Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24475
Title: | การใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลาและสตูล |
Other Titles: | Application of Muslim law in Pattani Narathiwat Yalan and Satun |
Authors: | สมบูรณ์ พุทธจักร |
Advisors: | วิษณุ เครืองาม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | กฎหมายอิสลามหรือที่เรียกว่าชารีอะห์ เป็นระบบกฎหมายศาสนาที่ใช้อยู่ในชุมชนของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม โดยเป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างมุสลิม โดยเฉพาะในเนื้อหาที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ในทางครอบครัว กฎหมายอิสลามจึงเป็นสิ่งควบคู่กับชุมชนมุสลิม เพราะกฎหมายอิสลามนั้น มีที่มาจากคำภีร์กุรอ่าน หะดิษ อิจมาอ์ และกิยาสที่มุสลิมทุกคนต้องยึดถือปฏิบัติเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต กล่าวโดยทั่วไป กฎหมายอิสลามได้เข้ามาสู่ดินแดนทางเอเซียใต้ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมกับการเข้ามาของศาสนาอิสลาม โดยประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ได้รู้จักกับระบบกฎหมายอิสลาม ก่อนที่จะรู้จักกับระบบกฎหมายของชาติตะวันตก เนื่องจากในระยะแรกๆ นั้น การปกครองมีลักษณะเป็นแว่นแคว้น ซึ่งในแว่นแคว้นที่มีผู้ปกครองเป็นมุสลิมก็ได้มีการนำเอากฎหมายอิสลามมาบังคับใช้กับประชาชนในแว่นแคว้นตน โดยการก่อตั้งสถาบันทางศาสนาอิสลามขึ้น เพื่อทำหน้าที่บริหารกฎหมายอิสลามให้สอดคล้องกับหลักศาสนา โดยที่รัฐบาลกลางก็ได้ยอมรับในการใช้กฎหมายอิสลาม และไม่ได้เข้าแทรกแซงในกิจการ การบริหารกฎหมายอิสลามของแต่ละแว่นแคว้นกฎหมายอิสลามจึงมีสถานภาพเป็นกฎหมายประจำแว่นแคว้นที่ใช้กับประชาชนมุสลิมในแว่นแคว้นนั้นๆ ครั้นต่อมาประเทศตะวันตกได้เข้ามาปกครองประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ ในฐานะอาณานิคม ทำให้เจ้าอาณานิคม บางแห่งพยายามที่จะทำลายล้างขนบธรรมเนียมของชาวพื้นเมืองที่นับถือศาสนาอิสลาม จึงได้รับการต่อต้านจากประชาชนชาวมุสลิม ประชาชนชาวมุสลิมได้ ยืนยันสิทธิที่จะดำเนินชีวิตภายใต้หลักศาสนาอิสลาม ประกอบกับเจ้าอาณานิคมต้องการที่จะให้เกิดความสงบสุข เพื่อจะแสวงหาผลประโยชน์ในอาณานิคม จึงได้ยอมรับกฎหมายอิสลามให้บังคับใช้ในชุมชนมุสลิม ผลจากการตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก ทำให้การใช้กฎหมายอิสลาม จำกัดขอบเขตลงเฉพาะในบางเนื้อหาบางเรื่อง ตามที่รัฐบาลอาณานิคมต้องการ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางครอบครัว มรดก และการบริจาคทาน ในขณะที่การใช้กฎหมายอิสลามถูกจำกัดขอบเขตนั้น รัฐบาลอาณานิคมก็ได้พัฒนาระบบกฎหมายของตนเองขึ้นมาบังคับใช้จนกฎหมายเหล่านั้นได้กลายมาเป็นระกฎหมายของอาณานิคมไป อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบาลอาณานิคมจะยังคงให้มีการใช้กฎหมายอิสลามก็ตามแต่ก็ไม่ได้มีการก่อตั้งสถาบันทางศาสนาขึ้นมา เพื่อดำเนินการบริหารกฎหมายอิสลามแต่ประการใดเป็นเพียงให้ศาลแพ่งเป็นผู้ใช้กฎหมายอิสลามเท่านั้น ทำให้การใช้กฎหมายอิสลามไม่มีการคล่องตัว และไม่มีโอกาสที่จะพัฒนาหลักกฎหมายขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานได้ และผู้พิพากษาของศาลแพ่งนั้นก็ไม่ได้เป็นมุสลิม และไม่มีความรู้ทางกฎหมายอิสลาม การพิจารณาคดีในกรณีที่กฎหมายอิสลามตามที่รัฐบาลอาณานิคมประมวลขึ้นนั้น ไม่ได้กล่าวไว้ ศาลแพ่งก็มักจะนำเอากฎหมายทั่วๆ ไปมาปรับแก่คดี ต่อมาเมื่อประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ได้รับเอกราช ความต้องการที่จะอยู่ร่วมกันทางสังคม เพื่อรักษาความเป็นเอกภาพของประเทศเอาไว้ รัฐบาลของแต่ละประเทศก็ได้ยอมรับการใช้กฎหมายอิสลามสืบต่อจากรัฐบาลอาณานิคม นอกเหนือจากนั้น รัฐบาลก็ได้พัฒนากระบวนการเกี่ยวกับการใช้กฎหมายอิสลามขึ้นมา เนื่องจากสภาพและสถานการณ์ทางสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จนในที่สุดกฎหมายอิสลามก็ได้กลายมาเป็นกฎหมายสถานภาพบุคคล โดยการรวบรวมกฎหมายอิสลามในเรื่องที่เกี่ยวกับการแต่งาน การหย่า ความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามี ภรรยา การปกครอง การรับมรดกขึ้นมาเป็นประมวลกฎหมายหรือเป็นพระราชบัญญัติ นอกจากนั้นรัฐบาลก็ได้ก่อตั้งสถาบันทางศาสนาอิสลามขึ้นมาเพื่อการบริหารกฎหมายอิสลามเป็นการเฉพาะโดยการก่อตั้งศาลศาสนา สำนักงานจดทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า คณะกรรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตลอดจนที่ปรึกษากฎหมายอิสลามขึ้น ทำให้การใช้กฎหมายอิสลามเป็นไปอย่างมีระบบ และมีประสิทธิภาพ กล่าวโดยเฉพาะประเทศไทย ซึ่งมีประชากรส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะทางจังหวัดชายแดนภาคใต้ นับถือศาสนาอิสลามอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ซึ่งประชาชนส่วนนี้มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากสังคมส่วนใหญ่ของประเทศ และศาสนาอิสลามก็มีความสัมพันธ์กับประเทศไทยในฐานะที่ศาสนาอิสลาม ก็เป็นศาสนาหนึ่งที่ประชาชนชาวมุสลิมได้ยึดถืออย่างเคร่งครัดภายใต้ระเบียบซึ่งกำหนดโดยระบอบการเมืองของไทย แม้ประเทศไทยจะเป็นสังคมที่มีแนวความคิดทางด้านการเมือง มีลักษณะการรวมอำนาจก็ตาม รัฐบาลไทยก็ได้เล็งเห็นความจำเป็นในการที่จะพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนมุสลิม โดยจะเห็นได้จากโครงการต่างๆ ของรัฐบาลที่มุ่งจะพัฒนาจังหวัดชายแดนภายใต้ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม นอกจากนั้น รัฐบาลก็ได้ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนชาวไทยมุสลิม ในอันที่จะดำเนินชีวิตภายใต้หลักศาสนาอิสลาม โดยเห็นได้จากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ ฝ่ายอิสลาม พ.ศ. 2488 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489 เมื่อพิจารณาถึงการใช้กฎหมายอิสลามตามพระราชบัญญัติดังกล่าวจะเห็นว่ายังขาดรายละเอียดต่างๆ ที่จำเป็นต่อการบริหารกฎหมายอิสลามอยู่เป็นอันมาก เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้กฎหมายอิสลามในประเทศฟิลิปปินส์ ศรีลังกา สิงคโปร์ กล่าวคือพระราชบัญญัติฉบับนี้เพียงแต่กำหนดให้นำเอากฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวมรดกมาบังคับใช้แทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัวมรดกเท่านั้น โดยไม่ได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักกฎหมายอิสลามที่จะนำมาบังคับใช้และวิธีพิจารณาตามกฎหมายอิสลาม ตลอดจนองค์กรอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการบริหารกฎหมายอิสลาม การใช้กฎหมายจึงจำกัดอยู่เฉพาะแต่ในศาลเท่านั้น ทำให้การใช้กฎหมายอิสลามขาดประสิทธิภาพ เป็นอุปสรรคต่อการที่จะส่งเสริมการดำเนินชีวิตภายใต้หลักศาสนาอิสลามของประชาชนชาวไทยมุสลิม ดังนี้จุดมุ่งหมายในการทำวิทยานิพนธ์ก็คือศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคต่อการใช้กฎหมายอิสลาม ตลอดจนผลที่เกิดจากการใช้กฎหมายอิสลามในปัจจุบัน โดยการเทียบเคียงกับการใช้กฎหมายอิสลามในประเทศฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และศรีลังกา เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหา และอุปสรรคต่างๆ โดยมีข้อเสนอแนวทางแก้ไขดังนี้ 1. ควรแก้ไขขอบเขตการใช้กฎหมายอิสลาม โดยการกำหนดให้ผู้ที่ทำการสมรสภายใต้หลักกำหมายอิสลามในเขต 4 จังหวัดภาคใต้ ต้องบังคับตามกฎหมายอิสลาม 2. ควรแก้ไขกฎหมายเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐพิจารณาใช้กฎหมายอิสลามเองได้แต่ในการนี้จำเป็นที่จะต้องดำเนินการแก้ไขในเรื่องเหล่านี้ คือ 2.1 การจดทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่าของมุสลิม โดยกำหนดให้เจ้าที่ทางศาสนาอิสลามกระทำหน้าที่จะทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่าในฐานะเจ้าที่ของทางราชการ 2.2. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเกี่ยวกับครอบครัวมรดก โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของมุสลิม ถ้าหากคู่กรณียอมรับผลของการไกล่เกลี่ยก็อาจนำผลนั้นไปยืนยันสิทธิกับทางราชการได้ 3. ควรแก้ไขกฎหมายเพื่อให้คู่ความสามารถอุทธรณ์คำตัดสินของดะโต๊ะยุติธรรมได้ 4. ควรแก้ไขคุณสมบัติ การคัดเลือกและการแต่งตั้ง ดะโต๊ะยุติธรรมเพื่อให้เกิดความเหมาะสม |
