Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24557
Title: การกำจัดสีน้ำกากส่าโดยยีสต์
Other Titles: Decolorization of molasses wastewater by yeast
Authors: พงษ์เทพ บวรยรรยง
Advisors: ประกิตติ์สิน สีหนนทน์
สันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกหายีสต์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดสีน้ำกากส่าที่คัดเลือกได้และทำการจำแนกชนิดของยีสต์ที่คัดเลือกได้ ได้ดำเนินการแยกยีสต์จากแหล่งต่างๆ ได้แก่ ดินและน้ำที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับน้ำกากส่า ผลไม้ ดอกไม้ และในอากาศ ได้ยีสต์ทั้งสิ้น 87 สายพันธุ์ นำมาทดสอบแปรผันปริมาณคาร์บอน ไนโตรเจน และค่าความเป็นกรด-ด่างในอาหารเลี้ยงเชื้อผสมน้ำกากส่าสังเคราะห์ พบว่ายีสต์สายพันธุ์ YM50 มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยสามารถกำจัดสีน้ำกากส่าสังเคราะห์ในอาหารเลี้ยงเชื้อที่ผสมน้ำกากส่าสังเคราะห์ได้ 34.83 เปอร์เซ็นต์ที่ปริมาณกลูโคส 0.5 เปอร์เซ็นต์ เปปโตน 0 เปอร์เซ็นต์ และค่าความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 3.5 และสามารถลดความเข้มสีของน้ำกากส่าจากโรงงานสุราที่ผ่านการฆ่าเชื้อและไม่ผ่านการฆ่าเชื้อได้ 6.94 เปอร์เซ็นต์ในวันที่ 20 และ 13.59 เปอร์เซ็นต์ในวันที่ 15 ตามลำดับ เมื่อนำน้ำกากส่าจากโรงงานสุรามาทำการปรับสภาวะให้เหมาะสม พบว่าYM50 สามารถลดความเข้มสีของน้ำกากส่าปรับสภาพจากโรงงานสุราที่ผ่านการฆ่าเชื้อและไม่ผ่านการฆ่าเชื้อได้ 32.20 เปอร์เซ็นต์ในวันที่ 5 และ 23.16 เปอร์เซ็นต์ในวันที่ 1 ตามลำดับ เมื่อนำไปทดสอบการเจริญบนอาหารแข็ง อาหารเหลว เพื่อศึกษาลักษณะ รูปร่าง ขนาด สี ของเซลล์และโคโลนี ด้วยกล้องจุลทรรศน์และกล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอน พบว่าเมื่อเลี้ยง YM50 บนอาหารแข็ง จะได้เซลล์มีรูปทรงคล้ายไข่ หรือทรงรี ขนาดเท่าๆ กัน อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีการสืบพันธุ์โดยการแตกหน่อ (budding) รอบขั้วของเซลล์ โดยที่หน่อใหม่นั้นจะติดอยู่กับหน่อเดิม และไม่พบเซลล์สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ แต่เมื่อเลี้ยงเชื้อ YM50 บทอาหารเหลว จะได้เซลล์ของ YM50 ออกมาลักษณะเป็นท่อนยาว เรียงต่อกันลักษณะคล้ายเส้นใยเทียม (pseudomycelium) เห็นได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ เซลล์ยังมีความยาวมากกว่าเซลล์ที่เจริญบนอาหารแข็ง YM (YMPDA) นอกจากนี้เมื่อทำการเปรียบเทียบสีของไซโตพลาสซึมระหว่าง YM50 ที่เจริญในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลวที่ผสมน้ำกากส่าและไม่ผสมนั้น พบว่าสีของไซโตพลาสซึมในเซลล์ที่เลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อที่ผสมน้ำกากส่านั้นเข้มกว่าเซลล์ที่เลี้ยงในอาหารปกติ เมื่อทดสอบการใช้คาร์บอนชนิดต่างๆ เพื่อจัดจำแนกชนิด พบว่ายีสต์ที่คัดเลือกได้อยู่ในกลุ่มของ Candida sp
Other Abstract: The objectives of this research are to screen the yeast providing a high efficiency of the decolorization in the molasses wastewater and identify the selected yeast. The research was conducted by an isolation of the yeast collected from some fruit, flower, soil and water at an alcoholic industry, and which spreaded in the air. Eighty seven strains of the yeast were isolated in a variation of the carbon, nitrogen concentration and the pH range in the media mixed with the synthetic molasses wastewater. Among those stains, the molasses wastewater yeast with the highest efficiency of the decolorization which was the stain YM50 was selected. The stain YM50 reduced 34.83% of the color of the media mixed with the synthetic molasses wastewater added by 0.5% glucose and 0% peptone at pH 3.5. In addition, 6.94% of the color intensity of the steriled molasses wastewater and 13.59% of that which was non-steriled were removed by the stain YM50 on the 20th day and the 15th day consecutively. In the optimum condition, the stain YM50 decolorized the steriled and non-steriled molasses wastewater by 32.20% on the 3rd day and 23.16% on the 1st day consecutively. For the study of the morphology, the stain YM50 had equally ovoid, ellipsoid and elongate shape with the same size stayed in group, and reproduced on the agar by budding with asexual reproduction around the polars of their mother cells, never separated from the mother cells. In the broth, the stain YM50 cells formed the pseudomycelium outstandingly, and had the cylinder or elongate shape which were longer than those grown on the YM agar. The cytoplasm color of the stain YM50 grown in the media mixed with synthetic molasses wastewater was darker than that which grown in the normal media. The result of the carbon assimilation showed that the selected stain YM50 was Candida sp.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24557
ISBN: 9741712308
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phongthep_bo_front.pdf3.61 MBAdobe PDFView/Open
Phongthep_bo_ch1.pdf901.49 kBAdobe PDFView/Open
Phongthep_bo_ch2.pdf5.2 MBAdobe PDFView/Open
Phongthep_bo_ch3.pdf3.16 MBAdobe PDFView/Open
Phongthep_bo_ch4.pdf7.79 MBAdobe PDFView/Open
Phongthep_bo_ch5.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open
Phongthep_bo_back.pdf12.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.