Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24443
Title: การดำเนินงานเทคนิคของหนังสือปกอ่อน ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
Other Titles: The technical work of paperback books in Thai university libraries
Authors: สมร จิตราทร
Advisors: อัมพร ทีขะระ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติทางเทคนิคของหนังสือปกอ่อน (ขนาดพ็อกเก็ตบุ๊ค) ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทย เกี่ยวกับการจัดหา การจัดหมู่ และทำบัตรรายการ และเพื่อศึกษาข้อดี ข้อเสีย ของวิธีการจัดเก็บหนังสือปกอ่อนที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งปฏิบัติ การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม 2 ชุด รวม 350 ฉบับ แยกได้ดังนี้ คือ แบบสอบถาม 10 ชุด สำหรับสัมภาษณ์หัวหน้าบรรณารักษ์ แบบสอบถามอีก 40 ชุด สำหรับบรรณารักษ์หัวหน้างานจัดหา งานจัดหมู่ และทำบัตรรายการหนังสือภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ และบรรณารักษ์บริการจ่าย-รับหนังสือ แบบสอบถามอีก 300 ฉบับ สำหรับผู้ใช้ห้องสมุดทั้ง 10 แห่ง ผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามคืนทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. บรรณารักษ์ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการจัดหาหนังสือปกอ่อนประเภทวิชาการ ตำรา และบันเทิง หากให้โอกาสบรรณารักษ์ในการคัดเลือกซื้อหนังสือ บรรณารักษ์ส่วนใหญ่ชอบซื้อหนังสือปกแข็งมากกว่า โดยพิจารณาถึงความคงทนของรูปเล่มเป็นสำคัญ ห้องสมุดซื้อหนังสือปกอ่อนเมื่อไม่มีฉบับจัดพิมพ์เป็นหนังสือปกแข็ง หรือเป็นหนังสือฉบับพิมพ์ซ้ำจากหนังสือปกแข็งที่ขาดตลาด 2. กระบวนการทางเทคนิค ห้องสมุดส่วนใหญ่ดำเนินการจัดหมู่และทำบัตรรายการให้กับหนังสือปกอ่อนประเภท วิชาการและสารคดี มีห้องสมุดบางแห่งที่ปฏิบัติแตกต่างไปโดยเฉพาะหนังสือปกอ่อนประเภท สารคดี คือ กำหนัดสัญลักษณ์ ป = หนังสือปกอ่อน, พ = หนังสือพ็อกเก็ตบุ๊ค, หรือ Sc = Story collection, หรือ NF = Non Fiction แทนการให้เลขหมู่หนังสือ ส่วนหนังสือปกอ่อนประเภทบันเทิงห้องสมุดส่วนใหญ่กำหนดสัญญลักษณ์ F, Fic, หรือ FIC แทนการให้เลขหมู่ ระบบจัดหมู่หนังสือที่นิยมใช้กัน 3 ระบบ คือ ระบบจัดหมู่หอสมุดรัฐสภาอเมริกา, ระบบจัดหมู่ทศนิยมของดิวอี้ และระบบแพทย์แห่งชาติอเมริกัน 3. การจัดเก็บหนังสือปกอ่อนส่วนใหญ่จัดเก็บบนชั้นปนกับหนังสือปกแข็งจัดเรียงตามเลขเรียกหนังสือ หรือตามชื่อผู้แต่งหรือชื่อสกุลผู้แต่ง ห้องสมุดที่จัดแยกเก็บหนังสือปกอ่อนไว้ต่างหากจัดเรียงบนชั้นด้วยวิธีเดียวกัน วิธีการจัดเก็บหนังสือปกอ่อนที่งานบริการจ่าย-รับ เห็นว่าเป็นวิธีที่เหมาะสมนั้น เป็นการจัดเก็บหนังสือปกอ่อนประเภทวิชาการ และสารคดีไว้กับหนังสือปกแข็ง หนังสือปกอ่อนประเภทบันเทิงแยกต่างกัน 4. ผู้ใช้ห้องสมุด ผู้ใช้ห้องสมุดส่วนใหญ่ใช้หนังสือปกอ่อนประเภทบันเทิงมากกว่าหนังสือวิชาการและสารคดี หากให้พิจารณาเลือกวิธีจัดเก็บหนังสือปกอ่อน ผู้ใช้ห้องสมุดเลือก 2 วิธี คือ วิธี 1 จัดเก็บหนังสือปกอ่อนทุกประเภท แยกเป็นสัดส่วนต่างหากจากหนังสือปกเข็ง จัดเรียงตามเลขเรียกหนังสือ ส่วนอีกวิธีหนึ่ง จัดเก็บหนังสือปกอ่อนประเภทวิชาการไว้กับหนังสือปกแข็งส่วนหนังสือประเภทสารคดีและบันเทิงแยกเก็บต่างหาก ข้อเสนอแนะ 1. การจัดหาหนังสือปกอ่อนของห้องสมุด ควรมีนโยบายที่ครอบคลุมถึงงบประมาณ และวิธีเลือกซื้อหนังสือปกอ่อนทั้งประเภทวิชาการ สารคดี และบันเทิง 2. ในมหาวิทยาลัยที่มีหอพักนักศึกษา ระยะใกล้ปิดภาคการศึกษา ควรจัดกล่องขอรับบริจาคหนังสือตามหอพัก 3. เพื่อเป็นการประหยัดเวลาแลค่าใช้จ่ายในการทำบัตรรายการ ห้องสมุดควรกำหนดแนวปฏิบัติสำหรับการทำบัตรรายการของหนังสือปกอ่อน โดยกำหนดว่าหนังสือปกอ่อนประเภทใดทำบัตรรายการอย่างสมบูรณ์ ประเภทใดทำบัตรรายการอย่างคร่าวๆ 4. หนังสือปกอ่อนประเภทวิชาการและสารคดี ห้องสมุดควรเย็บเล่มก่อนนำออกบริการ 5. ห้องสมุดควรจัดนิทรรศการหนังสือปกอ่อนไว้ใกล้กับชั้นที่เก็บหนังสือปกอ่อน
