Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2454
Title: | การศึกษาความชุกและลักษณะทางคลินิกของโรคติดเฃื้อเอ็นเทอโรไวรัส ในผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 3 เดือนที่มีอาการของการติดเชื้อในกระแสเลือด |
Other Titles: | A prospective study of enterovirus infection in infants unders 3 months of age with clinical sepsis |
Authors: | ธนินี เพ็ชรวิจิตร, 2520- |
Advisors: | ทายาท ดีสุดจิต ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา สันติ ปุณณหิตานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Tayard.D@Chula.ac.th Thiravat.H@Chula.ac.th Santi.P@Chula.ac.th |
Subjects: | โรคติดเชื้อเอนเตอโรไวรัส เด็ก--โรค |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาความชุก ลักษณะทางคลินิกและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ของโรคติดเชื้อเอ็นเทอโรไวรัสในผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 3 เดือน ที่มีอาการของการติดเชื้อในกระแสเลือด รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาแบบไปข้างหน้า สถานที่ศึกษา: แผนกผู้ป่วยใน ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ประชากร: ผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 3 เดือนที่มีอาการของการติดเชื้อในกระแสเลือด ที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยใน ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ช่วงเดือนเมษายน 2546-เดือนกุมภาพันธ์ 2547 โดยไม่รวมคนไข้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือคนไข้ที่นอนโรงพยาบาลนานเกิน 14 วัน วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยที่เข้ากฎเกณฑ์การศึกษา จะได้รับการเก็บข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ ประวัติ ผลการตรวจร่างกาย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และจะได้รับการตรวจเลือดและ/หรือน้ำไขสันหลัง เพื่อหาสารพันธุกรรมของเอ็นเทอโรไวรัสด้วยวิธีการ NASBA และจะได้รับการติดตามการดำเนินโรค และการรักษาที่ได้รับขณะอยู่โรงพยาบาล ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยเด็กที่เข้าร่วมการศึกษา 56 ราย แบ่งเป็นคนไข้ที่แผนกทารกแรกเกิด 20 รายและที่ตึก สก. (เคยกลับบ้านหลังจากคลอด) 36 ราย พบผู้ป่วยติดเชื้อเอ็นเทอโรไวรัส 36.1% ของผู้ป่วยเด็กซึ่งเคยกลับบ้านหลังจากคลอดแล้ว และ Admit ด้วยเรื่องสงสัยการติดเชื้อในกระแสเลือด และไม่พบผู้ติดเชื้อในกลุ่มผู้ป่วยที่แผนกทารกแรกเกิดเลย กลุ่มอาการที่พบมากที่สุดคือไข้สูงโดยไม่มีอาการตามระบบอื่น โดยพบ 10 ราย (76.9%) ผู้ป่วย 3 ราย (23.1%) มีอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาการสำคัญที่พบเรียงตามลำดับคือ ไข้สูง (92%) ซึมลง (54%) มีผื่น (54%) จากผลการตรวจน้ำไขสันหลังพบมี CSF Pleocytosis 7 ราย (58%)พบการติดเชื้อเอ็นเทอโรไวรัสในระบบประสาทส่วนกลางร่วมด้วย 10 ราย (76.9%) ระยะเวลาเจ็บป่วยเฉลี่ยนาน 3 วัน ทุกรายกลับบ้านได้โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน ผู้ป่วยติดเชื้อเอ็นเทอโรไวรัส 76.9% ได้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือดเฉลี่ยนาน 5 วัน ระยะเวลาอยู่โรงพยาบาลเฉลี่ยนาน 8.1 วัน บทสรุป: การติดเชื้อเอ็นเทอโรไวรัสพบเป็นสาเหตุสำคัญของผู้ป่วยเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 3 เดือน ที่มีอาการของการติดเชื้อในกระแสเลือด โดยพบ 36.1% ของผู้ป่วยเด็กซึ่งเคยกลับบ้านหลังจากคลอดแล้ว และถูกรับตัวไว้รักษาที่แผนกผู้ป่วยในด้วยเรื่องสงสัยการติดเชื้อในกระแสเลือด อาการสำคัญได้แก่ ไข้สูงโดยไม่มีอาการตามระบบอื่น ซึมลง มีผื่น การตรวจหาสารพันธุกรรมเอ็นเทอโรไวรัสด้วยวิธีการ NASBA ในเลือดและ/หรือน้ำไขสันหลัง พบว่าเป็นวิธีที่รวดเร็ว และมีความไวสูงในการวินิจฉัยโรคนี้ |
Other Abstract: | To study the prevalence, clinical presentation and laboratory findings of enterovirus infection in infants under 3 months of age with clinical sepsis. Design: Prospective descriptive study. Setting: Pediatric in-patients units, King Chulalongkorn Memorial Hospital, Bangkok. Patients: All infants less than 90 days of age with clinical sepsis admitted to general wards and nursey wards, King Chulalongkorn Memorial Hospital for sepsis evaluation from April 2003-Febuary 2004. Patients excluded immunocompromised hosts or who admitted longer than 14 days. Methods: Patients who met criteria were prospectively studied. History taking, physical examination and laboratory findings were recorded. Specimens of blood and cerebrospinal fluid were tested for enteroviruses using NASBA techniques. Patients were followed to determine the duration management and outcome of their illness. Results: A total of 56 infants were enrolled, 36 were admitted to the pediatric wards and 20 had been hospitalized since birth in the neonatal intensive care unit (NICU) or nursery wards. An enterovirus was detected in 13 (36.1%) of the patients admitted to the pediatric wards. In contrast, none of the NICU/Nursery patients developed enteroviral disease. Of those 13 patients infected with enteroviruses,10 (76.9%) presented with fever without localizing signs, 3 ( 23.1%) presented with aseptic meningitis or meningoencephalitis. The most common clinical presentation was high grade fever (92%), lethargy (54%) and rash (54%). 76.9% of enterovirus positive infants had evidence of CNS involvement, but only 53.8% had CSF pleocytosis. Average duration of illness was 3 days. All enterovirus infected patients had an uncomplicated recovery. 76.9% of enterovirus infected infants receiving parenteral antibiotics for a mean of 5 days. Average length of stay was 8.1 days. Conclusion: Enterovirus infections are an important cause of sepsis in infants under 3 months of age. An enterovirus was detected in 13 (36.1%) of the patients admitted to the pediatric wardsbecause of suspected sepsis. Most enterovirus infected patients presented with fever without localizing signs, lethargy and rash. NASBA in serum and/or CSF was a rapid and sensitive method for diagnosis of enterovirus infection. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กุมารเวชศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2454 |
ISBN: | 9741750986 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Taninee.pdf | 697.66 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.