Other Abstract: | Islamic law or commonly known as Shariah is a religious legal systems which governs Islamic community. It determines the interpersonal relationship of Moslems, particularly the contents related to the domestic relationship. Islamic law is thus inseparable from the Moslem community as it derives its existence from the Qur’an, the Hadith, the Ijma and the Qiyas which all Moslems must hold as their guidance for the everyday living. Generally speaking, the Islamic law made its presence in the South Asia, and Southeast Asia. With the advent of the Islamic religion. The countries in the regions had known the Islamic legal system long before they did the western legal systems. Due to the earlier form of government in the regions being principate, the Moslem rulers of these states introduced the rule of Islamic law to their subjects by establishing the Islamic religious institution with a view to bringing the Islamic law administration into line with the religious principles whilst the central government in recognition of the enactment of Islamic law, did not interfere with the administration of Islamic law in each of its principates. Hence, Islamic law came to be principate law governing the Moslem population of each of the principates. Afterward, the Westerners began colonizing and ruling these regions and some colonial rules even went so far as to eliminate the local Islamic traditions. The Moslem anticolonialism followed and the Moslem people stood to assert their rights to lead their lives under the Islamic banners. Coupled with the fact that the colonial rulers wished to sue for peace in a bid to be more able to exploit their colonies, they recognized the Islamic law as the rule with which to govern the Moslem communities. Consequent on the Westerners colonization, the application of Islamic law was limited to certain areas of the law that served the purpose of the colonizing government. These areas of the law mostly concern the domestic relations, estate, and charity. While the Islamic law’s application was subject to such restraint, the colonial government developed and enforced its own brand of legal system which has come to be established as the legal system governing the colony. Even though the colonial government allowed the existence of Islamic law, it was not prepared to allow institutionalization of the Islamic religion to administer the Islamic law. Only through the civil court was the Islamic law allowed to be administered, resulting in little room and chance for Islamic law to develop itself into any standard legal system and the civil court judges were not Moslem and knew little about Islamic law. In the process of law where the Islamic law as codified by the colonial government remained silent, the civil court more often than not brought the general law to bear on administering justice to the particular case. When the countries in these regions received independent, to meet the social needs of coexistence and unity of nationhood, the government of each newly independent nation was willing to inherit Islamic law from the colonial government. In addition, the government developed a process whereby Islamic law was to apply. The changed social condition and situation brought about the personal status law which Islamic law came to be through the consolidation of the Islamic laws on marriage, divorce, proprietary relations between husbands and wives, administration, inheritance into codes or Acts. Furthermore, the government established Islamic institution specifically for the administration of Islamic law in the form of religious court, marriage registries, divorce registries, conciliatory tribunal and Islamic legal counsel, making possible a more systematic and efficient application of Islamic law. When it comes to Thailand with its Islamic population being heavily concentrated in the Southern border provinces, this population has traditions of its own more or less differing from the majority of the national society. Islamic religion relates to Thailand as one of the national religions to which the Moslem people profess under the regulations determined by the political ideology of Thailand. Even though Thai society has the