Other Abstract: The purpose of this thesis was to study the technical works comprising of acquisition, classifying and cataloguing of paperback books (pocket books or rack-size) in university libraries in Thailand, and to study the advantages and disadvantages connected with the shelving of paperback books in each library. Data were collected through 2 sets of 350 questionnaires. of these, 10 were designed for chief librarians, 40 for the head of Acquisition Department, Cataloguing Department and Circulation Department, and the other 300 for library users in 10 libraries. The completed questionnaires were totally returned 100 percents. Results of the study were :- 1. Most of the libraries in the study agreed on the acquisition of paperbacks by type of broad subject matters: textbooks, non fiction and fiction. If the choice could be made, a hardbound edition was preferred because of its durability. A paperback book was purchased only if the hardbound edition was out of print or non-existent. 2. Processing In the case of qualitative paperbacks: textbooks and non fiction many libraries classified and catalogued them. The following notations Pb = Paperback book, P = Pocket book, Sc = Story collection, and NF = Non Fiction were used for informational books by some libraries, while F, Fic or FIC were used for fiction. Classification schemes used were Library of Congress Classification, Dewey Decimal Classification and National Library of Medicine Classification. 3. Shelving Paperbacks were usually shelved together with hardbounds by call number or alphabetically shelved by author’s name. Even in libraries with separate paperback collections, they were similary shelved in either ways. A suitable shelving method used by most of the circulation departments were to place paperback textbooks and non fiction with hardbounds, but paperback fictions were separated in a special collection. 4. Libraty users Most of Library user used the paperback fictions more than paperback textbooks and informational paperbacks. The users recommended 2 procedures that the library should take into considerations. Firstly all paperbacks were placed in special shelves separated from the hardbounds, and they were arranged by call number. Secondly, the paperback textbooks were placed together with the hardbound copies, but other informational paperbacks and paperback fictions were placed together in the special racks. Recommendations 1. There is a need for formulating an uniform library acquisition policy that covers the budget provision and the selection of paperback textbooks, non fiction and fiction. 2. For any university with dormitories on campus the library should provide gift book drops at easily accessible points in each dormitory. 3. To save time and expenses, each library should have standard guidelines for classifying and cataloguing of paperback books, including the idea of what kind of paperback books ought to undergo “full” precessing and which will undergo “simple” processing. 4. The paperback textbooks and non fiction should be rebound for reinforcement before they are out on the shelves. 5. A display rack for new paperback books should be located in the paperback collection.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24443
ISBN: 9745609005
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Smorn_Ch_front.pdf518.03 kBAdobe PDFView/Open
Smorn_Ch_ch1.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Smorn_Ch_ch2.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open
Smorn_Ch_ch3.pdf320.17 kBAdobe PDFView/Open
Smorn_Ch_ch4.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open
Smorn_Ch_ch5.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Smorn_Ch_back.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.