Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24614
Title: | การทดลองการปลดปล่อยตัวยาฟีโนบาร์บิทาล จากยาพื้นชนิดต่างๆ ของยาเหน็บ |
Other Titles: | vitro releasing of phenobarbital from various suppository bases |
Authors: | สมพงษ์ พานิชผล |
Advisors: | ปภาวดี คล่องพิทยาพงษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2520 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การค้นคว้านี้มีวัตถุประสงค์จะหายาพื้นที่ดีที่สุดของยาเหน็บ สำหรับตัวยาพีโนบาร์บิทาลยานี้มีคุณสมบัติในการสงบระงับจิตใจของคนไข้ที่ผิดปกติ เช่น คนไข้โรคจิต หรืออาจนำไปใช้กับเด็กที่เป็นโรคไอกรน ซึ่งคนไข้ดังกล่าวนี้ถ้าใช้ยาเหน็บจะสะดวกและรวดเร็วกว่าการใช้ยารับประทานและยาฉีด ยาเตรียมประเภทนี้เภสัชกรสามารถเตรียมขึ้นใช้ได้เอง ในระยะเวลาอันสั้นและรวดเร็ว ในการวิจัยนี้มุ่งเฉพาะการปลดปล่อยของตัวยาพีโนบาร์บิทาลจากยาพื้นของยาเหน็บโดยดำเนินการค้นคว้าทดลองหายาพื้นของยาเหน็บทั้งที่เป็นยาพื้นที่มีคุณสมบัติละลายได้ในน้ำ ( Water soluble base ) และยาพื้นที่ไม่ละลายในน้ำ (Water insoluble base) พร้อมทั้งหาสารที่ช่วยปลดปล่อย (surfactant) ตัวยาพีโนบาร์บิทาลให้ออกมาในระยะเวลาที่สั้นที่สุดในการทดลองนี้ทำในหลอดทดลอง (in vitro) และใช้ Spectrophotometer วิเคราะห์หาประมาณของตัวยาที่ถูกปลดปล่อยออกมาในระยะเวลาต่างๆกันที่อุณหภูมิ 37 ℃ ผลจากการค้นคว้าพบว่ายาพื้นของยาเหน็บที่มีคุณสมบัติละลายได้ในน้ำ (Water soluble base) จะปล่อยตัวยาออกมาได้รวดเร็วกว่ายาพื้นของยาเหน็บที่ไม่ละลายในน้ำ (Water insoluble base) ยาพื้นที่ละลายในน้ำ(Water soluble base) ได้แก่Polyethylene Glycol ที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่าง ๆ กันผสมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสมอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดได้แก่ 60% PEG 4000 ผสมกับ 40% PEEG 1,500 ส่วนสารที่ช่วยในการปลดปล่อยตัวยานั้น (surfactants) พบว่า Tween 20, 40 และ 60 ไม่มีผลในการปลดปล่อยตัวยาให้เร็วขึ้นเมื่อให้ PEG 1,500 คงที่ที่ 40% แล้วเปลี่ยนแปลง PEG 4000 และ Tween 80 หรือ Myrj 52 จะมีผลทำให้ปลดปล่อยตัวยาได้เร็วขึ้นและเพิ่มขึ้น |
Other Abstract: | The research was mainly concentrated on the best suppository base for phenobarbital. This drug is generally used to clam down psychiatric patients, and inhibit irritation in whooping cough children. Suppositories are more appropriated than tablets and parenterals for these patients, also the preparation take a short time in compounding. This research was also focused on the measurement of the releasing rate of phenobarbital from both water soluble and water insoluble bases. The effect of surfactants were also determined. This experiment was studied in vitro and the amount of the drug released was determined spectrophotometically at the different time interval, 37 ℃. From the results it was found that the drug could be released from water soluble base better than water insoluble base. Water soluble bases used, were PEG bases in various preparation grades of Polyethylene Glycols. The most suitable combination were 60% PEG 4,000 and 40% PEG 1500. When the surfactant were added to PEG base, it was found that Tween 20,40 and 60 did not have any effect on the releasing rate of phenobarbital, while 10% Tween 80 or 5% Myrj 52 had the positive offect, keeping PEG 1,500 constant at 40% and varied PEG 4,000 and Tween 80 or Myrj 52. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520 |
Degree Name: | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เภสัชกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24614 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sompong_Pa_front.pdf | 408.73 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_Pa_ch1.pdf | 901.43 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_Pa_ch2.pdf | 476.45 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_Pa_ch3.pdf | 480.4 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_Pa_ch4.pdf | 268.75 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_Pa_back.pdf | 727.91 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.