characteristic of a confederation and the political ideology of a shared power, the Thai government is receptive to the need for improvement of life and well-being of its Moslem population as a variety of government projects aimed at developing Southern border provinces economically, politically and socially can testify to that. In addition, the government accords its Moslem population the rights to live under the Islamic religious principles as evidenced by the provisions of the constitution, the Royal Decree on Protection of Islamic Faith B.E. 2488 and the Application of Islamic Law in the Pattani, Narathiwat, Yala and Satoon provinces B.E. 2489. When the application of Islamic law under the said Act is considered, it becomes apparent that there is miserable shortage of details necessary for the administration of Islamic law compared to the application of Islamic law in the Philippines, Sri Lanka, Singapore i.e. this Act provides that Islamic law on the Family, Inheritance be applied in lieu of the provisions of the civil and Commercial code as regards the Family and Inheritance without specifying the details concerning the principles of Islamic law to be applied and the decisions to be made according to Islamic law on all organizations to be administered by the Islamic law. The use of this law should be limited to the Islamic religion, to be used for the sake of moslems lacking efficiency to promote the ways of living of Thai Moslems who profess Islam. Therefore, the emphasis of this thesis is to study the problems and causes of introducing to use the Islamic law, as well as the results of using the Islamic law at present, by comparing with the use of Islamic law in the Philippines and Sri Lanka, to give guidelines in solving various problems and causes by presenting the following methods of problem solving : 1. The region to use Islamic law should be limited on those who wed under the principles of Islamic law within the boundary of four provinces in the South, by imposing the Islamic law. 2. Legal problems should be solved by making government official consider to use the Islamic law by themselves and in this case it is necessary to solve this matter, as follows : 2.1 Marriages of Moslems should be registered and divorce cases should also be registered, by assigning Islamic religious official to take the duties of marriage and divorce registrations in the capacity of government officials. 2.2 Similarly for the consideration of family succession committees should be appointed, to function similarly for deciding on the properties of Moslems. If parties to the dispute accept similar results, those results should be admissible as proof of right to the government authority. 3. Laws should be modified so as to enable parties concerned to be eligible for appealing the decision of Datuk Justice. 4. Qualifications requirements, selection and appointment criteria for Datuk Justices should be modified so that suitability may be achieved. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24475 |
ISBN: | 9745666696 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Somboon_Pu_front.pdf | 837.48 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somboon_Pu_ch1.pdf | 382.98 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somboon_Pu_ch2.pdf | 1.06 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somboon_Pu_ch3.pdf | 2.67 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somboon_Pu_ch4.pdf | 2.32 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somboon_Pu_ch5.pdf | 2.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somboon_Pu_ch6.pdf | 633.91 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somboon_Pu_back.pdf | 336.12 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.