่เปิดรับข่าวสารจากสื่อมากชนิดกว่ามีความรู้เรื่องหลักและวิธีการสหกรณ์ร้านค้ามากกว่าสมาชิกที่เปิดรับข่าวสารจากสื่อน้อยชนิดกว่า 3. การสื่อสารแบบสองทิศทาง ทำให้สมาชิกมีความรู้เรื่องหลักและวิธีการสหกรณ์ร้านค้ามากกว่าการสื่อสารแบบทิศทางเดียว 4. ความคิดเห็นของสมาชิกที่มีต่อวิธีการใช้สื่อของร้านสหกรณ์มีความแตกต่างกันเมื่อพิจารณาตามเพศ อายุ อาชีพ การศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจ ความรู้และจำนวนสื่อที่สมาชิกได้รับ ผลการวิจัยส่วนใหญ่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยสรุปผลได้ดังนี้ สื่อบุคคลกับสื่อเฉพาะกิจมีบทบาทในการเผยแพร่ข่าวสารให้บุคคลสมัครเข้าเป็นสมาชิกแตกต่างกัน โดยสื่อบุคคลมีบทบาทมากกว่าสื่อเฉพาะกิจ สมาชิกที่เปิดรับข่าวสารจากสื่อมากชนิดกว่ามีความรู้ในหลักและวิธีการสหกรณ์ร้านค้ามากกว่าสมาชิกที่เปิดรับข่าวสารจากสื่อน้อยชนิดกว่า การสื่อสารแบบสองทิศทางทำให้สมาชิกมีความรู้ในหลักและวิธีการสหกรณ์ร้านค้ามากกว่าการสื่อสารแบบทิศทางเดียว ส่วนความคิดเห็นของสมาชิกที่มีต่อวิธีการใช้สื่อของร้านสหกรณ์ เมื่อพิจารณาแบ่งกลุ่มตามเพศ อายุ อาชีพ การศึกษาฐานะทางเศรษฐกิจ ความรู้และจำนวนสื่อที่เปิดรับ พบว่าสมาชิกบางกลุ่มย่อยมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน
Other Abstract: Nowaday country people of Thailand have for long suffered from financial troubles. To help solve the problem, the government decided to use co-operatives a means. Although this mechanic have been implemented for not less than 60 years, it can be said that the number of co-operative stores we have so far are still small in comparison to the number of Thai inhabitants. The reason why it is still so small in number was due to the lack of knowledge, the understanding in the concepts and implementation of co-operatives. For educational institutes under the ministry of Education, Co-operative stores have been established before any other types of co-operative affairs. Such institutes as teachers’ colleges not only persuading for the organization of the affairs but also establish demonstration co-operative stores to popularize the concepts aiming that the idea would spread further to general public through the assistance of aided media. The purpose of the study is to investigate the roles and forms of communication that affect the people to become members of the co-operative stores and the opinion of members on co-operative store utilization of media. The subjects of the study are the members of co-operative store in the teachers’ colleges of the western region. The study started from 1 September to 31 October, 1983. The study is conducted to prove four hypotheses as follows: 1. The personal media has more roles than specialized media in distributing persuasive information. 2. The more types of media the members exposes to, the more information about principles and procedure of co-operative stores they get. 3. Two-way Communication helps to get more information about principles and procedure of co-operative stores than one-way communication. 4. Members having different opinions on how co-operative stores utilizing media as classified under the variables on sex, age, career, education, economic status, knowledge, and the frequency of media they could expose to. The results of the study supports the hypotheses as it is found that: The personal media had more roles than the specialized media; the more types of media members exposes to, the more information about principles and procedure of co-operative stores they get; two-way communication helps to get more information about principles and procedure of co-operative stores than one-way communication. And, it is also found that member’ opinions on how co-operative stores use media are different as considered on sex, age, career, education, economic status, knowledge, and the frequency of media they could expose to.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24426
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prayong_Su_front.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Prayong_Su_ch1.pdf692.9 kBAdobe PDFView/Open
Prayong_Su_ch2.pdf981.95 kBAdobe PDFView/Open
Prayong_Su_ch3.pdf392.14 kBAdobe PDFView/Open
Prayong_Su_ch4.pdf2.36 MBAdobe PDFView/Open
Prayong_Su_ch5.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Prayong_Su_back.pdf4.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.